(เพิ่มเติม) ธปท.คาดผ่อนคลายกณฑ์ลงทุนในหลักทรัพย์ตปท. มีผลบังคับใช้สัปดาห์หน้า

ข่าวเศรษฐกิจ Monday October 22, 2012 11:58 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.จะดำเนินการมาตรการผ่อนคลายเงินทุนเคลื่อนย้ายภายในอำนาจในปี 55 ซึ่งการผ่อนคลายเกณฑ์เรื่องแรกเป็นเรื่องการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ได้แก่ การผ่อนคลายให้ บจ.ที่ไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศโดยตรง ให้คนไทยลงทุนในตราสารสกุลเงินตราต่างประเทศที่ออกและขายในประเทศได้ และให้ผู้ลงทุนสถาบันที่บริหารการลงทุนของรายย่อย สามารถบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้เสรี คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในสัปดาห์หน้า

ส่วนการผ่อนคลายภายใต้อำนาจของกระทรวงการคลัง ธปท.จะเสนอเพื่อพิจารณาดำเนินการในต้นปี 56 เช่น การผ่อนคลายให้บุคคลธรรมดาลงทุนโดยตรงในต่างประเทศได้เสรี และการยกเลิกการจำกัดวงเงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศต่อราย เป็นต้น

ทั้งนี้ ธปท. ได้จัดทาแผนแม่บทเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการและผู้ออมในประเทศสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทาธุรกิจและกระจายความเสี่ยงในการลงทุนได้มากขึ้น รวมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดความสมดุลของเงินทุนเคลื่อนย้าย และกระตุ้นการพัฒนาตลาดการเงินรองรับกระแสการรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคหรือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะมาถึงในปี 58

ปัจจุบันฐานะการลงทุนในต่างประเทศของภาคเอกชนไทย (เงินลงทุนโดยตรงและเงินลงทุนในหลักทรัพย์) ยังถือว่ามีสัดส่วนค่อนข้างต่ำ คือ ประมาณร้อยละ 15 ของ GDP ในปี 53 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยประมาณร้อยละ 30 ของ GDP ส่าหรับหลายประเทศที่มีศักยภาพใกล้เคียงกัน และปัจจุบันสินทรัพย์ต่างประเทศของไทยส่วนใหญ่เป็นของทางการซึ่งอยู่ในรูปของเงินส่ารองระหว่างประเทศ

สาระส่าคัญของการผ่อนคลายตามแผนแม่บทฯ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังแล้วสรุปได้ดังนี้ ในช่วงปี 55-56 ธปท. จะด่าเนินการผ่อนคลายระเบียบหลักเกณฑ์การควบคุมแลกเปลี่ยนเงิน เพื่อให้นักลงทุนสามารถลงทุนในต่างประเทศได้สะดวกมากขึ้น และเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ประกอบด้วย 5 เรื่องหลัก คือ

(1) การลงทุนโดยตรง : ผ่อนคลายให้บุคคลธรรมดาลงทุนโดยตรงในต่างประเทศได้ไม่จ่ากัดวงเงินเพื่อสร้างโอกาสในการขยายตลาดและฐานการผลิต และช่วยสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคเอกชนไทย ส่าหรับนิติบุคคลไทยสามารถลงทุนโดยตรงในต่างประเทศได้เสรี ตั้งแต่ปี 53 แล้ว

(2) การลงทุนในหลักทรัพย์ในต่างประเทศ : เพิ่มประเภทผู้ลงทุนสถาบัน และไม่จ่ากัดวงเงิน ผู้ลงทุนต่อราย และได้หารือร่วมกับส่านักงานคณะกรรมการก่ากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อขยายขอบเขตหลักทรัพย์ที่ลงทุนให้รวมถึงตราสารสกุลเงินตราต่างประเทศที่ออกและเสนอขายในไทยด้วย รวมทั้งผ่อนผันให้โอนเงินตราต่างประเทศเพื่อรองรับการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่าน ASEAN Linkage ที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมโยงตลาดทุนภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

(3) บัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ : อนุญาตให้บุคคลในประเทศฝากเงินตราต่างประเทศกับสถาบันการเงินในประเทศแบบมีภาระผูกพันได้ไม่จ่ากัดวงเงิน เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้น่าเข้าหรือผู้มีภาระสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้คล่องตัวมากขึ้น

(4) การบริหารความเสี่ยงที่ยืดหยุ่นขึ้น : อนุญาตให้บุคคลในประเทศที่ได้ท่าธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ส่ำหรับเงินลงทุนในต่างประเทศ สามารถยกเลิกการป้องกันความเสี่ยง (unwindhedging) ได้เสรี

(5) เรื่องอื่น ๆ : ผ่อนคลายคุณสมบัติและขยายวงเงินในการประกอบธุรกิจ money changer/ money transfer agent เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการให้บริการแลกเปลี่ยนและโอนเงินตราต่างประเทศ ผ่อนคลายการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (non-resident: NR) เช่น ขยายวงเงินที่สถาบันการเงินในประเทศปล่อยสภาพคล่อง/กู้ยืมเงินบาทกับ NR แบบไม่มีการค้ำการลงทุน (underlying) รองรับเป็น 500 ล้านบาทต่อกลุ่ม NR ต่อสถาบันการเงิน และอนุญาตให้สถาบันการเงินในประเทศปล่อยกู้เงินบาท (direct loan) ให้แก่ NR เพื่อการค้าการลงทุนในประเทศได้

การผ่อนคลายในระยะต่อไป ธปท. จะประเมินผลของการผ่อนคลายการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินที่ได้ด่าเนินการในปี 55-56 และความพร้อมด้านระบบข้อมูลในการติดตามเงินทุนเคลื่อนย้าย ความสอดคล้องกับการเปิดเสรีภาคสถาบันการเงิน ความรู้ทางการเงินของนักลงทุนไทย ตลอดจน เสถียรภาพของตลาดการเงินในประเทศ เพื่อน่ามาพิจารณาผ่อนคลายหลักเกณฑ์อื่น ๆ เพิ่มเติมตามความเหมาะสมในอนาคต


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ