ภาวะตลาดเงินบาท: เย็นนี้อยู่ที่ 33.26 อ่อนค่าจากช่วงเช้าตามภูมิภาค ตลาดจับตาการเลือกประธานเฟดคนใหม่

ข่าวเศรษฐกิจ Monday October 30, 2017 16:17 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเย็นนี้อยู่ที่ 33.26 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากเปิดตลาด เช้านี้ที่ระดับ 33.21 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าตามภูมิภาคหลังมีแรงเทขายเงินหยวน ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.22- 33.29 บาท/ดอลลาร์

"บาทอ่อนค่าตามเงินหยวนลงไปแตะ 33.28 บาท/ดอลลาร์ ก่อนที่จะมีแรงเทขายทำกำไรออกมาทำให้แข็งค่าขึ้นเล็ก น้อย" นักบริหารเงิน กล่าว

ปัจจัยที่ตลาดจับตามอง ได้แก่ การคัดเลือกประธานธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) คนใหม่

นักบริหารเงิน คาดวันพรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.20-33.35 บาท/ดอลลาร์

ล่าสุด THAI BAHT SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 33.2792 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 113.62 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 113.67 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1632 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1608 ดอลลาร์/ยูโร
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) เผยมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ
33.15-33.55 บาท/ดอลลาร์ ตลาดจะจับตาปฏิกิริยาจากธนาคารกลางทั่วโลกต่อผลการเลือกประธานเฟดคนใหม่ที่จะประกาศอย่าง
เป็นทางการในสัปดาห์นี้ ขณะเดียวกัน ทิศทางตลาดในช่วงนี้จะยังขึ้นอยู่กับตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญชุดใหม่ ซึ่งจะมีผลต่อการปรับสมดุล
นโยบายการเงินของเฟด รวมถึงของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)

ในส่วนตัวเลขเศรษฐกิจไทย ตลาดจะจับตามองทิศทางดัชนีราคาผู้บริโภค แม้เงินเฟ้อน่าจะยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้ นอกจากเฟด ตลาดจะจับตาดูความเคลื่อนไหวของธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) และธนาคารกลางอังกฤษ (บีโออี) ที่จะมีการประชุม ดอกเบี้ยนโยบายในสัปดาห์นี้

  • ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) มีมติอนุมัติเป้าหมายทางการเงินของธนาคาร สำหรับปี 61 ดังนี้ สินเชื่อ เติบโต 5-
7% ,ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ที่ 3.2-3.4%
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.00-1.25% ต่อ
เนื่องในการประชุมรอบเจ็ดของปี 2560 ในวันที่ 31 ต.ค.- 1 พ.ย. 2560 นี้ เพื่อรักษาระดับนโยบายการเงินผ่อนคลายอีกระยะ
และหลีกเลี่ยงในการดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัวในระดับที่มากเกินไป เพื่อป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะเข้ามากระทบการฟื้นตัว
ของเศรษฐกิจ

สำหรับผลต่อประเทศไทย การส่งสัญญาณถึงเส้นทางในการดำเนินนโยบายการเงินที่เป็นปกติมากขึ้นของเฟด คงส่งผลให้ การปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และคงส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ฯ กลับมาแข็งค่า ซึ่งเป็น การช่วยลดแรงกดดันการแข็งค่าของเงินบาทได้บางส่วน

  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ปรับคาดเศรษฐกิจไทยปี 60 ขยายตัวเร่งขึ้นมาที่ 3.8% (ช่วงคาดการณ์
3.6-4.0%) จากคาดการณ์เดิมที่ 3.6% ซึ่งเติบโตจาก 3.2% ในปี 59 ปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากการส่งออกที่ขยายตัวในอัตราสูง
โดยปีนี้คาดว่าส่งออกจะมีอัตราการขยายตัว 8.5% และการลงทุนภาคเอกชนที่มีสัญญาณฟื้นตัวชัดเจน สอดคล้องกับการบริโภคภาค
เอกชนที่ขยายตัวได้ต่อเนื่อง

ส่วนเศรษฐกิจไทยปี 61 มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องที่ 3.8% (ช่วงคาดการณ์ 3.3-4.3%) โดยมีการใช้จ่ายภาครัฐเป็น แรงขับเคลื่อนสำคัญ

  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังในเดือนก.ย.60 ว่า เศรษฐกิจไทยมีสัญญาณ
ของการขยายตัวแบบกระจายตัวมากขึ้นจากเดือนก่อนหน้าทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนที่มีการขยายตัวใน
อัตราเร่งมากขึ้น ส่วนด้านอุปทานยังขยายตัวได้ดีทั้งผลผลิตสินค้าเกษตรและจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ
  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยรายงานดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ประจำเดือน ต.
ค.60 ว่า ดัชนีคาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้าอยู่ในระดับที่ดีขึ้นกว่าเดือนก่อนในทุกภูมิภาค นำโดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง
และภาคเหนือ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคบริการและการลงทุนภายในแต่ละภูมิภาค เป็นสำคัญ
  • สำนักงานสถิติเยอรมนี (FSO) เปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเดือนก.ย.ของเยอรมนี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.5% เมื่อเทียบกับ
เดือนก่อนหน้า โดยเพิ่มขึ้นน้อยกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่คาดไว้ว่าจะขยายตัว 0.7%
  • รัฐมนตรีช่วยกระทรวงคลังของจีน เปิดเผยว่า การขายตราสารหนี้สกุลเงินดอลลาร์เป็นครั้งแรกในรอบ 13 ปีของ
จีน จะช่วยเปิดกว้างภาคการเงินของประเทศ
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้เปิดฉากการประชุมซึ่งจัดขึ้นเป็นเวลา 2 วันแล้วในวันนี้ โดยคาดว่าคณะกรรมการ

บริหารของธนาคารกลางญี่ปุ่น จะปรับลดการคาดการณ์เงินเฟ้อของปีงบประมาณปัจจุบัน ในขณะที่อัตราการเติบโตของค่าจ้างยังคงอยู่

ในภาวะที่จำกัด และการใช้จ่ายภาคครัวเรือนยังคงอยู่ในภาวะที่ซบเซา ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของราคา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ