ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.21 แนวโน้มแข็งค่าตามภูมิภาค มองกรอบพรุ่งนี้ 33.15-33.30 จับตาเงินเฟ้อสหรัฐฯ

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 8, 2018 18:00 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดวันนี้ที่ระดับ 33.21 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวจาก ตอนเช้า ระหว่างวันเคลื่อนไหวระหว่าง 33.19-33.25 บาท/ดอลลาร์

"เงินบาทลงไปทดสอบ 33.19 ช่วงก่อนผล กนง.จะออก แต่พอมติออกมา 6:1 คล้ายๆ ผลการประชุมในรอบที่แล้ว ก็มี แรงซื้อดอลลาร์กลับ โดยภาพรวมเงินบาทก็ยังแข็งค่าตามภูมิภาค...ช่วงนี้ดอลลาร์ดูแผ่วเมื่อเทียบกับยูโรและหยวน" นักบริหาร เงิน กล่าว

นักบริหารเงิน กล่าวว่า ปัจจัยต่อไปที่ต้องดูคือตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่จะประกาศวันศุกร์ สำหรับวันพรุ่งนี้คาดว่า กรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทน่าจะอยู่ระหว่าง 33.15-33.30 บาท/ดอลลาร์

*ปัจจัยสำคัญ

  • เงินเยนอยู่ที่ 111.90 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 111.38 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.1598 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 1.1603 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,721.64 จุด เพิ่มขึ้น 14.38 จุด, +0.84% มูลค่าการซื้อขาย 54,335.51 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 2,921.72 ลบ.(SET+MAI)
  • คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กนง. มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ย
นโยบายไว้ที่ 1.50% ต่อปี โดย 1 เสียงดังกล่าวเห็นควรให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% เป็น 1.75% ต่อปี
  • ที่ประชุม กนง.ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ตามแรงส่งจากอุปสงค์ทั้งในและต่าง
ประเทศ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีทิศทางเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ภาวะ
การเงินโดยรวมยังอยู่ในระดับผ่อนคลายและเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพระบบการเงินโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ต้อง
ติดตามความเสี่ยงที่อาจสะสมความเปราะบางในระบบการเงินได้ในอนาคต โดยเฉพาะจากภาวะการเงินที่ผ่อนคลายเป็นเวลานาน
ขณะที่นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายในระดับปัจจุบัน มีส่วนช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจและสอดคล้องกับกรอบเป้าหมายเงิน
เฟ้อ กรรมการส่วนใหญ่จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้
  • นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่าดัชนี
ความสามารถในการแข่งขันของ SMEs ไตรมาส 2/61 อยู่ที่ระดับ 48.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.3 จุด เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา
โดยเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องนับจากไตรมาส 3/60 เป็นต้นมา และคาดว่าไตรมาส 3/61 จะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 48.7 โดย
ประเด็นที่ผู้ประกอบการควรเฝ้าระวัง ได้แก่ ค่าเงินบาทยังมีความผันผวน แม้ว่าจะยังทรงตัวในทิศทางอ่อนลง, ราคาน้ำมันยังทรงตัว
อยู่ในระดับสูงและมีแนวโน้มสูงขึ้นหากสหรัฐฯ คว่ำบาตรอิหร่าน, สงครามทางการค้ายังไม่สิ้นสุด ระดับราคาพืชผลทางการเกษตรยัง
ทรงตัวต่ำ, กำลังซื้ออาจจะยังไม่ได้ฟื้นตัวเร็ว และปัญหาความสามารถในการเข้าถึงสินเชื่อของผู้ประกอบการ
  • นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและกลางย่อม (สสว.) เผยผล
สำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคการค้าและบริการ (Trade & Service Sentiment Index: TSSI) เดือน มิ.ย.61
อยู่ที่ระดับ 97.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ค.61 และเพิ่มขึ้นจากเดือน มิ.ย.60 ซึ่งอยู่ในระดับ 96.8 เนื่องจากในช่วงเดียวกัน
ของปีก่อนเกิดภาวะฝนตกหนัก
  • กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ให้ความเห็นต่อผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการ
เงิน (กนง.) ว่า กนง. มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ นับเป็นการตรึงดอกเบี้ยครั้งที่ 26
ภายหลังการลงมติ 6 ต่อ 1 โดยมี 1 เสียงให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นครั้งที่ 3 ติดต่อกันที่มีการลงมติอย่างไม่เป็นเอกฉันท์ ส่งผลให้
เงินบาทซื้อขายอยู่ใกล้ระดับ 33.22 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากระดับซื้อขายในช่วงเช้า

พร้อมกันนี้ยังคงมองว่า กนง.จะปรับสมดุลนโยบายการเงิน และปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเป็น 1.75% ก่อนสิ้นปีนี้ จาก ปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวมากขึ้น


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ