เงินบาทปิด 31.97/98 อ่อนค่าเล็กน้อย รอปัจจัยใหม่ คาดกรอบพรุ่งนี้ 31.90-32

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 1, 2014 17:53 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดวันนี้ที่ระดับ 31.97/98 บาท/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 31.95/96 บาท/ดอลลาร์
"ระหว่างวันค่อนข้างเงียบๆ ไม่ค่อยมีแรงซื้อขาย Low ตอนเปิดตลาดเมื่อเช้า High ก็ตอนปิดตลาดช่วงเย็นนี้ เงินเฟ้อที่ออกมาใกล้เคียงกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ คงรอผล ECB กับ Non Farm Payroll"นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน คาดว่า วันพรุ่งนี้เงินบาทน่าจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 31.90-32.00 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 104.25 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 104.17 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.3138 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 1.3122 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,565.35 จุด เพิ่มขึ้น 3.72 จุด, +0.24% มูลค่าการซื้อขาย 45,185.91 ล้านบาท
  • นักวิเคราะห์ฯเผยตลาดหุ้นไทยวันนี้ปรับตัวขึ้น ขานรับตั้งครม.แล้ว จากนี้ไปเดินหน้าทำงาน-คาดหวังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างเช่นมาตรการลดหย่อนภาษีท่องเที่ยว รอดูการประชุมครม.นัดแรกจะมีอะไรออกมาบ้าง ด้านตลาดภูมิภาควันนี้ส่วนใหญ่อยู่ในแดนบวก เนื่องจากสถานการณ์ต่างประเทศไม่ได้มีอะไรเลวร้าย พร้อมจับตาการประชุม ECB พฤหัสนี้ คาดหวังออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ พรุ่งนี้ตลาดฯคงแกว่งในกรอบแคบเล็กน้อย พร้อมให้แนวรับ 1,560 แนวต้าน 1,580 จุด
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,480.13 ลบ.(SET+MAI)
  • กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ(CPI) เดือน ส.ค.57 อยู่ที่ 107.61 เพิ่มขึ้น 2.09% จากเดือน ส.ค.56 แต่ลดลง 0.08% จาก ก.ค.57 ส่งผลให้ CPI เฉลี่ย 8 เดือน(ม.ค.-ส.ค.57) เพิ่มขึ้น 2.21%

ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน(Core CPI) เดือนส.ค.57 อยู่ที่ 105.03 เพิ่มขึ้น 1.83% จากเดือน ส.ค.56 และเพิ่มขึ้น 0.09% จาก ก.ค.57 ส่งผลให้ Core CPI เฉลี่ย 8 เดือน(ม.ค.-ส.ค.57) เพิ่มขึ้น 1.54%

  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ค่าเฉลี่ยอัตราเงินเฟ้อในช่วง 2 ไตรมาสสุดท้ายของปี 2557 น่าจะชะลอลงมาอยู่ที่ประมาณ 2.0% (YoY) ซึ่งทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับลดตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อทั้งปี 2557 มาที่ 2.1% จากคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 2.6
  • ผลสำรวจของมาร์กิต ระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของยูโรโซนในเดือนส.ค.ปรับตัวลงแตะ 50.7 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 13 เดือน จากระดับ 51.8 ในเดือนก.ค. และลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับตัวเลขเบื้องต้นที่ 50.8
  • ผลสำรวจแสดงให้เห็นว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสเปนในเดือนส.ค.ลดลงที่ 52.8 จาก 53.9 ในเดือนก.ค. ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการขยายตัวของภาวะการดำเนินงานในภาคการผลิตได้ชะลอลงมากที่สุดนับแต่เดือนเม.ย.
  • ผลสำรวจระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของอิตาลีในเดือนส.ค.ปรับตัวลงแตะ 49.8 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 14 เดือน จาก 51.9 ในเดือนก.ค. และได้ปรับลดลงต่อเนื่องนับตั้งแต่แตะระดับสูงสุดในรอบ 3 ปีเมื่อเดือนเม.ย.
  • ผลสำรวจระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของฝรั่งเศสในเดือนส.ค.อ่อนแรงลงสู่ระดับ 46.9 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 15 เดือน จาก 47.8 ในเดือนก.ค.
  • ผลสำรวจระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของเยอรมนีในเดือนส.ค.ร่วงลงแตะ 51.4 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 11 เดือน จากระดับ 52.4 ในเดือนก.ค.
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนีเผยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเยอรมนีหดตัวลง 0.2% ในไตรมาส 2 ปี 2557 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ทรงตัวกับการประเมินครั้งแรก และขยายตัว 1.2% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2556

แท็ก เงินบาท  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ