ก.พลังงาน เดินหน้าเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 ยันเหมาะสม-มีความโปร่งใส

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 15, 2015 15:00 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงงาน ยืนยันเดินหน้าเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 แม้ว่าสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) จะคัดค้านการเปิดสัมปทานปิโตรเลียม โดยขณะนี้กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างเปิดให้ผู้สนใจยื่นคำขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในแปลงสำรวจต่างๆ พร้อมชี้แจงระบบสัมปทานปิโตรเลียมมีความชัดเจนโปร่งใสในทุกขั้นตอน และสร้างผลประโยชน์ให้แก่รัฐสูงสุด แต่หากมีข้อกังวลกระทรวงพลังงานก็พร้อมทจะศึกษาระบบอื่นควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะระบบแบ่งปันผลผลิต(PSC)
"ระบบบริหารจัดการปิโตรเลียมของไทยในปัจจุบันที่ใช้ระบบ Thailand 3+ นั้นสามารถที่จะรองรับการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 นี้ได้อย่างมีความโปร่งใสเป็นไปตามกฎหมายที่สามารถตรวจสอบความถูกต้องภายใต้หลักเกณฑ์การแบ่งผลประโยชน์ ระหว่างรัฐและผู้รับสัมปทาน และสร้างผลประโยชน์ให้แก่รัฐสูงสุด"นายอารีพงศ์ กล่าว

ปลัดกระทรวงพลังงาน ระบุอีกว่า ระบบสัมปทานของไทย เป็นระบบมาตรฐานสากล มีความโปร่งใส โดยสามารถสอบทานความถูกต้อง(Cross Check) ภายใต้หลักเกณฑ์การแบ่งผลประโยชน์ ระหว่างรัฐกับผู้รับสัมปทาน(Fical Regime) และหลักเกณฑ์ในด้านการตรวจสอบและควบคุมการดำเนินงานของผู้รับสัมปทานที่ชัดเจน และต่อเนื่อง จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และกรมสรรพากร เป็นต้น

สำหรับเรื่องการตรวจสอบปริมาณสำรองปิโตรเลียม รัฐทราบตัวเลขปริมาณสำรองปิโตรเลียมของแหล่งต่างๆจากรายงานของบริษัทผู้รับสัมปทาน ซึ่งตัวเลขที่รายงานนี้เป็นตัวเลขเดียวกันกับที่ผู้รับสัมปทานรายงานแก่ผู้ร่วมลงทุน(Partner) ซึ่งต้องผ่านกระบวนการประเมินที่ถูกต้องเป็นไปตามกฏเกณฑ์มาตรฐานสากล ซึ่งกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติก็จะมีหน้าที่ตรวจสอบวิธีประเมินปริมาณสำรองของบริษัทผู้รับสัมปทานอีกทีหนึ่ง

นอกจากนี้รัฐยังได้ว่าจ้างองค์กรผู้ชำนาญการ( Third Party) เพื่อมาสุ่มตรวจตัวเลขปริมาณสำรองของบริษัท เพื่อให้มั่นใจว่าตัวเลขที่บริษัทรายงานนั้นได้จากวิธีการประเมินที่เชื่อถือได้ตามหลักสากล รวมถึงกระบวนการตรวจสอบค่าใช้จ่าย และการอนุมัติการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ภายใต้การกำกับตามกฏหมายของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ

ในขั้นตอนการผลิต และขายปิโตรเลียมนั้น กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติก็มีการควบคุมและตรวจสอบอย่างรัดกุมและเป็นระบบ เพื่อป้องกันการสูญหายหรือลักลอบระหว่างการดำเนินการ โดยเฉพาะการขนถ่ายและการซื้อขายปิโตรเลียมจากแหล่งในทะเล

สำหรับระบบแบ่งปันผลผลิต(Production Sharing Contract – PSC) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้แพร่หลายในประเทศเพื่อนบ้าน ขณะที่ระบบสัมปทานมีการใช้แพร่หลายในประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งสองระบบต่างสามารถทำหน้าที่ในการรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติได้ โดยมีหลายส่วนที่คล้ายคลึงกัน เช่น ในส่วนมูลค่าปิโตรเลียมที่ผลิตได้ หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว(Cost Oil หรือ Cost Gas) ส่วนที่เหลือ (Profit Oil หรือ Profit Gas) จะแบ่งกันระหว่างรัฐกับผู้ประกอบการ

แต่ความแตกต่างกันจะมีกลไกในการจัดเก็บ เช่น ระบบสัมปทานจะใช้กลไกภาษีเงินได้ และค่าภาคหลวงเป็นกลไกเก็บผลประโยชน์หลัก แต่ระบบ PSC จะใช้กลไกในการแบ่งปันผลกำไรของ Profit Oil ที่ขายได้ เป็นต้น ซึ่งจะจัดเก็บมากหรือน้อยนั้นสามารถก็อาจระบุเป็นจำนวนร้อยละที่อยู่ในกลไกการจัดเก็บนั้นๆ ได้

นายอารีพงศ์ กล่าวอีกว่า หากมีข้อกังวลกระทรวงพลังงานก็พร้อมที่จะศึกษาระบบอื่นคู่ขนานไปด้วย โดยเฉพาะระบบ PSC ซึ่งที่ผ่านมาจากประสบการณ์ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย มีการใช้ระบบ PSC อยู่ แต่หากพบว่านำระบบสัมปทานแบบ Thailand 3+ มาปรับใช้ก็จะมีการแบ่งปันผลประโยชน์ให้แก่รัฐที่ดีกว่าระบบ PSC อย่างไรก็ตามจะมีการศึกษาต่อไปว่า


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ