(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เงินบาทเปิด 34.39/41 อ่อนค่าจากเย็นวานหลังดอลลาร์กลับมาแข็งค่า,มองกรอบ 34.30-34.45

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday April 18, 2017 11:17 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 34.39/41 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่า จากปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 34.25/27 บาท/ดอลลาร์ตามทิศทางค่าเงินภูมิภาค เนื่องจากดอลลาร์กลับมาแข็งค่าหลัง รมว.คลัง ของสหรัฐออกมาแสดงความเห็นว่าอยากให้ดอลลาร์แข็งค่า ซึ่งขัดกับความเห็นของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ก่อนหน้านี้ที่อยากเห็น ดอลลาร์อ่อนค่า

"หลังรัฐมนตรีคลังสหรัฐออกมาแสดงความเห็นว่าอยากให้ดอลลาร์แข็งค่า ส่งผลให้ดอลลาร์กลับมา react แข็งค่าใน ช่วงสั้นๆ ซึ่งขัดกับความเห็นของทรัมป์ก่อนหน้านี้ โดยดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่าเนื่องจากความกังวลเรื่องความขัดแย้งบนคาบสมุทร เกาหลี" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินกรอบเงินบาทวันนี้ไว้ที่ 34.30-34.45 บาท/ดอลลาร์

ล่าสุด SPOT อยู่ที่ระดับ 34.3650 บาท/ดอลลาร์ ส่วน THAI BAHT FIX 3M (17 เม.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.43054% ส่วน THAI BAHT FIX 6M (17 เม.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.56345%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เช้านี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 109.00/02 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 108.30/35 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0648/0652 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0620/0628 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.2670 บาท/
ดอลลาร์
  • China Foreign Exchange Trading System (CFETS) รายงานว่า เงินหยวนอ่อนค่าลง 0.64% แตะที่
6.8849 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐในวันนี้
  • กระทรวงการคลังสหรัฐ เผยจีนได้เพิ่มสัดส่วนการถือครองพันธบัตรสหรัฐในเดือน ก.พ.หลังจากที่ลดการถือครองลง
7.3 พันล้านดอลลาร์เมื่อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา โดยจีนถือครองพันธบัตรสหรัฐเพิ่มขึ้น 8.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สู่ระดับ 1.0597
ล้านล้านดอลลาร์ในเดือน ก.พ.ขณะที่ญี่ปุ่นซึ่งแซงหน้าจีนขึ้นเป็นประเทศผู้ถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐสูงที่สุดเมื่อเดือน ต.ค.ที่ผ่าน
มา ได้ถือครองพันธบัตรเพิ่มขึ้น 12.6 พันล้านดอลลาร์ สู่ระดับ 1.1151 ล้านล้านดอลลาร์ในเดือน ก.พ.
  • ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (17 เม.ย.) เนื่องจากนักลงทุนคลายความวิตกกังวลสถานการณ์
เกาหลีเหนือ หลังจากที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของสหรัฐระบุว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จะยังไม่พิจารณาการใช้ปฏิบัติการทาง
ทหารตอบโต้เกาหลีเหนือในขณะนี้ นอกจากนี้ตลาดยังได้แรงหนุนจากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีนที่ขยายตัวอย่าง
แข็งแกร่งในไตรมาส 1/2560 โดยดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 20,636.92 จุด พุ่งขึ้น 183.67 จุด หรือ +0.90% ขณะที่
ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,349.01 จุด เพิ่มขึ้น 20.06 จุด หรือ +0.86% และดัชนี NASDAQ ปิดที่ 5,856.79 จุด เพิ่มขึ้น 51.64
จุด หรือ +0.89%
  • ตลาดหุ้นยุโรปปิดทำการวันจันทร์ที่ 17 เม.ย. เนื่องในวัน Easter Monday
  • ตลาดหุ้นลอนดอนปิดทำการวันจันทร์ที่ 17 เม.ย. เนื่องในวัน Easter Monday
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (17 เม.ย.) จากความกังวลเกี่ยวกับการเพิ่ม
กำลังการผลิตน้ำมันของสหรัฐ หลังจากมีรายงานว่าจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันที่มีการใช้งานในสหรัฐเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 13
นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังปรับตัวลดลงหลังจากรัฐมนตรีพลังงานของซาอุดิอาระเบียกล่าวว่า ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะมีการหารือกัน
เกี่ยวกับการขยายเวลาในการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมัน โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค. ลดลง 53 เซนต์ หรือ 1% ปิด
ที่ 52.65 ดอลลาร์/บาร์เรล ขณะที่สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 53 เซนต์ หรือ 1% ปิดที่ 55.36 ดอลลาร์/
บาร์เรล
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (17 เม.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ รวม
ทั้งการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ หลังการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่
ซบเซา ซึ่งรวมถึงยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.ที่ปรับตัวลงมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดยสัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity
Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 3.4 ดอลลาร์ หรือ 0.26% ปิดที่ระดับ 1,291.90 ดอลลาร์/ออนซ์
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้

(17 เม.ย.) เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซาของสหรัฐได้ส่งผลให้เกิดกระแสคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะ

ชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ นอกจากนี้ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลียังส่งผลให้นักลงทุน

เทขายดอลลาร์ และหันไปถือครองสกุลเงินที่มีความปลอดภัย ซึ่งรวมถึงเงินเยน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ