ครม.มีมติลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมช่วยลดภาระนายจ้าง-ผู้ประกันตน

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday January 29, 2013 15:17 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นพ.ทศพร เสรีรักษ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบร่างกฎกระทรวง
กำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม โดยกำหนดให้การลดอัตราเงินสมทบมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-31 ธ.ค.56
เพื่อช่วยบรรเทาภาระของนายจ้างและผู้ประกันตน โดยให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้

ทั้งนี้ การลดเงินสมทบตามร่างกฎกระทรวงฉบับนี้จะมีผลทำให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้รับการลดอัตราเงินสมทบ ด้วย จากเดิมออกเงินสมทบในอัตราเดือนละ 432 บาท เป็นออกเงินสมทบในอัตราเดือนละ 336 บาท

ผู้ออกเงินสมทบ                             อัตราเงินสมทบตามกฎกระทรวงเดิม         อัตราเงินสมทบตามร่างกฎกระทรวงที่ขอแก้ไข
                                              (ร้อยละของค่าจ้าง)                       (ร้อยละของค่าจ้าง)

เงินสมทบเพื่อจ่ายประโยชน์ทดแทน     1 ม.ค.ถึง            1 ก.ค.ถึง     1 ม.ค.56           1 ม.ค. ถึง       1 ม.ค.57
กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย      30 มิ.ย. 55         31 ธ.ค.55      เป็นต้นไป           31 ธ.ค. 56       เป็นต้นไป
ทุพพลภาพ/ตาย/
คลอดบุตร
1. รัฐบาล                        0.5                 0.5          1.5                0.5            1.5
2. นายจ้าง                       0.5                 0.5          1.5                0.5            1.5
3. ผู้ประกันตน                     0.5                 0.5          1.5                0.5            1.5
ผู้ออกเงินสมทบ                          อัตราเงินสมทบตามกฎกระทรวงเดิม           อัตราเงินสมทบตามร่างกฎกระทรวงที่ขอแก้ไข
                                        (ร้อยละของค่าจ้าง)                          (ร้อยละของค่าจ้าง)
เงินสมทบเพื่อจ่ายประโยชน์ทดแทน     1 ม.ค.ถึง            1 ก.ค.ถึง     1 ม.ค.56           1 ม.ค. ถึง       1 ม.ค.57
กรณีสงเคราะห์บุตรและกรณีชราภาพ    30 มิ.ย. 55         31 ธ.ค.55      เป็นต้นไป           31 ธ.ค. 56      เป็นต้นไป
1. รัฐบาล                         2                  2              1                   2             1
2. นายจ้าง                        2                  3              3                   3             3
3. ผู้ประกันตน                      2                  3              3                   3             3

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ