ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.44/45 แข็งค่ากว่าภูมิภาค หลังกนง.คงดอกเบี้ยตามคาด แต่เสียงแตกเพิ่ม

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 19, 2018 17:39 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 32.44/45 บาท/ดอลลาร์ จากช่วง เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 32.55 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นภายหลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 5:2 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ไว้ที่ 1.50% ซึ่งในรอบนี้ถือว่ามีกรรมการ 2 เสียงที่ต้องการให้ขึ้นดอกเบี้ย จากการประชุมในรอบก่อนๆ ที่มีเพียง 1 เสียง ทำให้ ตลาดเริ่มเห็นสัญญาณของโอกาสที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากขึ้นภายในปีนี้ จึงทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นในวันนี้

"พอผลประชุม กนง.ออกมา 5: 2 ว่าให้คงดอกเบี้ย เงินบาทก็ปรับแข็งค่าขึ้นเกือบทันที เพราะมันเป็นสัญญาณที่ไม่เคยมี มาก่อน จากเดิมที่การประชุมครั้งผ่านๆ มาแค่ 6:1 แต่พอเสียงแตกเพิ่มขึ้น จึงทำให้มองว่ามีแนวโน้มมากขึ้นที่ กนง.จะปรับขึ้น ดอกเบี้ยภายในปีนี้" นักบริหารเงินระบุ

ทั้งนี้ เงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นมากกว่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค โดยวันนี้สกุลเงินในภูมิภาคส่วนใหญ่ยังทรง ตัว

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.35-32.55 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 112.33 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 112.30 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1696 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1659 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,749.80 จุด เพิ่มขึ้น 5.38 จุด (+0.31%) มูลค่าการซื้อขาย 92,395 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,621.87 ลบ.(SET+MAI)
  • ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% ต่อ
ปี โดยกรรมการ 2 เสียง ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็น 1.75% ต่อปี
  • รมว.คลัง ระบุว่า กระทรวงการคลังคงไม่สามารถไปสั่งการเกี่ยวกับการตัดสินใจเรื่องนโยบายอัตราดอกเบี้ยของ
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่จะมีการประชุมกันในวันนี้ได้ เพียงแต่ต้องการให้พิจารณาถึงจังหวะและภาพรวมเศรษฐกิจ
ของประเทศในขณะนี้ด้วยว่าอาจจะยังไม่ใช่ช่วงเวลาเหมาะสมที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ควรจะยืนในระดับเดิมไว้ก่อน
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) คาดว่า การปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกจะเริ่มในเดือนพฤศจิกายน ด้วยปัจจัย
แวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวดีขึ้น การสร้างความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินในอนาคต และแนวโน้มการปรับนโยบาย
การเงินของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ขณะที่ยังต้องจับตาปัจจัยเสี่ยงต่างๆ โดยเฉพาะความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจสหรัฐฯ
  • ธนาคารกรุงไทย (KTB) คาดการณ์ว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายใน
การประชุมในเดือนธันวาคมนี้ 0.25% ต่อปี จากปัจจุบันที่ 1.5% ต่อปี เป็น 1.75% ต่อปี หลังจากในการประชุมวันนี้ กนง.มีมติ 5
ต่อ 2 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% ต่อปี
  • ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ระบุว่า ได้ปรับผลกระทบของสงครามการค้าสหรัฐฯ
และจีนรอบล่าสุดต่อการส่งออกไทยเพิ่มขึ้นจากเดิมที่เคยคาดว่าจะกระทบมูลค่าการส่งออกราว 1.1% เป็น 6.1% ของมูลค่าการส่ง
ออกทั้งหมด ซึ่งสัดส่วนนี้เป็นการสะท้อนเพดานความเสี่ยงด้านสูง
  • คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2561 และ 2562 ในรายงานนโยบายการ
เงินเดือน ก.ย.61 โดยคาดว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (GDP) ปีนี้ จะเติบโตได้ 4.4% เท่ากับประมาณการครั้งก่อน
การส่งออก ขยายตัว 9% การนำเข้า ขยายตัว 16.9% ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 35.4 พันล้านดอลลาร์ ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไป
(CPI) อยู่ที่ 1.1% และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) อยู่ที่ 0.7% การบริโภคภาคเอกชน ขยายตัว 4.2% การลงทุนภาค
เอกชน ขยายตัว 3.7% การอุปโภคภาครัฐ ขยายตัว 2.3% และการลงทุนภาครัฐ ขยายตัว 6.1%

ส่วนในปี 2562 กนง.ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ 4.2% เช่นเดียวกับประมาณการในครั้งก่อน โดยการส่ง ออกขยายตัวลดลงจากปีนี้ ลงมาอยู่ที่ 4.3% การนำเข้า ขยายตัว 5.6% ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 36.3 พันล้านดอลลาร์ ส่วนอัตรา เงินเฟ้อทั่วไป อยู่ที่ 1.1% อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน อยู่ที่ 0.8% การบริโภคภาคเอกชน ขยายตัว 3.7% การลงทุนภาคเอกชน ขยาย ตัว 4.5% การอุปโภคภาครัฐ ขยายตัว 2.2% และการลงทุนภาครัฐ ขยายตัว 7.7%

  • นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการมอบนโยบายการทำงานให้ผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์
ว่า ได้มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์เตรียมการดูแลการส่งออกสินค้าไทย หากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนยืดเยื้อและรุนแรง
มากขึ้น โดยนอกจากการส่งออกสินค้าแล้ว กระทรวงพาณิชย์ต้องเน้นเรื่องธุรกิจบริการให้มากขึ้น เพราะถือเป็นภาคใหญ่และมีความ
สำคัญต่อเศรษฐกิจไทย รวมถึงจะต้องเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มรายได้จากการส่งออกสินค้าและธุรกิจบริการ
  • ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้ประกอบการประจำ
เดือน ส.ค. 61 โดยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 92.5 ปรับตัวลดลงจาก 93.2 ในเดือน ก.ค. 61 สาเหตุจาก
ปัจจัยด้านฤดูกาล เนื่องจากมีฝนตกต่อเนื่องและน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ทำให้กระทบต่อกำลังซื้อในส่วนภูมิภาคส่งผลให้ยอดขายชะลอตัว
  • ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้เปิดเผยในระหว่างการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนในวันนี้ว่า การใช้นโยบายผ่อน
คลายการเงินแบบเชิงรุก ยังคงจำเป็นต่อการบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2%
  • ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐและจีนว่า "นโยบาย
กีดกันการค้าไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆที่ทำสงครามการค้าต่อกันและกันเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่ว
โลก ผ่านทางห่วงโซ่อุปทาน เราจึงจับตาดูสถานการณ์ดังกล่าวด้วยความกังวล
  • นายกรัฐมนตรีจีน กล่าวในการประชุมเวิลด์ อิโคโนมิค ฟอรั่ม ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองเทียนจีนในวันนี้ว่า จีนจะไม่ลดค่าเงิน
หยวน เพื่อกระตุ้นการส่งออกของประเทศ
  • มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส รายงานว่า การอ่อนค่าลงของเงินหยวนนั้น จะไม่ส่งผลกระทบต่อสินเชื่อของจีนในขณะ
นี้ แต่เงินหยวนจะยังคงผันผวนต่อไปอีกระยะ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ