ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.20/23 แข็งค่าเล็กน้อย จับตาเฟดประชุมประจำปี คาดกรอบสัปดาห์หน้า 33.15-33.30

ข่าวเศรษฐกิจ Friday August 18, 2017 17:31 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 33.20/23 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้น เล็กน้อยจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 33.24 บาท/ดอลลาร์

เย็นนี้บาทแข็งค่าขึ้นมาเล็กน้อยจากช่วงเช้า ซึ่งอาจเป็นผลจากความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมืองในสหรัฐฯ ทำให้ ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินบาทสกุล ขณะเดียวกันก็ยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับบางสกุล เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐ ที่ออกมาในช่วงนี้เป็นไปใน 2 ทิศทาง คือ มีทั้งดีและไม่ดีกว่าที่ตลาดคาด ในขณะที่ผู้ว่าฯ ธปท.มองว่าเงินบาทที่แข็งค่าไม่ได้ส่งผล กระทบต่อการส่งออกของไทยมากนัก

"บาทแข็งค่าไม่มากจากช่วงเช้า อาจจะเป็นเพราะปัจจัยการเมืองสหรัฐ ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจก็ยังออกมา mix กัน"
นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน มองว่าเงินบาทมีโอกาสแข็งค่าต่อในสัปดาห์หน้า โดยจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 33.15-33.30 บาท/ ดอลลาร์ และต้องติดตามการประชุมเศรษฐกิจประจำปีของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในช่วงปลายสัปดาห์หน้า

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 109.10/14 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 109.42 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1730/1740 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1731 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,566.53 จุด ลดลง 2.42 จุด (-0.15%) มูลค่าการซื้อขาย 32,222 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 837.17 ลบ.(SET+MAI)
  • ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เตรียมหารือกับภาคเอกชนเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หลังจากกังวลว่าภาวะ
เงินบาทแข็งค่าอาจจะกระทบกับรายได้จากการท่องเที่ยว ซึ่งขณะนี้กระทรวงฯ ได้จับตาสถานการณ์ค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด หลังจาก
แข็งค่าไปแล้วกว่า 7% นับตั่งแต่ต้นปี ซึ่งหากเงินบาทแข็งค่านานเกินไปอาจต้องมีการหารือร่วมกับภาคเอกชน เช่น สมาคมท่องเที่ยว
ต่างๆ ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและหาทางรับมือ
  • ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาคลีฟแลนด์ แสดงจุดยืนสนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แม้เงินเฟ้อยัง
คงเคลื่อนไหวในระดับต่ำก็ตาม โดยระบุว่าแม้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวลงในช่วงที่ผ่านมา แต่เชื่อว่าเงินเฟ้อจะมีเสถียรภาพมากขึ้นเป็น
ลำดับ พร้อมกับระบุว่านโยบายการเงินควรกำหนดขึ้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นจึงไม่ควรมีปฏิกิริยาต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิด
ขึ้นเพียงชั่วคราว
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยว่า ดัชนี CPI ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่สำคัญ ขยับขึ้น 0.1% ในเดือนก.ค. ต่ำ
กว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.2% ส่วนดัชนี CPI พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมราคาในหมวดอาหารและพลังงาน ขยับขึ้น 0.1% ใน
เดือนก.ค. โดยดัชนีขยายตัวที่ระดับ 0.1% เป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ทั้งนี้การที่ดัชนี CPI ปรับตัวขึ้นเพียงเล็กน้อยบ่งชี้ถึงภาวะเงิน
เฟ้อที่ซบเซา ซึ่งอาจส่งผลให้เฟดชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 3 ในปีนี้ หลังจากปรับขึ้นในเดือนมี.ค. และมิ.ย.
  • ธนาคารกลางจีน (PBOC) อัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบติดต่อกันเป็นวันที่ 3 ในวันนี้ ผ่านการดำเนินงานทางตลาดเงิน
(Open Market Operations - OMO) เพื่อบรรเทาภาวะสภาพคล่องตึงตัว โดยวันนี้ธนาคารกลางจีนได้อัดฉีดเงิน 1.2 แสนล้าน
หยวน (ประมาณ 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์) ผ่านทางข้อตกลงซื้อพันธบัตรโดยมีสัญญาขายคืน (reverse repo) ซึ่งเป็นกระบวนการที่
ธนาคารกลางเข้าซื้อหลักทรัพย์จากธนาคารพาณิชย์ด้วยข้อตกลงที่จะขายคืนในอนาคต ซึ่งเมื่อหักข้อตกลง reverse repo ที่ครบ
กำหนด 1 แสนล้านหยวนแล้ว เท่ากับว่าวันนี้แบงก์ชาติจีนได้อัดฉีดเงินเข้าระบบทั้งสิ้น 2 หมื่นล้านหยวน

โดยตลอดทั้งสัปดาห์นี้ ธนาคารกลางจีนได้อัดฉีดเงินสุทธิ 1.1 แสนล้านหยวน ผ่านการทำ OMO หลังจากที่ได้ระบายเงิน ออก 2 สัปดาห์ติดต่อกัน

  • นักลงทุนยังรอดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในวันนี้ โดยมหาวิทยาลัยมิชิแกนจะเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้
บริโภคเบื้องต้นเดือนส.ค.ของสหรัฐ ในเวลา 21.00 น.ตามเวลาไทย
  • นักลงทุนจับตาการประชุมเศรษฐกิจประจำปีของเฟด ซึ่งจะจัดขึ้นที่เมืองแจ็กสัน โฮล รัฐไวโอมิง ในวันที่ 24-26 ส.

ค.นี้ โดยหัวข้อการประชุมในปีนี้คือ "Fostering a Dynamic Global Economy" โดยจะรอฟังว่านางเจนเน็ต เยนเลน

ประธานเฟด จะมีคำปราศรัยเกี่ยวกับเศรษฐกิจของสหรัฐไปในทิศทางใด


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ