ภาวะตลาดเงินบาท: เงินบาทระหว่างวันแตะ 32.61 แข็งค่ารอบ 7 เดือน ก่อนกลับมาปิดที่ 32.67

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday May 6, 2025 17:32 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 32.67 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 32.92 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทแกว่งในกรอบกว้าง ราว 40 สตางค์ โดยระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบ 32.61-33.00 บาท/ดอลลาร์ แข็ง ค่าสุดในรอบ 7 เดือน นับตั้งแต่ 2 ต.ค.67 อีกทั้งต่างชาติเข้าซื้อพันธบัตรไทยถึงเกือบ 26,000 ล้านบาท มากสุดนับตั้งแต่ พ.ค.67

"ระหว่างวัน เงินบาทลงไปแข็งค่าสุดในรอบ 7 เดือน และยังแข็งค่าสุดในภูมิภาค ซึ่งเป็นเพราะส่วนหนึ่งมี flow เข้ามาซื้อ พันธบัตรเกือบ 26,000 ล้านบาท ประกอบกับราคาทองคำที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้โดยรวมแล้ว เงินบาทจึงแข็งค่าสุดในภูมิภาค" นักบริหาร เงิน ระบุ

สำหรับสัปดาห์นี้ ปัจจัยสำคัญต่อค่าเงินบาท คือ ผลประชุมดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ซึ่งจะรู้ผลในคืนวันพุธนี้ โดยตลาดคาดว่าเฟดจะยังคงดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิม แต่ตลาดจะจับตาการแถลงของประธานเฟด เพื่อหาสัญญาณการปรับดอกเบี้ยในช่วงที่ เหลือของปีนี้ รวมถึงแนวโน้มเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อของสหรัฐฯ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.60-32.90 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยน อยู่ที่ระดับ 143.32 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 144.03 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1306 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1285 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ 1,187.86 จุด ลดลง 11.12 จุด (-0.93%) มูลค่าซื้อขาย 43,577 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 823.95 ล้านบาท
  • อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมฯ อยู่ระหว่างทำงานร่วมกับหน่วยงานด้านศุลกากรของ
สหรัฐฯ หรือ US Custom and Border Protection (CBP) ในการกำหนดรายการสินค้าเฝ้าระวังที่ประเทศอื่นจะสวมสิทธิ์ไทยส่งออก
ไปสหรัฐฯ เพื่อให้ได้รายการสินค้าที่มีการสวมสิทธิ์ไทยจริง ๆ เบื้องต้น มีสินค้าเฝ้าระวังอยู่แล้ว 49 รายการ และล่าสุดได้เพิ่มเติมอีก
16 รายการ รวมเป็น 65 รายการ 224 พิกัดศุลกากร คาดว่าจะร่วมกันกำหนดรายการสินค้าที่ชัดเจนได้แล้วเสร็จเร็ว ๆ นี้ และอาจมี
เพิ่มเติมมากกว่านี้
  • โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นายกรัฐมนตรี ได้มีข้อสั่งการมอบหมาย
ให้ นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลังไปหารือมาตรการดูแลประชาชนและการช่วยเหลือ ภาคธุรกิจ /ผู้ประกอบการ
SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ผันผวนในคณะกรรมการกระตุ้นเศรษฐกิจและนำมาเสนอต่อครม. โดยเร็ว
  • นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า โครงการดิจิทัลวอลเล็ต เฟส 3 สำหรับประชาชน
อายุ 16-20 ปียังไม่เข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ในวันนี้ เนื่องจากขณะนี้อยู่ระหว่างการรอความคิดเห็นจากหน่วยงานต่าง ๆ ประกอบกับ
วันนี้เกิดสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะฉะนั้น หลาย ๆ หน่วยงาน เช่น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่ง
ชาติ และ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีความคิดเห็นเข้ามา ซึ่งก็ต้องรับฟัง เพราะความตั้งใจของโครงการดิจิทัลวอลเล็ต คือการ
กระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะฉะนั้นเมื่อมีปัจจัยแทรกเข้ามาต้องไปดูว่า จะมีปัจจัยอะไรบ้างที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้
  • สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) เดือนเม.
ย.68 อยู่ที่ 100.14 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนเม.ย. ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน -0.22% (YoY) เป็นการปรับตัวลดลง
เป็นครั้งแรกในรอบ 13 เดือน โดยมีสาเหตุหลักมาจากการลดลงของราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน ได้แก่ แก๊สโซฮอล์ น้ำมันเบนซิน และค่า
กระแสไฟฟ้า ประกอบกับการลดลงของราคาผักสด ในขณะที่สินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ราคายังคงสูงขึ้น
  • สนค. ประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 2 (เม.ย.-พ.ค.68) ของปีนี้ จะเฉลี่ยอยู่ที่ 0.1-0.2% จากไตรมาสแรก
(ม.ค.-มี.ค.68) เฉลี่ยอยู่ที่ 1.08% ส่วนแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนพ.ค.68 คาดว่าจะยังใกล้เคียงกับเดือนเม.ย.68 และมีแนว
โน้มลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยจะขอดูความชัดเจนของอัตราเงินเฟ้อในเดือนพ.ค.68 ก่อนจะพิจารณาปรับเป้าหมายเงินเฟ้อของทั้ง
ปี 68 ใหม่อีกครั้ง จากปัจจุบันที่ประเมินไว้ที่ 0.3-1.3% ในปีนี้
  • รัฐแคลิฟอร์เนียคาดการณ์ว่า จำนวนชาวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวในรัฐแคลิฟอร์เนียจะลดลง 9% ในปีนี้ เนื่องจากทั่ว
โลกมีปฏิกิริยาเชิงลบต่อนโยบายของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อรายได้จากการท่องเที่ยวของ
รัฐ ซึ่งทำสถิติสูงเป็นประวัติการณ์ในปี 2567
  • ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวว่า จีนอาจเผชิญแรงกดดันด้านเงินฝืด เนื่องจากความต้องการ

สินค้าจีนจากสหรัฐฯ ลดลงอย่างรวดเร็ว เพราะการกำหนดภาษีนำเข้าของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ขณะที่ยุโรปเองก็มีแนวโน้มต้องการ

สินค้าจีนลดลงซึ่งอาจช่วยลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อของยุโรปลง ขณะเดียวกันสหรัฐฯ เองนั้นจะเผชิญผลกระทบด้านอุปทานที่อาจเพิ่มแรงกด

ดันด้านเงินเฟ้อให้กับเศรษฐกิจสหรัฐฯ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ