คมนาคม เร่งพัฒนาบุคคลากรด้านระบบขนส่งทางราง คาดอีก 5 ปี ต้องการถึง 3 หมื่นคน

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 7, 2017 15:06 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายพิชิต อัคราทิตย์ รมช.คมนาคม เปิดเผยภายหลังปาฐกถา เรื่อง "โอกาสของการยกระดับศักยภาพของบุคลากรไทยผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งทางราง" ในการประชุม Executive Meeting เพื่อกำหนดความต้องการด้านการพัฒนาบุคลากรและองค์ความรู้ที่สำคัญผ่านเครือข่ายสถาบันวิชาการระบบขนส่งทางรางว่า ได้มีการหารือกับจีนในการร่วมถ่ายโอนเทคโนโลยี ซึ่งจะมีการความร่วมมือในการจัดตั้งบริษัท ร่วมกับ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เพื่อเป็นผู้รับองค์ความรู้ทั้งด้านการเดินรถ (Operation ) และการซ่อมบำรุง (Maintenance) เพื่อให้องค์ความรู้ใสเรื่องรถไฟความเร็วสูงอยู่คู่ รฟท.แบบยั่งยืน

ทั้งนี้ จากการประเมินในอีก 5 ปี ประเทศไทยจะมีความต้องการบุคลากร ในระบบรางจำนวน 3 หมื่นคน ทั้งบุคลากรระดับสูง กลาง ระดับปฎิบัติงาน รองรับองค์ความรู้ เทคโนโลยี ด้านตัวรถ ด้านระบบราง ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบล้อเลื่อน ระบบขับเคลื่อน ระบบควบคุมการเดินรถ

ปัจจุบัน โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ สามารถผลิตบุคลากรได้ประมาณ 300 คน/ปี ส่วนสถาบันการศึกษา ระดับปริญญาเอก มีหลักสูตรที่ ม.มหิดล , ปริญญาโท ที่ม. เกษตรฯ ,ปริญญาตรี มี 5 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ,ลาดกระบัง,เกษตร, หอการค้า,รังสิต ส่วนระดับปวช.ปวส. มีหลายแห่ง รวมๆ ยังอยู่ในหลักพันคน/ปี ซึ่งมทร.ธัญบุรี เป็นผู้ริเริ่มที่จะหารือเพื่อกำหนดกรอบ ในการผลิตบุคลากร ในสถาบันการศึกษาต่างๆ เพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรม เนื่องจาก ในการผลิตบุคลากรนั้นจะต้องมีการลงทุนอุปกรณ์ เครื่องมือ และงานวิจัย จำนวนมาก ซึ่งจะมีความชัดเจนภายใน 6 เดือน


แท็ก คมนาคม  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ