ภาวะตลาดเงินบาท: ปิดวันนี้หลุด 36 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าสุดในรอบ 11 เดือน

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 20, 2016 17:27 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 36.02/03 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก
ช่วงเช้าที่เปิดตลาดระดับ 35.88/90 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทอ่อนค่าไปแตะระดับที่ 36 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งถือว่าเป็นการอ่อนค่าสุดในรอบ 11 เดือน นับแต่ช่วงเดือน ม. ค.59 ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากมีเงินทุนไหลออก อย่างไรก็ดี การอ่อนค่าของเงินบาทเป็นไปตามทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลอื่นๆ ใน ภูมิภาคเอเชีย

"วันนี้บาทอ่อนค่าแตะ 36 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นการอ่อนค่าสุดนับตั้งแต่ช่วงเดือน ม.ค. สาเหตุหลักๆ น่าจะมาจากมี flow ไหลออก เงินเอเชียก็อ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ส่วนยูโรก็อ่อนค่า แต่ยังน้อยกว่าเงินในเอเชีย" นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทยังมีโอกาสอ่อนค่าได้ต่อ มองกรอบ 35.95 - 36.05 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่การ ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) พรุ่งนี้คาดว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิมที่ 1.50%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • ช่วงเย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 118.09 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 117.30 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 1.0380 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0410 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,511.65 จุด ลดลง 10.75 จุด (-0.71%) มูลค่าการซื้อขาย 41,238 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 842.58 ลบ.(SET+MAI)
  • ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)เห็นชอบเป้าหมายนโยบายการเงินประจำปี 2560 ตามที่ได้มีการหารือและทำข้อตกลง
ไว้ร่วมกันแล้วระหว่างกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ได้เห็นชอบกรอบอัตราเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2560
ที่ 2.5% +/- 1.5%
  • ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี รับทราบประมาณการเศรษฐกิจตามที่ธนาคารโลก (World Bank) ได้ประเมินไว้ โดย
จากรายงานล่าสุดของธนาคารโลกประเมินว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ 3.1% ส่วนปี 2560 เติบโต 3.2%
  • ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบโครงการลดดอกเบี้ยให้ประชาชนรายย่อย เพื่อลดภาระการผ่อนชำระของ
ลูกหนี้ ทั้งลูกหนี้ที่มีประวัติการชำระหนี้ดีและที่ตัดหนี้สูญไปแล้ว เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่จากธนาคารออมสิน
  • หอการค้าไทย ประเมินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ออกมา จะเข้ามาช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจไทยในปี
60 ขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก 0.5% จากที่คาดการณ์เดิมไว้ที่ระดับ 3.5-4.0% ขณะที่มองว่าการส่งออกจะฟื้นตัวมาเติบโตได้ 0-2%
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ TMB คาดว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5%
ยาวจนถึงสิ้นปี 60 แม้มองว่าการดำเนินนโยบายการเงินในปีหน้าจะมีแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่สูงขึ้น แต่เพราะเศรษฐกิจไทยยังอยู่ใน
ช่วงฟื้นตัว
  • ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางอาเซียน+3 (ASEAN+3 Finance and Central
Bank Deputies’ Meeting: AFCDM+3) คาดเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน+3 ปี 60 ยังคงสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องใกล้
เคียงกับปีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียนที่จะเติบโตได้ดีกว่าปีที่แล้ว ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการดำเนิน
นโยบายต่างๆ เพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่เศรษฐกิจของสาธารณรัฐประชาชนจีนจะชะลอตัวต่อเนื่องในปีหน้า

อย่างไรก็ดี ภูมิภาคอาเซียน+3 ยังคงต้องเผชิญความเสี่ยงจากการดำเนินนโยบายของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ซึ่ง อาจส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนออกนอกภูมิภาคและการอ่อนค่าของเงินสกุลท้องถิ่น รวมถึงความเสี่ยงของการเพิ่มขึ้นของหนี้ภาค เอกชน

  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติคงนโยบายการเงินไว้ที่ระดับปัจจุบันในการประชุมวันนี้ โดยระบุว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นยัง
คงอยู่ในทิศทางของการฟื้นตัวระดับปานกลาง โดยคณะกรรมการ BOJ ระบุในแถลงการณ์ว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงอยู่ในทิศทางการฟื้น
ตัวระดับปานกลาง พร้อมกับปรับเพิ่มการประเมินด้านการอุปโภคบริโภคซึ่งคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 60% ของตัวเลขจีดีพี และยังได้ปรับ
เพิ่มการประเมินการส่งออกซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนหลักทางเศรษฐกิจ
  • รัฐบาลญี่ปุ่นออกรายงานคาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริง (Real GDP) ของญี่ปุ่นจะขยายตัว
1.5% ในปีงบประมาณ 2560 ซึ่งจะเริ่มเดือนเม.ย. เนื่องจากการฟื้นตัวของภาวะตลาดแรงงานและรายได้ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับปัจจัย
หนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น จะช่วยกระตุ้นการอุปโภคบริโภคให้แข็งแกร่งขึ้นด้วย

ส่วนมูลค่า GDP ในปัจจุบัน (Nominal GDP) นั้น คาดว่าจะขยายตัว 2.5% สู่ระดับ 553.5 ล้านล้านเยน (4.71 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนก.ค.ที่ระดับ 1.2% และสูงกว่าคาดการณ์ 1% ของนักเศรษฐศาสตร์ภาค เอกชน

  • นายฮารุฮิโกะ คูโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนภายหลังการประชุมนโยบายการ
เงินในวันนี้ว่า คณะกรรมการ BOJ ยังไม่เห็นความจำเป็นที่จะปรับลดวงเงินซื้อกองทุน ETF ในขณะนี้ พร้อมระบุว่าการผ่อนคลายทาง
การเงินขนานใหญ่ยังคงเป็นนโยบายที่เหมาะสมที่สุด
  • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจแห่งโคโลญของเยอรมนี (IW Cologne) วิเคราะห์ว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของ
สหรัฐในปีหน้านั้น อาจส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของยูโรโซน เนื่องจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยจะส่งผลให้สกุลเงินดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับยู
โร ซึ่งการอ่อนค่าลงของยูโร จะช่วยหนุนการส่งออกไปยังสหรัฐ ขณะที่การนำเข้าจากสหรัฐจะมีมูลค่าสูงขึ้น

นอกจากนี้ ผลของการปรับขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐ อาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยลดแรง กดดันต่อธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในการกำหนดนโยบายการเงินเพิ่มเติมเพื่อรับมือกับภาวะเงินเฟ้อต่ำ .


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ