รายงานกนง.ระบุสาเหตุลดดอกเบี้ยนโยบายหลังเห็นความเสี่ยงศก.ไทยเพิ่มขึ้น

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday December 11, 2013 11:16 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ครั้งที่ 8/56 เมื่อวันที่ 27 พ.ย.56 ว่า กนง.มีมติ 6 ต่อ 1 เสียงให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จาก 2.50% เป็น 2.25% ต่อปี เนื่องจากประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ากว่าที่ประเมินไว้เดิม และมีความเสี่ยงสูงขึ้นกว่าการประชุมครั้งก่อน ขณะที่สินเชื่อภาคครัวเรือนมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง กรรมการส่วนใหญ่เห็นว่านโยบายการเงินจึงสามารถผ่อนคลายเพิ่มเติมเพื่อลดความเสี่ยงและสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ภายใต้แรงกดดันด้านราคาที่ยังอยู่ในระดับต่า
"เศรษฐกิจไทยโดยรวมจึงมีแนวโน้มขยายตัวต่ากว่าที่คาดไว้เดิม และมีความเสี่ยงสูงขึ้น จาก การลงทุนของภาครัฐที่อาจล่าช้ากว่าที่ประเมิน และความเชื่อมั่นภาคเอกชนที่อาจเปราะบางยิ่งขึ้นจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง รวมทั้งแนวโน้มของ QE Tapering ของสหรัฐฯ ที่ยังคงสร้างความไม่แน่นอนและกระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุน"รายงาน กนง.ระบุ

กรรมการ 6 ท่าน เห็นว่าความเสี่ยงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งยังเป็นช่วงที่ต้องใช้เวลาปรับตัวเข้าสู่แนวโน้มปกติของการขยายตัว โดยอุปสงค์ในประเทศยังคงมีแนวโน้มอ่อนแอ ขณะที่การส่งออกยังไม่ได้รับผลบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างเต็มที่เนื่องจากข้อจ่ากัดเชิงโครงสร้าง ทั้งยังมีกรรมการบางท่านเห็นว่ามีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกจะไม่ฟื้นตัวตามที่คาดด้วย นอกจากนี้ สถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองอาจส่งผลซ่าเติมความเชื่อมั่นและการใช้จ่ายภาคเอกชน ภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งอาจส่งผลให้การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐมีแนวโน้มล่าช้าออกไปอีก

ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อแม้จะขยับสูงขึ้นเล็กน้อยตามการทยอยปรับราคา LPG แต่ยังอยู่ในระดับต่าใกล้ขอบล่างของเป้า จึงไม่น่าจะเป็นความเสี่ยงส่าคัญในขณะนี้ และ ความเสี่ยงด้านเสถียรภาพการเงินลดลงบ้าง สะท้อนจากสินเชื่อภาคเอกชนที่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงสอดคล้องกับทิศทางเศรษฐกิจ ประกอบกับเริ่มเห็นกระบวนการปรับตัวของผู้กู้และผู้ให้กู้ โดยสถาบันการเงินมีแนวโน้มระมัดระวังในการปล่อยกู้เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดี กรรมการเห็นควรให้ติดตามผลกระทบของการลดอัตราดอกเบี้ยต่อกระบวนการปรับตัวด้านเสถียรภาพการเงินอย่างใกล้ชิด

นอกจากนั้น กรรมการบางท่านให้ข้อสังเกตว่าแม้นโยบายการเงินอาจมีบทบาทเพิ่มเติมได้ในขณะนี้ แต่ประสิทธิผลในการชดเชยแรงสนับสนุนที่ลดลงจากนโยบายการคลังนั้นมีจ่ากัด

ส่วนกรรมการอีก 1 ท่านเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% ต่อปี เนื่องจากเห็นว่านโยบายการเงินในปัจจุบันยังผ่อนปรนเหมาะสมอยู่ โดยเศรษฐกิจไทยในปีหน้ามีแนวโน้มปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติ ขณะที่ความเสี่ยงด้านเสถียรภาพการเงินยังมีอยู่และอัตราเงินเฟ้อปัจจุบันที่อยู่ในระดับต่าส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการของภาครัฐ นอกจากนี้ นโยบายการเงินที่ผ่อนปรนมากและยาวนานเกินไปอาจส่งผลลบต่อการออมในระยะยาว

ทั้งนี้ กนง.ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจสำหรับปี 56 และ 57 ลงจาก 3.7% เป็นประมาณ 3% ในปี 56 โดยยังไม่ได้รวมผลกระทบเพิ่มเติมที่อาจมีจากสถานการณ์การเมืองในระยะข้างหน้า ส่วนอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจปี 57 ก็ปรับลดลงเช่นกันจาก 4.8% เป็นประมาณ 4%

ส่าหรับแรงกดดันด้านราคายังอยู่ในระดับต่าตามทิศทางภาวะเศรษฐกิจ ความเป็นห่วงเรื่องเสถียรภาพการเงินลดลง เนื่องจากอัตราการขยายสินเชื่อภาคเอกชนรวมทั้ง สินเชื่อภาคครัวเรือนปรับตัวชะลอลงต่อเนื่อง แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่สนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ส่วนหนึ่งสะท้อนจากการที่สถาบันการเงินยังมีความพร้อมที่จะปล่อยสินเชื่อและความต้องการสินเชื่อยังมีอยู่ ด้านคุณภาพสินเชื่อโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดี แต่สินเชื่อครัวเรือนรายย่อยเริ่มมีสัญญาณการผิดนัดช่าระหนี้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี สถาบันการเงินได้เพิ่มความระมัดระวังในการให้สินเชื่อโดยเฉพาะผู้กู้รายบุคคลมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดทอนความเสี่ยงดังกล่าวได้ในระดับหนึ่ง ส่าหรับภาคอสังหาริมทรัพย์ชะลอความร้อนแรงลงจากช่วงต้นปี โดยทั้งผู้ซื้อและผู้ประกอบการมีการปรับตัวเพื่อลดความเสี่ยงลง

กรรมการเห็นพ้องกันว่าเศรษฐกิจยังขาดแรงส่งที่ชัดเจน จากข้อจ่ากัดที่ยังเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เช่น ภาระหนี้สะสมของครัวเรือนและความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกที่ลดลง ประกอบกับความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจสูงขึ้น การขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไปจึงน่าจะมาจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ภาคเอกชนจากฐานที่ต่าในปีนี้ (Technical rebound) รวมทั้งจะมี แรงสนับสนุนจากการส่งออกที่คาดว่าจะค่อยๆ ปรับดีขึ้นตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลก แม้การฟื้นตัวของการส่งออกยังต้องประสบกับข้อจ่ากัดเชิงโครงสร้างก็ตาม ในภาวะเช่นนี้ นโยบายเศรษฐกิจมหภาคจึงต้องท่าหน้าที่ในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการเร่งรัดโครงการลงทุนภาครัฐให้ สามารถด่าเนินตามแผนที่วางไว้

ส่าหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงิน กรรมการเห็นว่ามีความเสี่ยงลดลง ตามการชะลอลงของสินเชื่อซึ่งก่าลังปรับตัวเข้าสู่ระดับที่สมดุลกับภาวะเศรษฐกิจมากขึ้น หลังจากขยายตัวในเกณฑ์สูงตลอดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ในช่วงที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอลง ความเสี่ยงในการผิดช่าระหนี้อาจจะมีมากขึ้น จึงต้องเฝ้าติดตามและประเมินความเสี่ยงดังกล่าวต่อไป


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ