โดยในวันที่ 8 ก.พ.- 19 มี.ค.57 โรงกลั่นเอสพีอาร์ซีจะหยุดซ่อมใหญ่ทั้งระบบจำนวน 40 วัน ส่วนโรงกลั่นพีทีทีจีซีจะหยุดซ่อมบางส่วนเป็นเวลา 14 วันในเดือน ก.พ.57, โรงกลั่นไออาร์พีซีปิดซ่อมบางส่วน เริ่มเดือน มี.ค.เป็นเวลา 15 วัน, โรงกลั่นบางจากฯปิดซ่อมบางส่วน เริ่มเดือน พ.ค.ถึง 15 มิ.ย.เป็นเวลา 45 วัน ขณะที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติที่ 5 ซึ่งถูกฟ้าผ่าเดือน ส.ค.56 จะกลับมาเดินเครื่องเต็มกำลังผลิตได้ในปลายเดือน มี.ค.57
นายสมนึก กล่าวว่า ล่าสุดกรมธุรกิจพลังงานได้ว่าจ้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเงิน 82 ล้านบาท ให้ทำการศึกษาเส้นทางและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อจัดสร้างท่อขนส่งน้ำมันไปภาคเหนือและอิสาน โดยจะศึกษาแล้วเสร็จใน 10 เดือนข้างหน้า(ต.ค.57) และคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้งบประมาณ 59 แล้วเสร็จในปี 61 โดยเดิมคาดว่าจะลงทุนประมาณ 2 หมื่นล้านบาท ระยะทางรวม 1 พัน กม.แต่ผลประโยชน์ที่ได้รับ คือ ลดความแตกต่างของราคาน้ำมันใน กทม.และต่างจังหวัด อย่างน้อยราคาน้ำมันลดลง 25-30 สต./ลิตร แต่ภาพรวมแล้วจะช่วยประหยัดพลังงานในด้านการขนส่งน้ำมัน 78,000 ล้านบาท ประหยัดค่าซ่อมแซมรถบรรทุก/อุปกรรณ์ 3 หมื่นล้านบาท ช่วยลดการสูญเสียในการขนส่งน้ำมัน 8 พันล้านบาท ลดอุบัติเหตุได้อย่างน้อย 500 ล้านบาท และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 5 พันล้านบาทหรือ 1.2 ล้านตันต่อปี
นายสมนึก กล่าวว่า หลังการศึกษาเสร็จสิ้นแล้ว ใครจะเป็นผู้ลงทุนระหว่างภาครัฐ หรือบริษัท ท่อขนส่งปิโตรเลียมไทย(แทปไลน์) คงต้องดูความเหมาะสมต่อไป โดยที่ผ่านมาการดำเนินการศึกษาของแทปไลน์ค่อนข้างล่าช้า