ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.28 แข็งค่าจากช่วงเช้าสอดคล้องภูมิภาค ตลาดจับตาสถานการณ์การค้าสหรัฐฯเพิ่มเติม

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday August 16, 2018 17:31 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 33.28 บาท/ดอลลาร์ จาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 33.30 บาท/ดอลลาร์

เย็นนี้เงินบาทปรับตัวแข็งค่าจากช่วงเช้าเล็กน้อย ระหว่างวันเงินบาททำ low สุดที่ระดับ 33.20 บาท/ดอลลาร์ และ ทำ high สุดที่ระดับ 33.36 บาท/ดอลลาร์ ทั้งนี้เงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นตามสกุลเงินหยวนของจีน และมีส่วนทำให้สกุลเงินอื่นๆ ใน ภูมิภาคปรับตัวแข็งค่าตาม ยกเว้นเงินริงกิตของมาเลเซีย

ทั้งนี้ ยังคงต้องจับตาความเคลื่อนไหวของสหรัฐฯ ว่าจะมีมาตรการทางการค้าตอบโต้กับประเทศอื่นใดเพิ่มเติมอีกหรือไม่

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.20-33.40 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 110.81 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 110.79 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1367 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1369 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,680.96 จุด เพิ่มขึ้น 4.67 จุด, +0.28% มูลค่าการซื้อขาย 57,763.90 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 3,109.10 ล้านบาท(SET+MAI)
  • ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจ และเศรษฐกิจฐานราก ธนาคารออมสิน คาดว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ของปี
2561 จะขยายตัวต่อเนื่องที่ 4.6% และตลอดทั้งปี 2561 คาดว่าจะขยายตัวเร่งขึ้นอยู่ที่ 4.6% ปรับเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ขยายตัวอยู่ที่
3.9% เป็นผลจากแรงส่งของภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวที่คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่อง ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้ง
ด้านการใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐที่จะช่วยให้การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนมีการปรับตัวดีขึ้น
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) เปิดเผยว่า หลังจากที่ธนาคารได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านไปแล้วไม่ส่งผล
กระทบต่อการปล่อยสินเชื่อของธนาคารให้ลดลงแต่อย่างใด เพราะเป็นการปรับขึ้นตามปกติหลังจากที่ลูกค้าแต่ละรายครบกำหนดระยะ
เวลาโปรโมชั่นแคมเปญที่ธนาคารกำหนดไว้ และมองว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารและธนาคารพาณิชย์อื่นจะไม่ส่งผลกระทบ
ต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของประชาชน เพราะอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นการปรับขึ้นเพียงเล็กน้อยเฉลี่ย 5-10
สตางค์ แต่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้รายย่อย (MRR) ของธนาคารยังคงที่ เพราะคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ยังไม่ปรับอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้น
  • ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ระบุว่า โอกาสที่วิกฤติการเงินตุรกีจะส่งผลกระทบต่อ
ไทยมีจำกัด เนื่องจากสัดส่วนการส่งออกไทยไปยังตุรกีมีน้อย และพื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังคงแข็งแกร่ง
  • ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส สายงาน Global Business Development and Strategy ธนาคารกรุงไทย
(KTB) ประเมินสถานการณ์ค่าเงินลีราของตุรกีที่อ่อนค่าลง 40.8% เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ว่า มีโอกาสน้อยที่จะลุกลามไป
ยังประเทศอื่นๆ เหมือนวิกฤตการเงินปี 2540 เนื่องจากเศรษฐกิจของตุรกีไม่ได้เชื่อมโยงกับประเทศอื่นๆมากนัก และหากลุกลามก็จะ
กระทบประเทศในกลุ่มยูโรโซน
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ผลกระทบโดยตรงต่อภาคการเงินของไทยจากความเสี่ยงในตุรกีขณะนี้ยังอยู่ในขอบ
เขตจำกัด แต่จะติดตามพัฒนาการของวิกฤตในตุรกีเพื่อประเมินระดับความรุนแรงและความเป็นไปได้ของผลกระทบทางอ้อมระลอก
ต่อๆ ไปที่อาจจะเกิดขึ้นจากความเชื่อมโยงของภาคธนาคารในยุโรปกับตุรกี
  • ทำเนียบขาวเปิดเผยว่า สหรัฐจะไม่ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรสินค้าประเภทเหล็กและอลูมิเนียมแก่ตุรกี
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐ กล่าวว่า มาตรการขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กจากจีนและประเทศอื่นๆ จะช่วยฟื้นฟู

อุตสาหกรรมเหล็กสหรัฐและคาดว่า ในอนาคต สภาพการแข่งขันที่บริษัทในสหรัฐจะต้องเผชิญนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการแข่งขันภายใน

ประเทศ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ