ตลท.ผลักดันผู้ประกอบการสร้างความมั่นคงยั่งยืนในธุรกิจช่วยหนุนวิสาหกิจเพื่อสังคมต่อไป

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday April 20, 2016 18:31 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายบดินทร์ อูนากูล รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานบริหารและดูแลสายงานปฏิบัติการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวในหัวข้อ How can Corporate Director Help Nurture Social Enterprises? ว่า สำหรับ Social Enterprises ของตลท. คือการเป็นส่วนหนึ่งของ Sustainability ที่พยามยามจะผลักดันให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือไม่ได้เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดฯ มีความยั่งยืน และเป็นส่วนให้ประเทศชาติมีความมั่งคั่งและยั่งยืนด้วย

พร้อมกันนี้นิยามของคำว่า วิสาหกิจเพื่อสังคม คือการเป็นธุรกิจ หรือกิจการ ซึ่งหากบริษัทจะเริ่มกิจการ ก็จะต้องมีเงินทุน ขณะที่ ตลท.มีหน้าที่ส่งเสริมให้เกิด Social Environment เพื่อสังคม ซึ่งมีความต้องการให้สังคมอยู่ได้อย่างยั่งยืน และหากบริษัทไม่ต้องการที่จะดำเนินการเอง ก็เข้าไปสนับสนุนด้านเงินทุนให้กับผู้ที่ต้องการทำ ซึ่งมีหลากหลายวิธี เช่น สนับสนุนเงินทุนให้แก่ CSR เข้าไปช่วยเหลือสังคม ที่ไม่ใช่การสร้างฝายชะลอน้ำ แต่เป็นการสร้างดีมานด์ให้ Social Enterprises ขึ้น และหาคู่ค้าทางธุรกิจเพื่อสร้างรายได้ในชุมชน สนับสนุนผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นอย่างยั่งยืน หรือ การจัดตั้งบริษัทย่อยขึ้นเพื่อเข้ามาดูในเรื่องของสังคมโดยตรง

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สิ่งที่นักลงทุนกำลังตั้งคำถามกับบริษัทจดทะเบียนไทย คือ การมี Sustainability ซึ่งจะเป็นที่มาของความยั่งยืน และ สามารถช่วยเหลือสังคมอย่างไร ซึ่งทาง ตลท. ก็จะช่วยผลักดันให้บริษัทจดทะเบียนไทย จำนวน 642 บริษัท เข้าไปส่งเสริมและช่วยเหลือสังคมให้ได้ทั้งหมด Mr.Andrew Glass County Director British Council Thailand กล่าวว่า Social Enterprises ในประเทศอังกฤษจะต้องมีรูปแบบที่แน่นอน ต้องสร้างผลกำไรให้แก่ผู้ถือหุ้น และรัฐบาลกลางจะต้องเข้ามาสนับสนุนผ่านนโยบายต่างๆ รวมถึงภาคเอกชนก็จะต้องเข้ามามีส่วนร่วม จะเห็นได้ว่าช่วงที่ผ่านมามีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาทำธุรกิจในไทยมากขึ้น เนื่องด้วยนักลงทุนเหล่านั้นมองเห็นการเติบโตในรูปแบบ Social Enterprises อย่างห้างสรรพสินค้า Tesco ที่ยกระดับชุมชน โดยการนำสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเข้ามาวางจำหน่าย ทำให้เกิดการสร้างรายได้ที่ยั่งยืนแก่ชุมชน และยังเป็นโอกาสแก่ลูกค้า หรือครอบครัว ที่จะได้เข้ามาสนับสนุนร่วมกัน

ขณะเดียวกัน มองว่า Social Enterprises จะต้องเป็นธุรกิจที่มีกำไร ไม่ใช่เป็นการบริจาคเพื่อการกุศล โดยเข้าไปช่วยให้กลุ่มคนเหล่านั้นมีงานทำ หรือเข้าไปช่วยสร้างงานสร้างอาชีพ

นายวันชัย ศิริชนะ อธิการบดีผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวว่า คำว่า Social Enterprises จะต้องมองถึงปัญหาของสังคมเป็นหลัก โดยในฐานะของบริษัทที่มีความมั่นคงแล้วจะมีส่วนช่วยให้สังคมเติบโตอย่างย่งยืนได้อย่างไรนั้น มองว่าจะต้องมีการช่วยเหลือสังคมให้ยั่งยืน ตามรูปแบบวิธีการ และต้องมองเป้าหมายของสังคมเป็นหลัก ,การทำให้สังคมมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ,มีความสงบสุขของสังคม และการมีอาชีพถาวร

ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ วิสาหกิจ จะขาดไม่ได้เลย คือ บริษัทจะมีผลขาดทุนไม่ได้ ซึ่งต้องทำให้ธุรกิจเพื่อสังคมนั้นมีกำไร และกลับเข้ามาสู่สังคมแห่งนั้น แล้วทำให้วิสาหกิจเดินหน้าไปได้ ดังนั้น Bottom Line ของ Social Enterprises จะมีด้วยกัน 3 ข้อ คือ Triple Bottom Line ,People Community ,Planet Environment และ Profit

"ในฐานะที่บริษัทมีกำลังที่จะสามารถเข้าไปช่วยเหลือสังคมได้ มันจึงเป็นหน้าที่ที่เราจะต้องนึกถึงสังคม ซึ่งเราไม่สามารถอยู่ในวิลล่าหรู ท่ามกลางสลัมได้ เรามีหน้าที่ที่จะทำให้รอบบ้านอยู่อย่างสงบสุข และเราก็จะเป็นสุขไปด้วย ฉะนั้นแนวคิดที่จะประสบความสำเร็จของ Social Enterprises คือการทำให้สังคมเป็นสุขมากขึ้นจากผู้ซึ่งเป็นสุขอยู่แล้ว"นายวันชัย กล่าว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ