ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 32.17 แข็งค่าสอดคล้องภูมิภาค เกาะติดเจรจาภาษีสหรัฐหลังปิดดีลญี่ปุ่น-ฟิลิปปินส์

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 23, 2025 09:25 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 32.17 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจาก ปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 32.29 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับตลาดโลก หลังดอลลาร์ปรับตัวอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงิน หลัง เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความเป็นอิสระของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) หลังถูกประธานาธิบดีสหรัฐฯ กดดันให้ปรับลดอัตรา ดอกเบี้ย ขณะที่มีความคืบหน้าเกี่ยวกับการปิดดีลการค้ากับญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์

โดยวันนี้ตลาดจับตาดูความคืบหน้าการเจรจาต่อรองการค้ากับสหรัฐฯ และทิศทางของเงินทุนต่างประเทศหลังราคาทองใน ตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 37 ดอลลาร์

"บาทปรับตัวแข็งค่าตามภูมิภาค โดยตลาดรอดูความคืบหน้าการเจรจาภาษีทรัมป์ ซึ่งมีแรงกดดันเพิ่มขึ้นหลังสหรัฐฯ ปิดดีลกับ ญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ได้แล้ว" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 32.10 - 32.30 บาท/ดอลลาร์

SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 32.1750 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยน อยู่ที่ระดับ 146.43 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 147.55 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1741 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1690 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 32.2830 บาท/ดอลลาร์
  • รมว.คลัง เปิดเผยความคืบหน้าการเจรจาภาษีตอบโต้การนำเข้าจากสหรัฐฯ ว่า ขณะนี้สหรัฐฯ ได้พิจารณาข้อเสนอใหม่
ของประเทศไทยไปแล้ว 90% คาดว่าอีก 1-2 วันน่าจะพิจารณาครบ 100% และมีคำตอบที่ชัดเจนก่อนวันที่ 1 ส.ค.68 โดยเชื่อว่าสหรัฐฯ
จะพิจารณาภาษีเป็นกลุ่มภูมิภาค
  • โบรกส่งสัญญาณ "โฟลว์ต่างชาติ" ทยอยกลับเข้าซื้อ "หุ้นไทย" ช่วงก.ค. มูลค่าทะลุ 1.1 หมื่นล้าน มองเป็นเชิงบวกแม้มี
ความไม่แน่นอนจากประเด็นเจรจาการค้าระหว่างไทย-สหรัฐ "บล.กสิกรไทย" มองอานิสงส์ดอลลาร์อ่อนลง 12% ตั้งแต่ต้นปี ส่งผลเม็ด
เงิน โยกเข้าหุ้น-พันธบัตร "บล.ฟินันเซีย ไซรัส" คาดมีความหวังมากขึ้นเกี่ยวกับโอกาสบรรลุข้อตกลงการค้าไทย-สหรัฐ "บล.เอเซีย
พลัส" ชี้หุ้นไทยราคาถูกต่างชาติ คาดจะทยอยเข้าช่วงครึ่งปีหลัง
  • "ซีอีโอแบงก์" พาเหรดส่งสาร เตือน "เศรษฐกิจไทย" ครึ่งปีหลัง "น่าห่วง" เผชิญแรงกดดันรอบด้าน ทั้งส่งออกชะลอ
ตัว ภาษีทรัมป์ และท่องเที่ยวหดตัว "กสิกรไทย" ชี้มีความเสี่ยงครึ่งหลังเศรษฐกิจจะไม่เติบโต "เอสซีบี เอกซ์" มองเศรษฐกิจยังคง
ผันผวนสูง "กรุงไทย" เตือน รับมือภาษีสหรัฐ "ทีทีบี" ชี้ศก.เต็มไปด้วยความท้าทาย-ลูกหนี้น่าห่วงขึ้น "กรุงศรีอยุธยา" ชี้เศรษฐกิจ
อ่อนแอกระทบลงทุนเอกชน
  • ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ ประกาศว่า สหรัฐฯ ได้บรรลุข้อตกลงการค้ากับญี่ปุ่นแล้ว โดยจะเรียก
เก็บภาษีสินค้านำเข้าจากญี่ปุ่นในอัตรา 15% ลดลงจากก่อนหน้านี้ที่ขู่ว่าจะเรียกเก็บในอัตรา 25%
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โพสต์ข้อความบน Truth Social ระบุว่า สหรัฐฯ ได้บรรลุข้อตกลงทางการค้ากับฟิลิปปินส์
แล้วสหรัฐฯ จะเรียกเก็บภาษีศุลกากรต่อสินค้านำเข้าจากฟิลิปปินส์ในอัตรา 19% หลังจากที่ก่อนหน้านี้สหรัฐฯ ขู่เรียกเก็บภาษีในอัตรา 20%
  • รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ กล่าวว่า เขาจะพบปะกับรัฐมนตรีคลังของจีนที่กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ในสัปดาห์หน้า เพื่อ
หารือเกี่ยวกับการขยายกำหนดเส้นตายการเรียกเก็บภาษีสินค้าจีน จากเดิมที่กำหนดไว้ในวันที่ 12 ส.ค. เพื่อเปิดทางให้สหรัฐฯ และจีนยัง
คงทำการเจรจาข้อตกลงการค้าต่อไป
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ยังคงวิพากษ์วิจารณ์เจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เมื่อวันอังคาร
(22 ก.ค.) จากการที่เฟดยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูง
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร
(22 ก.ค.) ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจของสหรัฐฯ หลังจากธนาคารชั้นนำอย่างโกลด์แมน แซคส์ ได้ปรับลดคาด
การณ์เศรษฐกิจในปีนี้ เนื่องจากผลกระทบของมาตรการภาษีศุลกากร
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นในวันอังคาร (22 ก.ค.) เนื่องจากความไม่แน่นอนด้านการค้าเป็นปัจจัยหนุนแรงซื้อ
ทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย นอกจากนี้ ราคาทองคำยังได้ปัจจัยบวกจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์และการร่วงลงของอัตราผล
ตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ขณะที่นักลงทุนยังคงจับตาการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้า ก่อนที่จะถึงกำหนดเส้นตายใน
วันที่ 1 ส.ค.
  • นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในวันที่ 29-30 ก.ค.นี้ โดยคาดว่าที่ประชุม

จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 4.25-4.50%


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ