นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 35.28/30 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวจากปิดตลาดเย็นวานนี้
"ยังเป็นผลมาจากตัวเลข Non Farm เมื่อวันศุกร์ที่ออกมาไม่ค่อยดี ส่วนกรณีประธานเฟดออกมาพูด ตลาดตอบรับล่วง หน้ากันไปตั้งแต่เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาแล้วว่าการขึ้นดอกเบี้ยไม่น่าจะเกิดขึ้นในครั้งนี้แต่อาจจะเป็นครั้งหน้า" นักบริหารเงิน กล่าว
สำหรับวันนี้ ต้องรอดูว่าค่าเงินบาทจะ Break Low ได้หรือไม่ ประเมินกรอบวันนี้ระหว่าง 35.20-35.40 บาท/ ดอลลาร์
"ด้านบนให้แนวต้าน 35.35 และ 35.40 บาท/ดอลลาร์ ส่วนแนวรับ 35.20 วันนี้น่าจะทรงๆ แต่ไปในทิศทางแข็ง ค่า"นักบริหารเงิน กล่าว
ล่าสุด SPOT อยู่ที่ระดับ 35.3175 บาท/ดอลลาร์ ส่วน THAI BAHT FIX 3M (6 มิ.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.31149% ส่วน THAI BAHT FIX 6M (6 มิ.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.47443%
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 107.58 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ปิดที่ระดับ 107.14/15 เยน/ดอลลาร์
- ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1350 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ปิดที่ระดับ 1.1340/1343 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.3600 บาท/
ดอลลาร์
- นางจันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ค่าเงิน
บาทเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. ปรับตัวแข็งค่าอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐเงินบาทแข็งค่าเป็นอันดับ 3 ในภูมิภาคที่ 0.7%
รองจากริงกิตของมาเลเซียที่แข็งค่า 1.02% และรูเปียห์ของอินโดนีเซียที่แข็งค่า 1.2% ส่วนค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้น 2%
- นางทองอุไร ลิ้มปิติ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
ธปท. ได้ผ่อนเกณฑ์กำกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (นอนแบงก์) เพื่อรองรับเทคโนโลยีด้านการเงินใหม่ที่จะ
ออกมา เช่น อนุญาตให้ลงทุนในกองทุนร่วมทุน (เวนเจอร์แคปิตอล) หรือลงทุนในกลุ่มเทคโนโลยีการเงิน (ฟินเทค) และ ธปท.กับ
สมาคมธนาคารไทยอยู่ระหว่างศึกษาโครงสร้างค่าธรรมเนียมธุรกรรมการเงินผ่านระบบดิจิตอล คือโมบายแบงกิ้ง และอินเตอร์เน็ตแบ
งกิ้ง ที่จะถูกลงกว่าที่ใช้อยู่ คาดว่าจะมีความชัดเจนและประกาศใช้ก่อนมีการเปิดลงทะเบียนโครงการนานานาม หรือเอนี่ไอดี (Any
ID)
- นายอิสระ บุญยัง นายกกิตติมศักดิ์สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร เปิดเผยว่า พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่เตรียม
เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา (ครม.) ในวันที่ 7 มิ.ย.นี้ หากเป็นไปตามที่ระบุว่าจะจัดเก็บภาษีสำหรับที่อยู่อาศัยที่เป็นหลังแรกราคา
เกิน 50 ล้านบาทขึ้นไป ก็จะไม่กระทบกับคนส่วนใหญ่ เพราะที่อยู่อาศัยราคาเกินกว่า 50 ล้านบาทขึ้นไป มีเพียงสัดส่วนไม่ถึง 5%
ของตลาดที่อยู่อาศัยทั้งหมด แต่ฐานภาษีของรัฐบาลก็จะแคบลง ส่วนบ้านหลังที่สองซึ่งประเมินว่าจะมีสัดส่วนประมาณ 10% ของที่อยู่
อาศัยทั่วประเทศ จะต้องเสียภาษีโดยไม่มีการยกเว้นใดๆ แน่นอนว่าจะได้รับผลกระทบมากที่สุด
- ผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยกรณี พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ
มาตรา 61 วรรคสอง ขัดต่อรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) 2557 หรือไม่อย่างเป็นทางการแล้ว
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (6 มิ.ย.) หลังจากมีรายงานว่า เหตุการณ์โจม
ตีท่อส่งน้ำมันในประเทศไนจีเรียส่งผลให้การผลิตน้ำมันภายในประเทศปรับตัวลดลง นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากการ
อ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค.พุ่งขึ้น 1.07 ดอลลาร์ หรือ 2.2% ปิดที่ 49.69
ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนส.ค.เพิ่มขึ้น 91 เซนต์ หรือ 1.8% ปิดที่ 50.55 ดอลลาร์/บาร์เรล
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (6 มิ.ย.) เพราะได้แรงหนุนจากสกุลเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง หลังจาก
นางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ไม่ได้ส่งสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับช่วงเวลาที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ใน
การประชุมซึ่งจัดขึ้นที่ฟิลาเดลเฟียเมื่อวานนี้ โดยสัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค.เพิ่มขึ้น
4.50 ดอลลาร์ หรือ 0.36% ปิดที่ระดับ 1,247.40 ดอลลาร์/ออนซ์
- สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับยูโร ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (6 มิ.ย.) หลังจากนางเจ
เน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ไม่ได้ระบุเวลาที่ชัดเจนว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อใด ในระหว่างการ
กล่าวสุนทรพจน์ครั้งล่าสุดที่ฟิลาเดลเฟียเมื่อวานนี้
- นางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวเมื่อวานนี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐยังคงมีความแข็ง
แกร่ง แม้มีการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานที่น่าผิดหวังเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว พร้อมระบุว่าเฟดจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อย
เป็นค่อยไป แต่ไม่ได้มีการระบุถึงกำหนดเวลาที่เฉพาะเจาะจงในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
- ผลการสำรวจของ ICM ระบุว่า ฝ่ายที่รณรงค์ให้อังกฤษแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (EU) กำลังได้รับเสียงสนับสนุน
มากกว่าฝ่ายที่คัดค้านการถอนตัวออกจาก EU
--อินโฟเควสท์ โดย นิศารัตน์ วิเชียรศรี/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์:
[email protected]