(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 33.37 แข็งค่าจากวานนี้ รับเม็ดเงินไหลเข้าตลาดหุ้น มองกรอบวันนี้ 33.30-33.45

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 25, 2018 14:37 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 33.37 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็ง ค่าจากปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ 33.41 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากช่วงนี้มีเงินทุนต่างประเทศไหลกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์

"บาทแข็งค่าจากเย็นวานนี้ หลังมี flow ไหลกลับเข้ามาในตลาดหุ้นต่อเนื่องสามวันแล้ว แม้จะมีปริมาณไม่มากนัก" นัก
บริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ไว้ที่ 33.30-33.45 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (24 ก.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.40406% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.45764%

SPOT ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 33.3900 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 111.28 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ 111.12 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1684 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี้ที่ 1.1695 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 33.4590 บาท/
ดอลลาร์
  • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้สถาบันการเงินยังไม่สามารถ
ประเมินความเสี่ยงของธุรกิจเอสเอ็มอี ทำให้เอสเอ็มอีเข้าถึง สินเชื่อได้ยากและน้อยมาก พบว่าปัจจุบันมีเอส เอ็มอีเพียง 17%
หรือ 5.2 แสนราย จากทั้งระบบกว่า 3 ล้านราย ที่เข้าถึงสินเชื่อ และเอสเอ็มอีบริษัทที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปีเข้าถึงสินเชื่อได้ยากสุด
เพราะมีสินทรัพย์ถาวรต่ำ ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ดังนั้น ภาครัฐต้องตระหนักถึงปัญหาการเข้าใจข้อมูลที่ไม่ตรงกันทั้งฝ่ายสถาบันการ
เงินและ เอสเอ็มอี อาจใช้นโยบายแบบ Bottom-up ให้เอสเอ็มอีนำเสนอข้อมูลประกอบการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินได้เองว่า
ข้อมูลใดที่จะสะท้อนถึงความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ประกอบการ
  • ธปท.คาดแก้ไขกฎหมายเพิ่มอำนาจกำกับแบงก์รัฐเสร็จทันสิ้นปีนี้ ก่อนมีการเลือกตั้ง ผู้ช่วยผู้ว่าการแบงก์ชาติยันออก
เกณฑ์กำกับ SFIs ไม่เข้มเหมือนธนาคารพาณิชย์-พิจารณาตามพันธกิจแบงก์รัฐแต่ละแห่ง ด้านแบงก์รัฐแนะพิสูจน์ความผิดองค์กรก่อนจึง
สอบสวนบุคคล พร้อมเปิดโอกาส ผู้บริหารชี้แจงกรณีถูกสอบ
  • บอร์ดบีโอไอโชว์ผลงาน จัดแพ็กเกจให้สิทธิประโยชน์กระชากเม็ดเงินลงทุนค่ายรถกว่า 50,000 ล้านบาท ญี่ปุ่น
ยุโรปแข่งเดือด ไม่มีใครถอย ฮอนด้าระบุจัดเต็มทุกแพ็กเกจรวมถึงแบตเตอรี่ ฟากนิสสันเร่งเครื่องส่งอี-พาวเวอร์ทำตลาด ทัพยุโรป
ดาหน้าปลั๊ก-อิน ไฮบริด และอีวี
  • China Foreign Exchange Trading System (CFETS) รายงานว่า เงินหยวนอ่อนค่าลง 1.49% แตะ
6.804 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐในวันนี้
  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ออกรายงานระบุว่า ดอลลาร์มีมูลค่าสูงเกินไป ขณะที่หยวนมีมูลค่าสอดคล้อง
กับปัจจัยพื้นฐาน

รายงานระบุว่า ค่าเงินหยวนดิ่งลงอย่างมากในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากนักลงทุนกังวลต่อความขัดแย้งทาง การค้าระหว่างสหรัฐและจีน

  • ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการ
ผลิตเบื้องต้นเดือนก.ค.ของสหรัฐ อยู่ที่ 55.5 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน จากระดับ 55.4 ในเดือนมิ.ย. ส่วนดัชนี PMI
ภาคบริการเบื้องต้นเดือนก.ค. อยู่ที่ 56.2 ซึ่งแม้ว่าชะลอตัวลงจากระดับ 56.5 ในเดือนมิ.ย. แต่ดัชนีที่ดัชนียังคงอยู่สูงกว่าระดับ
50 บ่งชี้ว่าภาคบริการของสหรัฐยังคงมีการขยายตัว
  • รัฐบาลสหรัฐมีแผนที่จะให้ความช่วยเหลือคิดเป็นวงเงิน 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการที่
ประเทศอื่นเรียกเก็บภาษีศุลกากรต่อสินค้าเกษตรของสหรัฐเพื่อตอบโต้มาตรการทางภาษีของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์
  • ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (24 ก.
ค.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ผันผวน ซึ่งรวมถึงดัชนีราคาบ้านที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าการคาดการณ์ ขณะที่เงินเยนแข็งค่าเมื่อ
เทียบกับดอลลาร์ อันเนื่องมาการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะลดการใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงิน
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (24 ก.ค.) เนื่องจากการพุ่งขึ้นของดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กส่งผล
ให้นักลงทุนบางส่วนเทขายทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย อย่างไรก็ตาม สัญญาทองคำขยับลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากการ
อ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ช่วยหนุนตลาดในระหว่างวัน
  • นักลงทุนจับตาธนาคารกลางยุโรป (ECB) เตรียมจัดการประชุมนโยบายการเงินและแถลงมติอัตราดอกเบี้ยในวันพรุ่ง
นี้
  • ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญด้านอื่นๆของสหรัฐซึ่งมีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ยอดขายบ้านใหม่เดือนมิ.ย., จำนวน

ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนมิ.ย., ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส

2/2561 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ