ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 33.27 อ่อนค่าหลังตัวเลขจ้างงานสหรัฐฯดีกว่าคาด หนุนเฟดปรับขึ้นดอกเบี้ย

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 7, 2017 09:23 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 33.27 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่า จากเย็นวันศุกร์ที่ปิดตลาดที่ระดับ 33.24 บาท/ดอลลาร์

"เมื่อคืนวันศุกร์ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯออกมาดีกว่าคาด ทำให้ตลาดเริ่มมีความหวังว่ามีความเป็น ไปได้ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งภายในปีนี้"" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า เงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 33.20 - 33.35 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 110.69 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่อยู่ที่ระดับ 110.06 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1793 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่อยู่ที่ระดับ 1.1879 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 33.2430 บาท/
ดอลลาร์
  • ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทสัปดาห์นี้ (7-11 ส.ค.)ที่ 33.10-33.40 บาทต่อ
ดอลลาร์ฯ โดยจุดสนใจของตลาดน่าจะอยู่ที่ถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางสหรัฐฯ ขณะที่ ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ
ที่สำคัญอื่นๆ ประกอบด้วย ดัชนีราคาผู้บริโภค และดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนก.ค. รวมถึงตัวเลขสต็อกสินค้าภาคค้าส่งเดือนมิ.ย. นอกจาก
นี้ นักลงทุนอาจมีจุดสนใจเพิ่มเติมที่ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศของจีนในเดือนก.ค. ด้วยเช่นกัน
  • ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจธุรกิจและเศรษฐกิจฐานราก ธนาคารออมสิน พบว่า ดัชนี GSI ไตรมาส 2 ปี 2560 อยู่ที่ระดับ
46.3 ปรับลดลงจากไตรมาส 1 ที่อยู่ระดับ 47.2 เนื่องจากประชาชนระดับฐานรากรู้สึกว่าภาวะเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ
ไทยในปัจจุบันยังไม่ฟื้นตัว ราคาสินค้าและค่าครองชีพสูง ทำให้ระมัดระวังการใช้จ่าย
  • ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ได้หารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พิจารณาผ่อนปรนเงื่อนไข
การปล่อยสินเชื่อบุคคลของธนาคารออมสิน หาก ธปท.บังคับใช้เกณฑ์สินเชื่อใหม่ที่ให้ลดวงเงินปล่อยกู้ จะทำให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อย
เข้าถึงสินเชื่อตามนโยบายรัฐลดลงและทำให้ประชาชนที่เป็นหนี้นอกระบบ เข้ามาขอสินเชื่อในระบบไม่ได้ทำให้การแก้หนี้นอกระบบไม่
ประสบความสำเร็จ
  • บริษัทหลักทรัพย์ฟิลลิป (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ขณะนี้นักลงทุนต่างชาติได้ปรับพอร์ตลงทุน ด้วยการขายหุ้นไทย
สุทธิ 8 วันทำการติดต่อกัน (25 ก.ค.-4 ส.ค.) คิดเป็นมูลค่าการขายสุทธิ 16,770 ล้านบาท เนื่องจากเริ่มระมัดระวังการลงทุน
ในหุ้น เพราะกังวลเกี่ยวกับนโยบายลดงบดุล หรือลดขนาดสินทรัพย์ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งผลให้กระแสเงินไหลออกจาก
สินทรัพย์เสี่ยงสูง แล้วหันไปลงทุนในพันธบัตร หรือบอนด์ที่มีความเสี่ยงต่ำแทน ดังนั้นแรงขายของต่างชาติ จึงกดดันดัชนีหุ้นไทยเคลื่อน
ไหวได้ไม่มากนัก
  • สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า สนพ.อยู่ระหว่างทบทวนและปรับปรุงแผน พัฒนากำลังผลิต
ไฟฟ้าของประเทศ (พีดีพี) โดยจะเพิ่มเติมการศึกษาข้อมูลสัดส่วนการ ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนจากเอกชนที่ผลิตไฟฟ้าใช้เองไม่
ขายไฟฟ้าเข้าระบบของการไฟฟ้า (ไอพีเอส) เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้ไฟฟ้าในอนาคต
  • กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ เปิดเผยว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐและญี่ปุ่นจะไม่เปลี่ยนแปลง หลังจากรัฐบาล
ญี่ปุ่นภายใต้การนำของนายชินโซ อาเบะ ได้ปรับคณะรัฐมนตรีเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐ รายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 209,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. ขณะที่
อัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับ 4.3% จาก 4.4% ในเดือนมิ.ย. ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า การจ้างงานจะเพิ่มขึ้น
เพียง 183,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. และอัตราว่างงานจะลดลงสู่ระดับ 4.3%

กระทรวงแรงงานสหรัฐยังได้ทบทวนปรับลดตัวเลขการจ้างงานในเดือนพ.ค. โดยปรับเป็นเพิ่มขึ้น 145,000 ตำแหน่ง จากเดิมที่รายงานว่าเพิ่มขึ้น 152,000 ตำแหน่ง และทบทวนปรับเพิ่มตัวเลขจ้างงานในเดือนมิ.ย. โดยปรับเป็นเพิ่มขึ้น 231,000 ตำแหน่ง จากเดิมที่รายงานว่าเพิ่มขึ้น 222,000 ตำแหน่ง

  • สกุลเงินดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ (4 ส.ค.) ภายหลัง
จากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่สูงกว่าคาด

ยูโรอ่อนค่าเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐ สู่ระดับ 1.1763 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.1869 ดอลลาร์สหรัฐ ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบเยน ที่ระดับ 110.68 เยน จากระดับ 110.17 เยน

  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลดลงเมื่อวันศุกร์ (4 ส.ค.) โดยได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์
สหรัฐ สืบเนื่องจากข้อมูลตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐแข็งแกร่ง
  • สหรัฐจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน ก.ค. ในวันที่ 11 ส.ค.ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่าจะปรับขึ้นมาอยู่ที่

1.8% ต้องรอจับตาดูว่าอัตราเงินเฟ้อสหรัฐจะปรับตัวไปในทิศทางใด และเริ่มเข้าใกล้ เป้าหมายเงินเฟ้อ 2% ของธนาคารกลาง

สหรัฐ (เฟด) หรือไม่


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ