ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.64/66 กลับมาอ่อนค่า หลังเฟดหลังส่งสัญญาณขึ้นดบ.ในก.ย.

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 17, 2016 09:20 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 34.64/66 บาท/ดอลลาร์ จาก เย็นวานนี้ที่ 34.57/59 บาท/ดอลลาร์

"ประเด็นคือเมื่อวานมีตัวเลข CPI สหรัฐออกมา ซึ่งจริงๆตัวเลขดังกล่าวไม่ได้สำคัญอะไร แต่มี FED Member คนหนึ่ง ออกมาพูดว่าสามารถจะขึ้น Rate ได้เร็วในเดือนกันยายนนี้เลย พูดค่อนข้างชัดมากว่ามีโอกาสที่สหรัฐจะขึ้นดอกเบี้ยในช่วงกันยายน ได้ ซึ่งตลาดที่ไม่คาดคิดหรือกะว่าปีนี้อาจจะขึ้นดอกเบี้ยแค่ครั้งเดียวตอนเดือนธันวาคม หรืออาจจะไม่ขึ้นเลย แต่พอมีออกมาพูดชัดแบบ นี้ ดอลลาร์เลยถูกซื้อขึ้นมา วันนี้ก็ต้องรอดูว่าจะไปทางไหนต่อ" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 34.55-34.70 บาท/ดอลลาร์

"แนวรับวันนี้ 34.55 ส่วนแนวรับสัปดาห์นี้อยู่ที่ 34.50...ซึ่งเมื่อคืนที่เงินบาทลงไปทำ Low 34.53 มองว่าเป็นการ แข็งค่าต่อเนื่องตามภูมิภาคด้วยและตั้งแต่ตัวเลขจีดีพีไทยออกมาส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจดี เงินเข้า หุ้นขึ้นต่อเนื่องทุกวัน เมื่อวานเพิ่งลง มาครั้งแรก" นักบริหารเงิน กล่าว

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 100.50 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ระดับ 100.05 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1285 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ระดับ 1.1274/1277 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.5950 บาท/
ดอลลาร์
  • แบงก์มองครึ่งปีหลังการขยายตัวทางเศรษฐกิจชะลอ ลุ้นการบริโภคฟื้นตัวแต่ยังห่วงความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ
โลก ขณะที่แบงก์ชาติเผยต้นเดือน ส.ค. เงินทุนไหลเข้าตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตรกว่า 1,100 ล้านดอลลาร์ ทำให้เงินบาท
แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วจนเป็นอุปสรรค ยันเกาะติดเพื่อลดผลกระทบ
  • นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้หารือกับนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เพื่อให้เริ่ม
จัดทำแผนความยั่งยืนทางการคลังของประเทศ โดยตั้งเป้าหมายว่าจะให้ประเทศไทยมีงบประมาณแบบสมดุลภายในระยะ 7-8 ปี ถือ
ว่าเป็นกรอบการบริหารเศรษฐกิจที่จะส่งต่อให้รัฐบาลต่อไป
  • กรมบัญชีกลางออก 2 มาตรการ การขยายระยะเวลาการจัดหาพัสดุ รวมถึงการเตรียมการในการจัดหาพัสดุก่อน พ.
ร.บ.งบประมาณฯ จะประกาศใช้ จะช่วยให้การดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในเรื่องของการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงิน และการ
กระตุ้นเศรษฐกิจเป็นไปตามเป้าหมายได้
  • ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยยังคงต้องเผชิญความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของการ
ดำเนินนโยบายของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ และการเติบโตของเศรษฐกิจโลก เอชเอสบีซีคาดว่าจีดีพีช่วงครึ่งปีหลังของไทยจะ
ชะลอลง ทำให้ทั้งปี 2559 และ 2560 เศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโต 2.8%
  • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า กรณีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ (สศช.) ประกาศตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสสองของปีนี้อยู่ที่ 3.5% ทำให้ช่วงครึ่งปีแรกเศรษฐกิจ
เติบโตอยู่ที่ 3.4% และคาดว่าจีดีพีจะเติบโตใกล้ระดับ 3.3-3.5% นั้น ในส่วนของ ส.อ.ท.ยังคาดการณ์ระดับ 3-3.5% ยังไม่มีการ
ปรับประมาณการในเวลานี้
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า หลังจากที่สภาพัฒน์ได้ประกาศตัวเลขอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในไตร
มาส 2 ที่ 3.5% ทำให้ครึ่งปีจีดีพีไทยขยายตัวได้ถึง 3.4% ทำให้แรงกดดันเรื่องการใช้ดอกเบี้ยกระตุ้นเศรษฐกิจหมดไป
  • นายเดนนิส ล็อคฮาร์ท ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตา กล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐมีความแข็ง
แกร่งเพียงพอที่จะรองรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 1 ครั้งก่อนสิ้นปีนี้ ขณะที่การจ้างงานยังคงเพิ่มขึ้น และเงินเฟ้ออยู่ในทิศ
ทางที่เหมาะสมข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐในช่วงที่ผ่านมาได้แสดงภาพเศรษฐกิจที่อ่อนแอเกินความจริง
ในขณะที่ปัจจัยพื้นฐานของสหรัฐยังคงบ่งชี้ถึงการขยายตัวในระดับปานกลางในปีนี้ และปีหน้า
  • ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตา เปิดเผยว่า แบบจำลองการคาดการณ์ GDPNow แสดงให้เห็นว่า
เศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มขยายตัว 3.6% ในไตรมาส 3 หลังจากมีการเปิดเผยตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านที่พุ่งสูงสุดในรอบ 5 เดือน
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ทรงตัวในเดือนก.ค. เมื่อเทียบรายเดือน หลังจาก
ดีดตัวขึ้น 0.2% ในเดือนมิ.ย. โดยมีสาเหตุจากราคาน้ำมันที่ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อได้เบาบางลง
ซึ่งจะลดแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในปีนี้
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (16 ส.ค.) หลัง
จากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ทรงตัวในเดือนก.ค. ซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้สกัดกระแสคาดการณ์
เกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) โดยดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเยนที่ระดับ 100.26 เย
น จากระดับ 101.23 เยน ขณะที่เงินยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1275 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.1185
ดอลลาร์สหรัฐ
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (16 ส.ค.) โดยได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ นอก
จากนี้ ข้อมูลเงินเฟ้อที่อ่อนแอของสหรัฐนั้น ยังช่วยลดน้ำหนักของกระแสคาดการณ์เรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง
สหรัฐ (เฟด) โดยสัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 9.4 ดอลลาร์ หรือ 0.7% ปิด
ที่ระดับ 1,356.9 ดอลลาร์/ออนซ์
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (16 ส.ค.) ทำสถิติปิดบวกติดต่อกัน 4 วันทำ
การ เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่า การประชุมอย่างไม่เป็นทางการของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ในเดือนหน้านั้น ที่
ประชุมอาจจะเห็นชอบให้ตรึงกำลังการผลิต นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ โดยสัญญา
น้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ย.เพิ่มขึ้น 84 เซนต์ หรือ 1.8% ปิดที่ 46.58 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบ
เดือนต.ค.เพิ่มขึ้น 88 เซนต์ หรือ 1.8% ปิดที่ 49.23 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษ (ONS) เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อจากดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในสหราช

อาณาจักรพุ่งขึ้น 0.6% ในเดือนก.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.2014 ผลจากการทรุดตัวของค่า

เงินปอนด์นับตั้งแต่ที่อังกฤษทำประชามติแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) จะส่งผลให้ราคาสินค้านำเข้าพุ่งขึ้นในช่วงหลายเดือน

ข้างหน้า และผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อทะยานขึ้นสูงกว่า 2.5% ในช่วงครึ่งแรกของปีหน้า


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ