พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุม “แนวคิดและเครื่องมือในการบริหารจัดการกองทุนแบบบูรณาการและมุ่งผลสัมฤทธิ์" ว่า การบริหารจัดการโครงการจะประสบความสำเร็จ ผู้ปฏิบัติงานต้องมีองค์ประกอบ 4 ประการ ดังนี้ 1. ผู้พัฒนาโครงการต้องความรู้ (Knowledge) 2. ทีมงานของผู้พัฒนาโครงการจะต้องมีทักษะ (Skill) 3.โครงการที่พัฒนาต้องมีนวัตกรรม (Innovation) และ 4. การประสานงานจะต้องเป็นไปแบบบูรณาการ (Integration) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนและอนุรักษ์พลังงาน
"ต้องการปรับปรุงกระบวนการให้มีความกระชับฉับไว และมีประสิทธิภาพ มีเป้าหมายที่ชัดเจนในการขับเคลื่อนแผนอนุรักษ์พลังงาน และแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดในช่วงปี พ.ศ.2558 - 2579แบ่งเป้าหมายออกเป็น 2 แผน ได้แก่ แผนอนุรักษ์พลังงาน จะลดความเข้มการใช้พลังงาน (Energy Intensity : EI) ร้อยละ 30 ในปี พ.ศ.2579 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ.2553 หรือลดการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายของประเทศลง 56,142 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe)และแผนพลังงานทดแทน ทำให้สัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนจากเดิม 9,201 ktoeคิดเป็นร้อยละ 11.9 ในปี พ.ศ.2557 เพิ่มเป็น 39,389 ktoe ในปี พ.ศ.2579 คิดเป็นร้อยละ 30 ของปริมาณการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย"รมว.พลังงานกล่าวนายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และโฆษกกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า สนพ.ได้ขานรับนโยบายสู่การปฏิบัติในการกลั่นกรอง ติดตาม และประเมินผลโครงการต่างๆ ของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานสำหรับโครงการที่ประสบผลสำเร็จที่ผ่านมา และเร่งผลักดันโครงการสำคัญที่รองรับยุทธศาสตร์ด้านต่างๆ ในอนาคตเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ปี พ.ศ.2558 - 2564 เช่น การส่งเสริมการใช้หลอดแอลอีดี (LED) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 - 2559 กองทุนฯ สนับสนุนการเปลี่ยนมาใช้หลอด LED ไม่น้อยกว่า 2 ล้านหลอด , ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทย กำหนดในแผน PDP จะมี EV (passenger) 1.2 ล้านคัน ณ ปี พ.ศ.2579 โดยคาดว่าช่วงปี พ.ศ.2560 - 2564 จะมี EV เข้าสู่ตลาดรถประมาณ 4,000- 60,000 คัน ลดการใช้พลังงานได้ประมาณ 75 ktoe เป็นต้น