เงินบาทปิด 29.62/64 อ่อนค่าต่อ มองสัปดาห์หน้าแกว่งตัว แต่คาดไม่หลุด 30

ข่าวเศรษฐกิจ Friday May 3, 2013 17:42 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 29.62/64 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจาก 29.52/54 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทไปทำโลว์ที่ระดับ 29.52/54 บาท/ดอลลาร์ช่วงเปิดตลาด และทำไฮที่ระดับ 29.68/70 บาท/ดอลลาร์
"เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าจากช่วงเช้าตามแรงซื้อขาย" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินความเคลื่อนไหวของเงินบาทในสัปดาห์หน้ายังคงแกว่งตัวเหมือนสัปดาห์นี้

"ทิศทางน่าจะเหมือนสัปดาห์นี้ที่ปรับตัวขึ้น-ลงระหว่างวันค่อนข้างเยอะ แต่คงไม่หลุด 30 บาท/ดอลลาร์

*ปัจจัยสำคัญ

  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 98.09/12 เยน/ดอลลาร์ จากระดับ 98.04/06 เยน/ดอลลาร์ ระหว่างวันค่อนข่างนิ่ง
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.3021/3024 ดอลลาร์/ยูโร จากระดับ 1.3071/3073 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,578.95 จุด ลดลง 10.24 จุด, -0.64% มูลค่าซื้อขาย 43,910.49 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,214.03 ล้านบาท(SET+MAI)
  • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 29.62/64 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจาก 29.52/54 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทไปทำโลว์ที่ระดับ 29.52/54 บาท/ดอลลาร์ช่วงเปิดตลาด และทำไฮที่ระดับ 29.68/70 บาท/ดอลลาร์
"เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าจากช่วงเช้าตามแรงซื้อขาย" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินความเคลื่อนไหวของเงินบาทในสัปดาห์หน้ายังคงแกว่งตัวเหมือนสัปดาห์นี้

"ทิศทางน่าจะเหมือนสัปดาห์นี้ที่ปรับตัวขึ้น-ลงระหว่างวันค่อนข้างเยอะ แต่คงไม่หลุด 30 บาท/ดอลลาร์

*ปัจจัยสำคัญ

  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 98.09/12 เยน/ดอลลาร์ จากระดับ 98.04/06 เยน/ดอลลาร์ ระหว่างวันค่อนข่างนิ่ง
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.3021/3024 ดอลลาร์/ยูโร จากระดับ 1.3071/3073 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,578.95 จุด ลดลง 10.24 จุด, -0.64% มูลค่าซื้อขาย 43,910.49 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,214.03 ล้านบาท(SET+MAI)
  • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) ขอให้นายกรัฐมนตรีใช้การบริหารสถานการณ์ทางการเงินของประเทศโดยคำนึงว่าขณะนี้ประเทศกำลังเผชิญกับปัญหาทางการเงิน โดยขอให้เข้ามาช่วยดูแลทั้งเรื่องอัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเงินทุนไหลเข้าอย่างผสมผสานกัน พร้อมกับขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และกระทรวงการคลังมีการทำงานที่สอดประสานกันมากขึ้น
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) รายงานตัวเลขทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของไทย ณ วันที่ 26 เม.ย.56 อยู่ที่ 177.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากวันที่ 19 เม.ย.56 ที่ 176.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนฐานะฟอร์เวิร์ดสุทธิของไทย ณ วันที่ 26 เม.ย.อยู่ที่ 23.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับวันที่ 19 เม.ย. 56 อยู่ที่ 23.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่เงินสำรองระหว่างประเทศในรูปเงินบาท ณ วันที่ 26 เม.ย.56 อยู่ที่ 5,213.3 พันล้านบาท จาก 5,072.9 พันล้านบาท เมื่อวันที่ 19 เม.ย.56
  • สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) เผยผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือน มี.ค.56 โดยการกู้เงินในประเทศของรัฐบาลในเดือน มี.ค.56 กระทรวงการคลังได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณโดยการออกพันธบัตรรัฐบาล 8,000 ล้านบาท และพันธบัตรออมทรัพย์ 265.77 ล้านบาท การเบิกจ่ายเงินกู้ 500 ล้านบาท จากสัญญาเงินกู้วงเงิน 10,000 ล้านบาท ที่ลงนามในสัญญาเงินกู้เมื่อวันที่ 30 เม.ย.55 ภายใต้ พ.ร.ก.บริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศฯ
  • ธนาคารกลางอินเดียปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% มาอยู่ที่ 7.25% ในการประชุมวันนี้ โดยเศรษฐกิจของอินเดียขยายตัวที่ระดับอ่อนแรงที่สุดในรอบ 10 ปีในปีงบประมาณที่แล้ว ส่วนเงินเฟ้อจากราคาค้าส่งก็ชะลอตัวลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบกว่า 3 ปีในเดือน มี.ค. แม้ว่าเงินเฟ้อจะอยู่สูงกว่าระดับ 10% ก็ตาม
  • นายฮารุฮิโกะ คูโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น(บีโอเจ) เผยพร้อมจะอธิบายแก่ประเทศอื่นๆ ในเอเชียเกี่ยวกับนโยบายผ่อนคลายทางการเงินเชิงรุกของบีโอเจ ขณะที่มีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ และคาดว่าบรรดา รมต.คลัง และผู้ว่าการธนาคารกลางจากอาเซียนและญี่ปุ่น จะได้หารือกันเรื่องความร่วมมือทางการเงินนอกรอบการประชุมประจำปีของเอดีบีที่จะเปิดฉากขึ้นที่อินเดียในวันพรุ่งนี้
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส(WTI) เดือน มิ.ย.ปรับตัวลง 20 เซนต์ แตะที่ 93.79 ดอลลาร์/บาร์เรล ในการซื้อขายทางระบบอิเล็กทรอนิกที่ตลาดเอเชียช่วงเช้าวันนี้ แต่ราคาน้ำมันยังมีแนวโน้มขาขึ้นในสัปดาห์นี้เนื่องจากยอดขอรับสวัสดิการว่างงานที่ลดลงของสหรัฐส่งผลให้มีการคาดการณ์เรื่องการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อความต้องการน้ำมัน
  • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของอังกฤษ(NIESR) คาดการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้จะอยู่ที่ 3.3% และ 3.7% ในปีหน้า โดยเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัว 2% ในปี 2556 และ 2557 ส่วนเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัว 2.25% และขยายตัว 1% ในปี 2557 ขณะที่เศรษฐกิจแถบยุโรปจะชะลอตัวลง 0.4% ในปี 2556 และในปี 2557 จะขยายตัวที่ 0.9%
  • ผลสำรวจของมาร์กิตแสดงให้เห็นว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI) ภาคบริการของอังกฤษในเดือน เม.ย.ดีดตัวขึ้นแตะ 52.9 จาก 52.4 ในเดือน มี.ค. โดยภาคบริการของอังกฤษในเดือนที่แล้วมีการขยายตัวแข็งแกร่งที่สุดนับแต่กลางปี 2555 โดยดัชนี PMI อยู่เหนือระดับ 50 ติดต่อกันมาหลายเดือนแล้ว ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะการเติบโต แต่ข้อมูล PMI ขัดแย้งกับผลสำรวจจากบริษัทวิจัย GfK ที่เปิดเผยเมื่อต้นสัปดาห์นี้ระบุว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคอังกฤษในเดือน เม.ย.ลดลงแตะ -27 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับแต่ปลายปีที่แล้ว เทียบกับระดับ -26 ในเดือน มี.ค. และสาเหตุที่ทำให้ความเชื่อมั่นที่ย่ำแย่ลงในเดือน เม.ย.มาจากฐานะการเงินของภาคครัวเรือนที่ตกต่ำจากอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นและแรงกดดันด้านค่าจ้างจนส่งผลกระทบต่อความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยของชาวอังกฤษ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ