ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.16/17 รอติดตามถ้อยแถลงเฟดคืนนี้เกี่ยวกับสัญญาณทิศทางดอกเบี้ย

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday April 27, 2016 17:33 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.16/17 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากช่วงเช้าที่เปิดตลาด ที่ระดับ 35.10/11 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ เพียง 5-6 สตางค์ โดยแข็งค่าในช่วงเปิดตลาดตอนเช้า จากนั้นขยับขึ้นมาเล็ก น้อยและทรงตัวอยู่จนถึงปิดตลาด เนื่องจากนักลงทุนยังรอผลการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ว่าจะมีการ ออกมาให้ความเห็นเรื่องการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในอนาคตหรือไม่ ขณะที่ในรอบนี้ตลาดคาดว่าจะยังคงดอกเบี้ยไว้เท่าเดิม

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 35.05-35.25 บาท/ดอลลาร์ และมีโอกาสจะแข็งค่า ได้หาก FOMC ยังไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่มีความชัดเจนเรื่องการปรับขึ้นดอกเบี้ย

  • ปัจจัยสำคัญ
  • ช่วงเย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 111.30 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 111.18/20 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 1.1300 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1300/1302 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,411.84 ลดลง 6.94 จุด (-0.49%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 37,453 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 62.26 ลบ.(SET+MAI)
  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2559 (ต.
ค.58 – มี.ค.59) ว่าจัดเก็บได้ 1,077,034 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 64,478 ล้านบาท หรือ
6.4% และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 10.2%

โดยสาเหตุหลักมาจากการนำส่งรายได้จากการประมูลใบอนุญาตให้ใช้ คลื่นความถี่ย่าน 900 และ 1800 MHz (4G) จำนวน 48,242 ล้านบาท นอกจากนี้ การนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจสูงกว่าประมาณการ 11,130 ล้านบาท และการจัดเก็บภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา, ภาษีเบียร์ และภาษีสรรพสามิตรถยนต์ได้สูงกว่าประมาณการ

  • นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสมในปีนี้ จนถึงวันที่
24 เม.ย.59 มีจำนวน 11,114,667 คน ขยายตัว 13.84% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งก่อให้เกิดรายได้จากนักท่อง
เที่ยว 563,275 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 17.81%
  • 4 ธนาคารพาณิชย์ใหญ่ กรุงเทพ ไทยพาณิชย์ กรุงไทย กสิกรไทย ยอมรับว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ย มีผลกระทบต่อ
กำไรของทุกธนาคาร แต่จะเน้นหารายได้อื่นเสริม รวมทั้งบริหารต้นทุนทางการเงินและสภาพคล่องให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เริ่มต้นการประชุมนโยบายระยะเวลา 2 วันในวันนี้ ในขณะที่มีกระแสคาดการณ์ในตลาด
มากขึ้นว่า BOJ อาจจะใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติม เพื่อผลักดันอัตราเงินเฟ้อซึ่งยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเป้า
หมายอย่างมาก ตลาดยังคาดการณ์ด้วยว่า BOJ อาจจะเลื่อนระยะเวลาในการบรรลุเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ระดับ 2% ออกไปอีก
โดยปัจจุบันคาดว่าจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ในครึ่งแรกของปี 2560
  • ธนาคารโลก (World Bank) ปรับเพิ่มคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในปี 2559 ขึ้นสู่ระดับ 41 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล
จากที่ได้คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนม.ค.ที่ 37 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากที่ตลาดมีความเชื่อมั่นดีขึ้น ประกอบกับการอ่อนค่าของเงิน
ดอลลาร์ นอกจากนี้ยังคาดการณ์ว่าภาวะอุปทานน้ำมันล้นตลาดนั้นจะคลี่คลายลงด้วย
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาสแรกของปีนี้ ขยายตัว
0.4% ซึ่งลดลงจากระดับ 0.6% ในไตรมาส 4 ปีที่แล้ว เนื่องจากผลผลิตในภาคการผลิตและภาคก่อสร้างปรับตัวลง อย่างไรก็ดี จีดีพี
ไตรมาสแรกของปีนี้ สอดคล้องคาดการณ์ของนักวิเคราะห์และเป็นการขยายตัวติดต่อกันไตรมาสที่ 13
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน (NBS) รายงานว่า กำไรของบริษัทรายใหญ่ในภาคอุตสาหกรรมของจีนเดือนมี.ค.59
ปรับตัวขึ้น 11.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สู่ระดับ 5.6124 แสนล้านหยวน โดยบริษัทกลุ่มดังกล่าวมีผลประกอบการต่อปีมากกว่า
20 ล้านหยวน (หรือ 3.1 ล้านเหรียญสหรัฐ) ส่วนในไตรมาสแรกปี 2559 กำไรของบริษัทรายใหญ่ในภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ 1.3
ล้านล้านหยวน ปรับตัวขึ้น 7.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • สถาบัน Ifo ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจของเยอรมนี เปิดเผยว่า ผู้ผลิตเยอรมนีคาดการณ์ว่าการส่งออกจะขยายตัว
ในอัตราชะลอตัวลงอย่างมากในเดือนเม.ย. เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา โดยดัชนีแนวโน้มมูลค่าการส่งออกปรับตัวลงสู่ระดับ 4.0 ใน
เดือนเม.ย. จากระดับ 6.3 ในเดือนมี.ค.
  • ผลสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคของเยอรมนีที่จัดทำโดย GfK ซึ่งเป็นกลุ่มวิจัยตลาด เผยให้เห็นว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้

บริโภคเดือนพ.ค. ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 9.7 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือน จากระดับ 9.4 ในเดือนเม.ย. ทั้งนี้ ผู้บริโภคมีมุม

มองเชิงบวกต่อรายได้ในอนาคต ซึ่งหมายถึงอำนาจการซื้อที่จะเพิ่มมากขึ้น และยังนับเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจเยอรมนีจะได้รับแรงหนุน

จากการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชน


แท็ก เงินบาท   เฟด  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ