(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เงินบาทเปิด 34.92 แข็งค่าหลังดอลลาร์อ่อน กังวลความไม่แน่นอนของการเมืองสหรัฐ

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 3, 2016 12:03 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 34.92 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่า จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 35.02/03 บาท/ดอลลาร์

เช้านี้เงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้น เนื่องจากดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังมีแรงเทขายดอลลาร์ ออกมา ถึงแม้ที่ประชุมคณะกรรมการกลางกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) จะมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ตาม เดิม และส่งสัญญานว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งหน้าก็ตาม

แต่ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อดอลลาร์ มาจากเรื่องการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ที่นายโดนัล ทรัมป์ ผู้สมัครชิงตำแหน่ง ประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกัน มีคะแนนนิยมตีตื้นนางฮิลลารี คลินตัน ผู้สมัครจากพรรคเดโมแครต ในช่วงโค้งสุดท้าย ทำให้นักลงทุน เกรงว่าผลเลือกตั้งจะออกมาพลิกความคาดหมายเหมือนกรณี Brexit

"เงินบาทแข็งค่าจากเย็นวานนี้ 10 สตางค์ หลังดอลลาร์อ่อนค่า เนื่องจากมีแรงเทขายออกมา ทิศทางวันนี้น่าจะแกว่ง ตัวในกรอบที่คาดไว้" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ไว้ที่ 34.90-35.00 บาท/ดอลลาร์

ล่าสุด SPOT อยู่ที่ระดับ 34.9467 บาท/ดอลลาร์ ส่วน THAI BAHT FIX 3M (2 พ.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.36568% ส่วน THAI BAHT FIX 6M (2 พ.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.55527%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เช้านี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 103.31 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 103.55 เยน/ดอลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1104 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1076 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.054 บาท/ดอลลาร์
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (2 พ.ย.) เนื่อง
จากความวิตกกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ซึ่งจะมีขึ้นในสัปดาห์หน้า โดยนักวิเคราะห์กล่าวว่า
ดอลลาร์สหรัฐได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่านายโดนัลด์ ทรัมป์ มีโอกาสมากขึ้นที่จะชนะการเลือกตั้ง และก้าวขึ้นเป็น
ประธานาธิบดีสหรัฐคนต่อไป
  • คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติด้วยคะแนนเสียง 8-2 ในการ
ประชุมเมื่อวานนี้ ให้คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นอยู่ในช่วง 0.25-0.50% ตามที่ตลาดการเงินคาดการณ์ไว้ พร้อมกันนี้ FOMC ส่งสัญญาณ
ว่าอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค. ขณะที่ระบุว่าเศรษฐกิจมีการปรับตัวดีขึ้น และอัตราเงินเฟ้อกำลังดีดตัวขึ้นเข้าใกล้
ระดับ 2% ซึ่งเป็นเป้าหมายของเฟด
  • นักลงทุนจับตากระทรวงแรงงานสหรัฐ ซึ่งจะเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในวันศุกร์นี้ โดยตัวเลขดัง
กล่าวจะบ่งชี้แนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 2 ของเฟดในรอบ 10 ปี ขณะที่ผลการสำรวจนักวิเคราะห์ระบุว่า กระทรวงแรง
งานสหรัฐจะรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 175,000 ตำแหน่งในเดือนต.ค. ส่วนอัตราการว่างงานจะลดลงสู่
ระดับ 4.9% จากเดิมที่ระดับ 5.0%
  • บริษัทมาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ภาคการผลิตของยูโรโซนมีการขยายตัวที่แข็ง
แกร่ง ขณะเริ่มต้นไตรมาส 4/59 โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ในภาคการผลิตเดือน ต.ค.เพิ่มขึ้น 53.5 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด
ในรอบเกือบ 3 ปี จากระดับ 52.6 ในเดือนก.ย. ทั้งนี้ภาคการผลิตในประเทศส่วนใหญ่ของยูโรโซนมีการขยายตัว ยกเว้นกรีซ
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงาน
ของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐพุ่งขึ้นเกินคาดในสัปดาห์ที่แล้ว โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนธ.
ค.ร่วงลง 1.33 ดอลลาร์ หรือ 2.9% ปิดที่ 45.34 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนม.ค.ดิ่งลง 1.28
ดอลลาร์ หรือ 2.7% ปิดที่ 46.86 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • ตลาดน้ำมันนิวยอร์ก ได้รับแรงกดดันจากรายงานที่ว่า การผลิตน้ำมันประจำเดือนต.ค.ของกลุ่มประเทศผู้ส่งออก
น้ำมัน (โอเปก) พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 33.82 ล้านบาร์เรล/วัน จากเดือนก.ย.ที่ระดับ 33.69 ล้านบาร์เรล/
วัน
  • ผลการสำรวจของ Pepperdine Graziadio School of Business and Management พบว่า เจ้าของธุรกิจ

รายย่อย 38% มีความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับผู้ที่จะมาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจของพวกเขา

โดยสหพันธ์ธุรกิจอิสระแห่งชาติสหรัฐ (NFIB) แถลงว่าดัชนีความไม่แน่นอนได้แตะระดับสูงสุดในรอบ 42 ปี ทั้งนี้ความไม่แน่นอนทาง

การเมืองเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เจ้าของธุรกิจรายย่อยไม่ต้องการขยายกิจการในขณะนี้


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ