นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 32.42 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจาก ปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 32.49 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดโลก เนื่องจากดอลลาร์ปรับตัวอ่อนค่าเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุล หลัก เนื่องจากความกังวลเรื่องการดำเนินนโยบายการคลังเกี่ยวกับการก่อหนี้
โดยตลาดรอดูความคืบหน้าการเจรจาข้อตกลงการค้าของสหรัฐฯ กับประเทศต่าง ๆ ก่อนครบกำหนดบังคับใช้มาตรการภาษี ศุลกากรตอบโต้ในวันที่ 9 ก.ค.นี้ ส่วนปัจจัยในประเทศตลาดรอดูผลประชุมของศาลรัฐธรรมนูญที่จะมีการพิจารณาคำร้องของ 36 สว.ที่ยื่น ถอดถอน น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่ง จากกรณีคลิปเสียงสนทนากับสมเด็จฮุน เซน
"บาทแข็งค่าตามทิศทางตลาดโลก เนื่องจากดอลลาร์อ่อนค่าจากความกังวลเรื่องการดำเนินนโยบายการคลังของสหรัฐฯ" นัก
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 32.30 - 32.60 บาท/ดอลลาร์
SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 32.4675 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 143.66 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 144.15 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1793 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1720 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 32.530 บาท/ดอลลาร์
- "กอบศักดิ์" ประเมินเศรษฐกิจปีนี้โจทย์หิน "แบงก์กรุงเทพ" หั่นเป้า GDP เหลือ 2% แนะเสี่ยงหนักอาจต่ำถึง 1.5%
- "พาณิชย์" จับตาจีนบรรลุข้อตกลงญี่ปุ่นอนุญาตให้กลับมาส่งออกอาหารทะเล หลังห้ามนำเข้าเกือบ 2 ปี หวั่นขย่มส่งออก
- รมว.คลัง นำคณะทีมไทยแลนด์ เดินทางไปกรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา เพื่อเจรจามาตรการภาษีระหว่างประเทศไทย
- รมว.คลัง เปิดเผยถึงการคัดเลือกผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คนใหม่ว่า จะดำเนินการให้เร็วที่สุด แต่
- สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันจันทร์ (30 มิ.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ ขณะที่นัก
- นักลงทุนยังคงติดตามความคืบหน้าในการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และบรรดาประเทศคู่ค้า ขณะสก็อตต์ เบสเซนต์
- ข้อมูลแรงงานของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชน
- นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรจะเพิ่มขึ้นเพียง 120,000 ตำแหน่งในเดือนมิ.ย. หลังจากเพิ่ม
ขึ้น 139,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. และคาดว่าอัตราว่างงานจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 4.3% ในเดือนมิ.ย. จากระดับ 4.2% ในเดือนพ.ค.