ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.09 ทิศทางยังแข็งค่า คาดกรอบพรุ่งนี้ 33.00-33.30

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday May 20, 2025 17:30 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 33.09 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 33.19 บาท/ดอลลาร์

โดยวันนี้เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.05-33.26 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวัน ราคาทองคำในตลาดโลกเร่งตัวขึ้น ส่งผล ให้เงินบาทปรับตัวแข็งค่า ขณะที่สกุลเงินอื่นในภูมิภาคยังไร้ทิศทางที่ชัดเจน มีทั้งอ่อนค่า และแข็งค่าสลับกัน เนื่องจากตลาดยังไร้ปัจจัยใหม่

"วันนี้บาทแกว่งออกข้าง ระหว่างวันทองโลกเร่งขึ้นมา ทำให้บาทแข็ง ส่วนภูมิภาคยังไร้ทิศทาง ต้องรอดูปัจจัยใหม่" นัก
บริหารเงิน ระบุ

ส่วนคืนนี้ ยังไม่มีรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ แต่ตลาดรอฟังความเห็นจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แต่ละสาขาที่จะทยอยออกมาให้ความเห็น เพื่อประเมินทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ในระยะถัดไป

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.00 - 33.30 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยน อยู่ที่ระดับ 144.50 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 144.88 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1254 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1245 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ 1,189.14 จุด เพิ่มขึ้น 2.08 จุด(+0.18%) มูลค่าซื้อขาย 46,960.04 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 896.50 ล้านบาท
  • นายกรัฐมนตรี เผย ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2569 โดย
สภาฯจะพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณ 69 วงเงิน ไม่เกิน 3.7 ล้านล้านบาท ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ โดยจะนำเสนอสภาผู้แทน
ราษฎร บรรจุวาระการพิจารณาในวันที่ 28-30 พ.ค.นี้ พร้อมยืนยันพรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรคเห็นพ้องร่วมกันสนับสนุน ร่าง พ.ร.บ.งบ
ประมาณปี 69
  • ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบแผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายใต้กรอบวงเงิน 157,000 ล้านบาท ครอบ
คลุมโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำและคมนาคม การท่องเที่ยว การลดผลกระทบส่งออกและเพิ่มผลิตภาพ ตลอดจนเศรษฐกิจชุมชนและอื่น ๆ โดย
มีเป้าหมายกระจายเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ เพื่อรักษาการจ้างงาน และวางรากฐาน ซึ่งใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.
ศ.2568 งบกลาง รายการค่าใช้จ่าย เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ
  • ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงภาพรวมระบบธนาคารพาณิชย์ไทย
ไตรมาส 1 ปี 2568 ว่า ระบบธนาคารพาณิชย์มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ โดยมีเงินกองทุน เงินสำรอง และสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง
โดยภาพรวมสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ (รวมเครือ) ไตรมาส 1 ปี 2568 หดตัว 1.3% จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยหลักจากการชำระ
คืนหนี้ที่อยู่ในระดับสูง สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ยังขยายตัว ขณะที่สินเชื่อธุรกิจ SMEs และสินเชื่ออุปโภคบริโภคหดตัวต่อเนื่อง ตามความเสี่ยง
ด้านเครดิตที่ยังอยู่ในระดับสูง
  • กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ (BBL) และประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) โพสต์
เฟซบุ๊กส่วนตัว โดยแสดงความเป็นห่วงการบริโภคภาคเอกชน และการผลิตภาคอุตสาหกรรม ซึ่งทั้ง 2 ตัวนี้ มีผลกดดันการเติบโตทาง
เศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคตได้
  • มูดี้ส์ เรทติ้งส์ ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวของธนาคารชั้นนำของสหรัฐฯ ได้แก่ เจพีมอร์แกน เชส
(JPMorgan Chase), แบงก์ออฟอเมริกา (Bank of America) และเวลส์ ฟาร์โก (Wells Fargo) หลังจากที่สหรัฐฯ ถูกลดอันดับ
ความน่าเชื่อถือลงสู่ระดับ Aa1 จาก Aaa เนื่องจากมีหนี้สาธารณะพุ่งขึ้นถึง 36 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • หัวหน้าทีมเจรจาด้านภาษีศุลกากรของญี่ปุ่น เตรียมเดินทางเยือนสหรัฐฯ ในวันที่ 23 พ.ค.นี้ เพื่อเข้าร่วมการหารือระดับ
รัฐมนตรีรอบที่ 3 ด้วยความมุ่งหวังที่จะได้รับผ่อนปรนจากภาษีศุลกากรที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐฯ ประกาศใช้
  • รัฐบาลเวียดนามเปิดเผยว่า เวียดนามและสหรัฐฯ ได้เริ่มการเจรจาการค้ารอบที่ 2 ณ กรุงวอชิงตันแล้วเมื่อวันจันทร์
(19 พ.ค.) และจะดำเนินไปจนถึงวันที่ 22 พ.ค. โดยมีเป้าหมายเพื่อหลีกเลี่ยงการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสูงถึง 46%
  • สำนักข่าวต่างประเทศรายงานโดยอ้างอิงแหล่งข่าวในวันนี้ว่า หัวหน้าทีมเจรจาด้านภาษีศุลกากรของญี่ปุ่นเตรียมเดินทาง
เยือนสหรัฐฯ ในวันศุกร์นี้ (23 พ.ค.) เพื่อเข้าร่วมการหารือระดับรัฐมนตรีรอบที่ 3 ด้วยความมุ่งหวังที่จะได้รับผ่อนปรนจากภาษีศุลกากรที่
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐฯ ประกาศใช้
  • ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของบริษัทเจพีมอร์แกน เชส (JPMorgan Chase) เตือนว่า ตลาดการเงิน และ

ธนาคารกลาง ประเมินความเสี่ยงที่เกิดจากการขาดดุลงบประมาณสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของสหรัฐฯ รวมทั้งมาตรการภาษีศุลกากร และ

สถานการณ์ตึงเครียดระหว่างประเทศ ต่ำเกินไป


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ