ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.08/09 แข็งค่าสุดในภูมิภาค ตลาดจับตาถ้อยแถลงจนท.เฟด

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 19, 2025 17:31 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 33.08/09 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากเปิดตลาด เมื่อเช้าที่ระดับ 33.23 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.05 - 33.30 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทแข็งค่าสุดเทียบกับสกุลเงินในภูมิภาคอย่างเงินเยนและหยวน โดยเงินบาทเคลื่อนไหวตามราคาทองคำที่ปรับตัวขึ้นลง ระหว่างวัน และแรงซื้อแรงขาย ในส่วนของการรายงานตัวเลข GDP ของสภาพัฒน์วันนี้ ไม่ได้เป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนค่าเงินบาท โดยเงินบาทยังคงเคลื่อนไหวสอดคล้องกับดอลลาร์ที่วันนี้ปรับตัวในทิศทางอ่อนค่า

สำหรับคืนนี้ยังไม่มีการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ ตลาดรอฟังความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาต่าง ๆ ที่จะออกมาพูดเรื่องนโยบายเศรษฐกิจ และดอกเบี้ย

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 32.95 - 33.15 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยน อยู่ที่ระดับ 144.85/86 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าอยู่ที่ระดับ 145.12 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1270/1272 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าอยู่ที่ระดับ 1.1175 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ 1,187.06 จุด ลดลง 8.71 จุด(-0.73%) มูลค่าการซื้อขาย 36,743.01 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 191.06 ล้านบาท
  • รมว.คลัง กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่มีน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายก
รัฐมนตรี เป็นประธานว่า โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เฟส 3 ชะลอไปก่อนจนกว่าสถานการณ์จะเหมาะ
สม โดยจะนำงบประมาณที่เหลือไปใช้แก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง เช่น โครงการน้ำเพื่อการบริโภค แผนงานกระทรวงคมนาคม รวมถึงการ
โปรโมทการท่องเที่ยวในเมืองรอง และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า SME
  • สภาพัฒน์ ปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในปี 68 เหลือโต 1.3-2.3% (ค่ากลาง
ที่ 1.8%) จากรอบก่อนที่ประมาณการไว้เดิม 2.3-3.3% นั้น เนื่องจากเศรษฐกิจไทยปีนี้ มีแนวโน้มชะลอตัวลงจากปีก่อน ตามการชะลอลง
ของภาคการส่งออกสินค้า ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากมาตรการขึ้นภาษีนำเข้าเพื่อการตอบโต้ทางการค้าของสหรัฐฯ และ
มาตรการตอบโต้จากประเทศคู่ค้าสำคัญ รวมทั้งผลกระทบทางอ้อม ผ่านแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ทิศทางเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี 68 ยังมีความไม่แน่นอนสูง แม้สหรัฐฯ จะ
เริ่มมีข้อตกลงทางการค้าออกมา โดยเฉพาะกับจีน แต่การบรรลุข้อตกลงกับไทยยังไม่มีกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน ในขณะที่แรงส่งจากท่อง
เที่ยวในปีนี้คาดว่าจะติดลบ ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงยังคงประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 68 ไว้ที่ 1.4%
  • ส.อ.ท. เผยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนเม.ย. 68 อยู่ที่ระดับ 89.9 ปรับตัวลดลงจาก 91.8 ในเดือน
มี.ค. 68 ขณะที่ดัชนีคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลงเช่นกันอยู่ที่ระดับ 93.3 จาก 95.7 ค่าดัชนีฯ ยังอยู่ต่ำกว่าระดับ 100
สะท้อนว่าความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอยู่ในระดับที่ไม่ดี
  • ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ซึ่งมีนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง เป็น
ประธาน ได้เห็นชอบอนุมัติส่งเสริมการลงทุนกิจการ Data Center และพลังงานหมุนเวียน รวม 7 โครงการ มูลค่าลงทุนประมาณ 1
แสนล้านบาท
  • รองผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) กล่าวว่า BOJ จะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หากเศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวจากผล
กระทบภาษีนำเข้าที่สูงขึ้นของสหรัฐฯ แต่ขณะเดียวกันก็เตือนด้วยว่า แนวโน้มเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนสูงมาก ดังนั้นการจะขึ้นดอกเบี้ยหรือ
ไม่นั้นจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
  • รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ เปิดเผยเมื่อวันอาทิตย์ (18 พ.ค.) ว่า สหรัฐฯ ตั้งเป้าบรรลุข้อตกลงกับประเทศคู่ค้าสำคัญ ขณะ
เดียวกันก็กำลังพิจารณาจะเปลี่ยนไปใช้อัตราภาษีนำเข้าแบบรายภูมิภาคสำหรับอีกหลายประเทศ ในขณะที่กำหนดเวลาเจรจาการค้า 90 วัน
กำลังงวดเข้ามาทุกขณะ
  • รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ไม่ได้แสดงความกังวลต่อการที่มูดี้ส์ เรทติ้งส์ (Moody's Ratings) ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ

ระยะยาวของรัฐบาลสหรัฐฯ โดยมูดี้ส์ระบุถึงสาเหตุที่มาจากหนี้สินสาธารณะและการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาล


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ