ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 33.28 ทรงตัวจากวานนี้ ยังไร้ปัจจัยใหม่ มองกรอบเคลื่อนไหววันนี้ 33.25-33.35

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday August 3, 2017 09:12 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 33.28 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวในระดับ เดียวกับปิดตลาดเย็นวานนี้ เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดเข้ามา

"เช้านี้บาททรงตัวเท่าเย็นวานนี้ แม้จะมีปัจจัยหนุนดอลลาร์จากเรื่องตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนที่ออกมาดี แต่มีการแสดง ความเห็นของกรรมการเฟดบางคนที่ไม่เห็นด้วยกับการปรับขึ้นดอกเบี้ยเป็นปัจจัยลบต่อดอลลาร์" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินกรอบเงินบาทวันนี้ไว้ที่ 33.25-33.35 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เช้านี้เงินเยนอยู่ที่ 110.73 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 110.74 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ 1.1847 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1835 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 33.3120 บาท/
ดอลลาร์
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยครึ่งปีแรกทุนยังไหลออกลงทุนต่างประเทศสุทธิ 4.5 แสนล้าน แบงก์คาดทุน
ระยะสั้นไหลเข้ากดบาทแข็งค่าหลุด 33 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
  • ธปท.ออกประกาศกำหนดแผนการขายพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือน ส.ค. 2560
โดยจะออกขายพันธบัตรรุ่น พ.31/14/60 อายุ 14 วัน รวมวงเงิน 2 หมื่นล้านบาท เปิดขายในวันที่ 4 ส.ค.นี้
  • องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร กรุงเทพฯ) เปิดเผยผลการสำรวจแนวโน้มเศรษฐกิจของ
บริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในประเทศไทยช่วงครึ่งหลังของปี 2560 บริษัทสมาชิกหอการค้าญี่ปุ่นต่างระบุว่า ดัชนีแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปรับตัวดี
ขึ้นอยู่ที่ระดับ 26 ถือว่าสูงสุดในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา
  • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของอังกฤษ (NIESR) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจของอังกฤษมีแนวโน้มขยายตัว
1.7% ในปีนี้ และ 1.9% ในปีหน้า
  • ออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) และมูดี้ส์ อนาลิติกส์ รายงานว่า การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐเพิ่ม
ขึ้น 178,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. ซึ่งแม้จะต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 185,000 ตำแหน่ง แต่ก็บ่งชี้ว่า ตัวเลขจ้าง
งานภาคเอกชนยังคงมีการขยายตัวได้ดี โดยรายงานดังกล่าวได้หนุนดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักบางสกุล
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลปอนด์และยูโร ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (2 ส.
ค.) ขณะนักลงทุนกำลังจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐเพื่อหาปัจจัยบ่งชี้ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มปรับลดงบดุล
บัญชีเมื่อใด และเฟดจะดำเนินการปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งในปีนี้หรือไม่ หลังข้อมูลเงินเฟ้อที่มีการเปิดเผยล่าสุดยังคงอ่อนแอและเคลื่อน
ไหวต่ำกว่าระดับเป้าหมายของเฟด โดยยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1868 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1810
ดอลลาร์ ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเยน ที่ระดับ 110.56 เยน จากระดับ 110.23 เยน
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (2 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่
ปลอดภัย หลังจากดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กทะยานขึ้นเหนือระดับ 22,000 จุดเป็นครั้งแรก อย่างไรก็ตาม การอ่อนค่าของสกุล
เงินดอลลาร์ได้สกัดแรงลบในตลาด และช่วยให้สัญญาทองคำปิดขยับลงเพียงเล็กน้อย
  • ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาคลีฟแลนด์ กล่าวว่า เฟดไม่ควรจะมีปฏิกริยามากเกินไปต่อตัวเลขเงินเฟ้อ
ที่อ่อนแอ ขณะที่จะมีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวก่อนการประชุมเฟดในเดือนก.ย. ซึ่งจะช่วยสร้างความกระจ่างว่าความอ่อนแอของตัว
เลขเงินเฟ้อเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวหรือไม่
  • นักลงทุนจับตาการประชุมกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) โดย BoE อาจตัดสินใจปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 10 ปี ขณะเดียวกัน BoE จะเปิดเผยรายงานภาวะเงินเฟ้อรายไตรมาส ซึ่งมีการคาดการณ์กัน
ว่า BoE จะปรับเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อ และจะปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจอังกฤษ หลังการเติบโตที่อ่อนแอในช่วงต้น
ปี
  • นักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนก.ค.ในวันพรุ่งนี้ เวลา 19.30 น.ตามเวลาไทย โดยนัก
วิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานเดือนก.ค.จะเพิ่มขึ้นราว 180,000 ตำแหน่ง และคาดว่าอัตราว่างงานเดือนก.ค.จะลดลงมา
อยู่ที่ระดับ 4.3% จากระดับ 4.4% ในเดือนมิ.ย.

ทั้งนี้ ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรถือเป็นหนึ่งในข้อมูลที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดย แถลงการณ์ในการประชุมครั้งล่าสุดเมื่อเดือนก.ค.ที่ผ่านมาบ่งชี้ว่า เฟดกำลังจับตาความเคลื่อนไหวของตลาดแรงงานอย่างใกล้ชิด เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปและการปรับลดงบดุลบัญชีในปีนี้

  • นักลงทุนยังรอดูข้อมูลเศรษฐกิจอื่นๆที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์,

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนก.ค. จากมาร์กิต, ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนมิ.ย., ดัชนีภาคการผลิตเดือนก.ค.

จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนก.ค. และดุลการค้าเดือนมิ.ย.


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ