ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.73/75 แกว่งแคบไร้ปัจจัยหนุน คาดกรอบพรุ่งนี้ 35.70-35.80

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday February 23, 2016 17:34 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.73/75 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงกับช่วงเช้าที่เปิด
ตลาดที่ระดับ 35.74/76 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทแกว่งอยู่ในกรอบแคบๆ เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยสำคัญที่จะมีผลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินมากนัก ประกอบ กับตลาดเพิ่งเปิดทำการเป็นวันแรกหลังจากช่วงวันหยุดยาว 3 วัน โดยวันนี้บาท low สุดที่ระดับ 35.72 บาท/ดอลลาร์ และ high สุดที่ระดับ 35.76 บาท/ดอลลาร์

"วันนี้บาทแกว่งแคบๆ ในกรอบ 35.72-35.76 บาท/ดอลลาร์ ยังไม่ค่อยมีปัจจัยอะไรสำคัญมากนัก ประกอบกับเพิ่งเปิด ทำการวันแรก จากที่หยุดยาวกันไป 3 วัน" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน คาดว่า เงินบาทพรุ่งนี้จะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.70 - 35.80 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • ปิดตลาดเย็นนี้ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 112.00/05 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 112.02/04 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโร เย็นนี้อยู่ที่ระดับ 1.1005/1007 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1043/1047 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,325.79 เพิ่มขึ้น 5.60 จุด (+0.42%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 49,838 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 974.34 ลบ.(SET+MAI)
  • คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาภัยแล้ง และมาตรการเพิ่มขีดความสามารถทางการ
เกษตร เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งในระยะเร่งด่วนที่จะส่งผลต่อความเป็นอยู่ รายได้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจ และสภาวะสังคม ตลอด
จนการเพิ่มขีดความสามารถภาคการเกษตรของประเทศและจะเป็นการบรรเทาผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งและภัยธรรมชาติอื่น ๆ ใน
ระยะกลาง

ประกอบด้วย 3 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉินและจำเป็นของเกษตรกรที่ประสบภัย แล้ง ปี 2558/2559 วงเงินรวมทั้งสิ้น 6,000 ล้านบาท 2.โครงการสินเชื่อ 1 ตำบล 1 SME เกษตร เพื่อสร้างความยั่งยืนของ ภาคเกษตรไทย วงเงินสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 72,000 ล้านบาท และ 3.โครงการชุมชนปรับเปลี่ยนการผลิตสู้วิกฤติภัยแล้ง วงเงินสินเชื่อ รวมทั้งสิ้น 15,000 ล้านบาท

  • คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ Micro Entrepreneurs ระยะที่ 2
วงเงิน 13,500 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ Micro Entrepreneurs ที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจชะลอตัว ให้มี
โอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากระบบสถาบันการเงิน รวมถึงเพื่อแก้ไขปัญหาการกู้ยืมเงินนอกระบบของผู้ประกอบการ Micro
Entrepreneurs ให้ลดลง
  • นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กก
พ.) กล่าวว่า กกพ.จะพยายามดูแลเพื่อรักษาระดับค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (เอฟที) รอบใหม่สำหรับเดือนพ.ค.-ส.ค.59 ไม่ให้ปรับขึ้น
จากปัจจุบันที่อยู่ระดับ -4.80 สตางค์/หน่วย แม้ว่าแนวโน้มค่าเอฟทีจะเพิ่มขึ้น 1-3 สตางค์/หน่วยก็ตาม ซึ่งเป็นผลจากค่าเงินบาท/
ดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง และความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น
  • นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบการทั้งไทย
และต่างประเทศ สนใจยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษใน 10 พื้นที่ แล้ว 12 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม
1,300 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีนักธุรกิจจากทั้งในประเทศและต่างชาติ สนใจเข้ามาติดต่อสอบถามข้อมูลของนโยบายดังกล่าวอย่างต่อ
เนื่อง อาทิ ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน จีน และญี่ปุ่น ส่วนใหญ่สนใจลงทุนกิจการด้านสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เครื่องประดับ เครื่อง
เรือน ศูนย์กระจายสินค้า เป็นต้น
  • ตลาดหลักทรัพย์ฯ ร่วมกับ บล.ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จัดงาน “SET Thai Corporate Day 2016:
Driving Economy with Sustainable Growth" เชิญหน่วยงานภาครัฐให้ข้อมูลความคืบหน้าโครงสร้างพื้นฐานและระบบขนส่ง
มวลชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ อีกทั้งยังเป็นเวทีให้ผู้ลงทุนสถาบันต่างประเทศเข้ารับฟัง
ศักยภาพ โอกาสการลงทุนในไทยจากผู้บริหาร 50 บริษัทจดทะเบียนไทยในวันที่ 7-8 มี.ค.
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จีน กล่าวว่า อัตราการบริโภคของจีนจะเติบโตขึ้นด้วยอัตราที่รวดเร็วในปี 2559
โดยอัตราการบริโภคของจีนเติบโตขึ้น 10.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี และมีผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจจีนคิดเป็นสัดส่วนถึง 66.4%
โดยเทียบกับปี 2557 ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 51% อันมีผลเนื่องมาจากรายได้ของประชากรที่สูงขึ้น การประกันสังคมที่ดีขึ้น บวกกับอุปทาน
อาหารที่ดีขึ้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการผลักดันการบริโภค กระทรวงพาณิชย์จะยังคงเดินหน้าผลักดันการปฏิรูปด้านอุปทานสินค้าเพื่อยกระดับ
คุณภาพของสินค้าและการบริการต่อไป
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนี เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 4/2558 ขยายตัว
0.3% ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่เท่ากับในไตรมาส 3 และสอดคล้องกับการประมาณการเบื้องต้น แต่หากเทียบรายปี GDP ไตรมาส
4 ขยายตัว 2.1% หลังจากที่ขยายตัวเพียง 1.8% ในไตรมาส 3

ทั้งนี้ ปัจจัยที่ช่วยหนุน GDP ในไตรมาส 4 นั้น มาจากความแข็งแกร่งของการใช้จ่ายภาคครัวเรือน รวมทั้งการใช้จ่าย และการลงทุนในภาครัฐ ซึ่งสามารถชดเชยผลกระทบที่เกิดจากการชะลอตัวของการค้าต่างประเทศ

  • สัปดาห์นี้จะมีการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่น่าสนใจ ได้แก่ ประมาณการจีดีพีครั้งที่ 2 ช่วงไตรมาส

4/2558, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.พ.59 จาก Conference Board, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเบื้อง

ต้นเดือน ก.พ.59 จากมาร์กิต, จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ และยอดขายบ้านใหม่เดือน ม.ค. เป็นต้น


แท็ก เงินบาท  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ