ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.23 แข็งค่าตามสกุลเงินในภูมิภาคจากการนำของหยวน-เม็ดเงินไหลเข้าซื้อพันธบัตร คาดกรอบพรุ่งนี้ 33.20-33.30

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday August 8, 2017 17:40 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 33.23 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่า ต่อจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 33.28 บาท/ดอลลาร์

โดยระหว่างวันเงินบาทแข็งค่าสุดที่ระดับ 33.21 บาท/ดอลลาร์ และอ่อนค่าสุดที่ระดับ 33.30 บาท/ดอลลาร์ แต่ยังไม่ หลุดแนวรับสำคัญที่ระดับ 33.20 บาท/ดอลลาร์ไปได้ ทั้งนี้แม้ตัวเลขการส่งออก-นำเข้าของจีนในเดือนก.ค.ที่ประกาศออกมาวันนี้ จะ ไม่เติบโตในระดับสูงตามที่นักวิเคราะห์ประเมินไว้ แต่ก็ถือว่าน่าพอใจในระดับหนึ่ง ซึ่งส่งผลให้เงินหยวนปรับตัวแข็งค่าขึ้นมากสุดใน บรรดาสกุลเงินในภูมิภาคเอเชีย และยังทำให้ค่าเงินสกุลอื่นๆ ในเอเชียทยอยแข็งค่าขึ้นตามด้วย

ประกอบกับวันนี้ต่างชาติยังซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตรจำนวนมาก โดยระยะสั้นเข้าซื้อ 13,400 ล้านบาท และระยะยาว เข้าซื้อ 7,800 ล้านบาท จึงทำให้เงินบาทยังมีทิศทางแข็งค่า

"วันนี้เงินหยวนแข็งค่าสุดในบรรดาสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชีย เพราะตัวเลขส่งออก-นำเข้ายังอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ซึ่งมี ผลให้เงินสกุลอื่นแข็งค่าตาม แต่บาทก็ยังไม่หลุดแนวรับสำคัญที่ 33.20 เพราะเชื่อว่าแบงค์ชาติคงยันไว้ ไม่ให้หลุดไปจากระดับนี้" นัก บริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.20 - 33.30 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 110.54 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 110.62 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1808 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1819 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,577.44 จุด เพิ่มขึ้น 3.77 จุด (+0.24%) มูลค่าการซื้อขาย 35,859 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 877.65 ลบ.(SET+MAI)
  • ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ในเดือน ก.ค.60 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้
บริโภคอยู่ที่ 73.9 ลดลงจาก 74.9 ในเดือน มิ.ย.60 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ 62.2 ลดลงจาก 63.3 ใน
เดือน มิ.ย.60 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสการหางานทำอยู่ที่ 69.1 ลดลงจาก 70.0 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้
ในอนาคตอยู่ที่ 90.4 ลดลงจาก 91.5

ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือน โดยผู้บริโภค ยังมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความผันผวนสูง, ราคาพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะราคาข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และปาล์มน้ำมัน ยังทรงตัวในระดับต่ำ จากสถานการณ์น้ำท่วมใน หลายพื้นที่ของประเทศ, ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น, ผู้บริโภควิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่ครองชีพและราคาสินค้าที่ยัง ทรงตัวอยู่ในระดับสูง

  • ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่าปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ จะมีมูลค่าความเสียหายราว 9,574 ล้านบาท คิดเป็น 0.064% ของ GDP โดยยังคงยืนยันตัวเลขการเติบโตทาง
เศรษฐกิจในปีนี้ที่ระดับ 3.6% แต่จะมีการพิจารณาปรับตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจดังกล่าวในเดือนหน้า
  • ดัชนีธุรกิจกรุงไทย (KTBI) ในไตรมาสที่ 2/60 ค่อนข้างอ่อนไหว และวกกลับไปลดต่ำกว่าระดับปกติ (50) ที่
ระดับ 49.38 จากระดับ 50.56 ในไตรมาสก่อน เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลด้านกำลังซื้อและความเปราะบางของ
เศรษฐกิจ โดยเฉพาะระดับฐานราก หลังราคาสินค้าเกษตรสำคัญเริ่มชะลอลง อีกทั้งค่าเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่อง ซึ่งอาจส่งผลต่อการ
ส่งออกในระยะถัดไป นอกจากนี้ ยังกังวลต่อการบริหารจัดการแรงงานและต้นทุนการผลิต หลังรัฐบาลเตรียมบังคับใช้กฎหมายแรงงาน
ต่างด้าว โดยกลุ่มธุรกิจที่พบว่ามีความกังวลมากขึ้น ได้แก่ ธุรกิจการเกษตร, ธุรกิจพาณิชยกรรม, ธุรกิจบริการ, ธุรกิจก่อสร้าง และ
ธุรกิจการเงิน-ประกันภัย
  • สำนักงานศุลกากรจีน (GAC) เปิดเผยว่า ยอดส่งออกเดือนก.ค.ปรับตัวขึ้น 11.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี
ก่อน ขณะที่ยอดนำเข้าพุ่งขึ้น 14.7% ทำให้มียอดเกินดุลการค้า 3.212 แสนล้านหยวน (4.78 หมื่นล้านดอลลาร์) เพิ่มขึ้นจากช่วง
เดียวกันของปีก่อน 1.4% ขณะที่ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ยอดส่งออกเพิ่มขึ้น 14.4% ขณะที่ยอดนำเข้าพุ่งถึง 24% ส่งผลให้จีนมี
ยอดเกินดุลการค้าลดลง 14.5%
  • องค์การการค้าโลก (WTO) เปิดเผยว่า ดัชนีชี้วัดแนวโน้มการค้าโลก (WTOI) ล่าสุดบ่งชี้ว่าการค้าโลกมีแนวโน้ม
ขยายตัวต่อเนื่องในไตรมาส 3 ปีนี้ ทั้งนี้ WTO ได้เตือนเกี่ยวกับยอดสั่งซื้อสินค้าเพื่อการส่งออกที่เริ่มส่งสัญญาณซบเซา ซึ่งอาจหมาย
ความว่าการค้าโลกได้ขยายตัวจนถึงจุดสูงสุดแล้ว และมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงในช่วงปลายปีนี้
  • คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นทางธุรกิจของชาวญี่ปุ่นที่ประกอบอาชีพที่มีความอ่อนไหวต่อภาวะเศรษฐกิจ
ปรับตัวลงในเดือนก.ค. ซึ่งหดตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน โดยสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากภาวะขาดแคลนแรงงานในภาคบริการ
โดยดัชนีความเชื่อมั่น diffusion index ซึ่งสะท้อนความเชื่อมั่นในกลุ่มอาชีพที่อ่อนไหวต่อสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน เช่น พนักงานขับ
รถแท็กซี่ และพนักงานร้านอาหารปรับตัวลดลง 0.3 จุด จากเดือนมิ.ย. แตะ 49.7 ในเดือนก.ค.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ