ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 33.35 นลท.รอติดตามรายงานการประชุมเฟด-ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯสัปดาห์นี้

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 10, 2017 09:05 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 33.35 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 33.38/39 บาท/ดอลลาร์ หลังมีแรงเทขายดดอลลลาร์ออกมาเพื่อทำกำไร

"บาทแข็งค่าจากเย็นวานนี้หลังมีแรงเทขายดอลลาร์ทำกำไร แต่น่าจะเป็นแค่ปัจจัยชั่วคราว" นักบริหารเงิน กล่าว

ปัจจัยสำคัญที่ตลาดจับตามองในสัปดาห์นี้ ได้แก่ รายงานการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคาร กลางสหรัฐ (FOMC), รายงานตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ และรายงานยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ

นักบริหารเงิน คาดวันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.30-33.40 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เช้านี้เงินเยนอยู่ที่ 112.67 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 112.65 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ 1.7773 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1744 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 33.3990 บาท/

ดอลลาร์

  • ธนาคารกรุงไทย คาดว่าค่าเงินบาทสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.25-33.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แม้การ
คาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในช่วงปลายปีนี้ แต่ตลาดยังกังวลต่อดอลลาร์สหรัฐ ผลจาก
ภาษี การแต่งตั้งประธานเฟดคนใหม่ รวมทั้งโอกาสการเกิดสงครามทั้งตะวันออกกลางและคาบสมุทรเกาหลี ส่งผลให้นักลงทุนยังลังเล
ที่จะเคลื่อนย้ายเงินออกจากตลาดเอเชีย
  • ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยถึงกรณี องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ไอเคโอ) ประกาศ
ปลดธงแดงประเทศไทยว่า ส่งผลให้วางแผนอยากมาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้นตามไปด้วย คาดการณ์ว่าภาพรวมการท่องเที่ยว
ของไทยเติบโตต่อเนื่อง โดยในปี 2565 จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาไทยกว่า 55.14 ล้านคน สร้างรายได้ด้านการท่อง
เที่ยว 3.24 ล้านล้านบาท
  • พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้สั่งให้ทุกส่วนราชการพิจารณาทบทวนและปรับปรุงแผนการใช้จ่ายงบประมาณในการ
ดำเนินโครงการต่าง ๆ ในความรับผิดชอบในปีงบประมาณ 61 โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการลงทุนขนาดใหญ่ และให้พิจารณาการ
ดำเนินโครงการ หรืองานที่สามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ และไม่ก่อให้เกิดภาระผูกพันในปีต่อๆ ไปเป็นลำดับ
แรก เพื่อให้งานบรรลุผลและเกิดประโยชน์กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเป็นรูปธรรมภายในปี 61
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (9 ต.ค.) หลัง
จากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนก.ย.ที่ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่า
ขึ้นหลังจากมีรายงานว่านางเทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เตรียมปรับคณะรัฐมนตรี โดยมีแนวโน้มว่านายบอริส จอห์นสัน รมว.
ต่างประเทศ อาจถูกปลดออกจากตำแหน่ง
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (9 ต.ค.) โดยได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ นอก
จากนี้ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี และการที่ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทอ่อนแรงลงติดต่อกันเป็นวันที่ 2 เมื่อคืนนี้
ยังส่งผลให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
  • สมาชิกคณะกรรมการบริหารของธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวว่า ECB ควรลดวงเงินในการซื้อพันธบัตรตาม
มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ตั้งแต่ปีหน้า พร้อมกับมีเป้าหมายในการยุติการซื้อพันธบัตรในปีหน้าเช่นกัน เนื่องจากปัจจัยที่ได้
กดดันเงินเฟ้อนับเป็นปัจจัยเพียงชั่วคราว

ทั้งนี้ ECB มีกำหนดที่จะทำการตัดสินใจในวันที่ 26 ต.ค.ว่าจะยังคงซื้อพันธบัตรในปีหน้าหรือไม่ ขณะที่เจ้าหน้าที่ ECB ส่งสัญญาณว่าจะมีการปรับลดวงเงินลง แต่จะมีการขยายเวลาในการซื้อพันธบัตรออกไป

  • นายกรัฐมนตรีอังกฤษ กล่าวต่อรัฐสภาอังกฤษว่า ตนคาดหวังว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป
(Brexit) ในช่วงก่อนสิ้นสุดเวลาในการเจรจา 2 ปี ซึ่งในขณะนั้น อังกฤษจะสามารถทราบถึงค่าใช้จ่าย หรือผลประโยชน์ที่อังกฤษ
จะได้รับ

ภาคธุรกิจสามารถให้ความมั่นใจได้ว่าอังกฤษจะมีเวลาในการเปลี่ยนผ่านเป็นเวลา 2 ปี หลังจากที่ผ่านพ้นช่วงการแยก ตัวจากสหภาพยุโรป (Brexit)

  • ธนาคารโลกออกรายงาน ระบุว่า ประเทศไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ถือเป็นศูนย์กลางของแรงงานที่อพยพมาจาก
ประเทศอื่นๆในสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)
  • นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ รายงานการประชุมประจำวันที่ 19-20 ก.ย.
ของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีราคา
ผู้ผลิต (PPI) เดือนก.ย., ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนก.ย., ยอดค้าปลีกเดือนก.ย. และความเชื่อมั่นผู้บริโภคเบื้องต้นเดือน
ต.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ