บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ ประกาศในปี 63 ก้าวขึ้นเป็นอันดับหนึ่งตลาดอาเซียน จากการเติบโตธุรกิจในกลุ่มที่กระจายการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะในเมียนมา และ เวียดนาม ที่คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตสูงสุด จากภาวะเศรษฐกิจเติบโตมากกว่าไทยเท่าตัว ขณะเดียวกันตั้งเป้าสัดส่วนรายได้จากธุรกิจในอาเซียนจะมีสัดส่วนเพิ่มมาเป็น 50% จากปัจจุบันอยุ่ที่ 36% ขณะที่ตั้งงบลงทุนในช่วงปี 62-63 ปีละ 5 พันล้านบาทเป็นงบปกติ และคาดว่าจะไม่มีการเข้าซื้อกิจการขนาดใหญ่ โดยจากนี้ไปจะเร่งสร้างรายได้และกระแสเงินสดจากธุรกิจที่ซื้อเข้ามา และเร่งใช้คืนเงินกู้เดิมราว 2 แสนล้านบาทก่อน
นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ กล่าวว่า ธุรกิจเบียร์จะเป็นธุรกิจเติบโตมาก โดยเฉพาะในเวียดนาม และเมียนมา ซึ่งทั้งสองประเทศมีตัวเลขเศรษฐกิจเติบโตเฉลี่ย 7%ขณะที่เศรษฐกิจไทยโต 4.3-4.5%ในปีนี้
ทั้งนี้ ในเมียนมาบริษัทได้ลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตเบียร์ ขนาดกำลังการผลิต 50 ล้านลิตร/ปี ด้วยเงินลงทุน 56 ล้านหรียญ คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน ก.ย.62 และเริ่มผลิตและขายในเดือนต.ค.62 หลังจากเข้าซื้อกิจการกิจการ Grand Royal Whisky สุราอันดับหนึ่งในเมียนมา ด้วยงบลงทุน 730 ล้านเหรียญ
ส่วนในเวียดนาม บริษัทใช้โรงงานเดิมหลังจากเข้าซื้อกิจการ บริษัท ไซง่อน เบียร์ แอลกอฮอล์ เบฟเวอเรจ คอร์เปอเรชั่น หรือ ซาเบโก้ (Sabeco) ซึ่งเป็นอันดับหนึ่งในตลาดเบียร์ของเวียดนาม ด้วยสัดส่วนถือหุ้น 53.59% มูลค่า 4.7 พันล้านเหรียญ
ปัจจุบัน กลุ่มไทยเบฟฯ มีส่วนแบ่งตลาดเบียร์ 23-24% ในตลาดอาเซียนที่มีมุลค่าตลาดรวมราว 1.1 หมื่นล้านเหรียญ โดยมีแบรนด์หลักๆ ได้แก่ เบียร์ช้าง ซาเบโก เป็นต้น เป็นแบรนด์ที่ผลักดันยอดขายเป็นหลัก โดยตลาดเบียร์ในเวียดนาม มียอดขาย 3 หมื่นล้านลติร ส่วนในเมียนมา มียอดขาย 400 ล้านลิตร
นายฐาปน กล่าวว่า ภายในปี 63 (ปี ค.ศ.2020) ตั้งเป้ารายได้หรือยอดขายในอาเซียนเพิ่มขึ้นเป็น 50% ส่วนตลาดในไทย 50% จากปัจจุบันตลาดอาเซียนมีสัดส่วน 36% ซึ่งเป็นไปตามที่บริษัทคาดหวัง ส่วนตลาดในไทยมีสัดส่วน 60% และตลาดต่างประเทศที่นอกเหนืออาเซียน 4%
"ภาพรรวมธุรกิจไทยเบฟมองตลาดอาเซียนเป็นหลัก โดยเฉพาะ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียมมาและเวียดนาม)ที่มีประเทศไทยอยู่ใจกลาง เพราะเศรษฐกิจในกลุ่มอาเซียนเติบโตดีมาก เป็น Growth Market เป็นโอกาสของธุรกิจ โดยเฉพาะตลาดเวียดนามและเมียนมา เป็นตลาดที่มีโอกาสเติบโตมาก เศรษฐกิจเขาเติบโตกว่าไทย แล้วเราก็เข้าไปถูกเวลา"ทั้งนี้ กลุ่ม CLMV และไทย รวมประชากรราว 300 ล้านคน ส่วนตลาดอาเซียนมีประชากร 600 กว่าล้านคน และในปี 73 (ปี ค.ศ. 2030) คาดว่าจะเป็นเขตเศรษฐกิจที่เติบโตเป็นอันดับ 4 ของโลก
นายฐาปน กล่าวว่า จากนี้ไปจะไม่มีการลงทุนการซื้อกิจการขนาดใหญ่ อาจจะมีซื้อกิจการขนาดกลางหรือเล็กบ้าง และจะระมัดระวังในการลงทุนมากขึ้น โดยตั้งงบลงทุนปี 62-63 ปีละ 5 พันล้านบาทเป็นงบปกติ ขณะที่จะเร่งสร้างรายได้และเพิ่มกระแสเงินสดหลังจากที่ได้ซื้อกิจการมาในช่วงที่ผ่านมา
พร้อมกันนั้น กล่มไทยเบฟ จะเร่งใช้คืนเงินกู้เดิมที่มีราว 2 แสนล้านบาท ซึ่งปัจจุบันมีอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุน (Net debt/Equity) ที่ 1.56 เท่า โดยในปี 61 ได้ออกหุ้นกู้มา 2 ครั้งแล้วเพื่อปรับอายุหนี้เป็นระยะยาวมากขึ้น โดยรอบแรกในเดือน มี.ค.ออกหุ้นกู้วงเงิน 5 หมื่นล้านบาท อายุเฉลี่ย 6 ปี และรอบสองเมื่อในเดือน ก.ย.ออกหุ้นกู้วงเงิน 7.7 หมื่นล้านบาท อายุเฉลี่ย 5 ปี
ในช่วง 9 เดือนปี 61 ธุรกิจหลักของไทยเบฟฯ ในไทย คงอยู่ในธุรกิจเหล้า สัดส่วน 47.4% ธุรกิจเบียร์ สัดส่วน 40.1% ธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ มีสัดส่วน 7.2% และ ธุรกิจอาหาร 5.4%
"ผมเชื่อมั่นว่าในเปีหน้าที่จะถีงนี้ ไทยเบฟมีความพร้อมที่จะทุ่มเทศักยภาพที่มีอยุ่ในทุกด้าน ในการสร้างความเติบโตอย่างต่อเนื่องจากเครือข่ายธุรกิจในอาเซียนของไทยเบฟ"นายฐาปน กล่าวทั้งนี้ นายฐาปน กล่าวว่า ได้ปรับโครงสร้างองค์กร โดยตนเองจะเข้ารมาดูแลกลุ่มธุรกิจเบียร์เพิ่มด้วยในตำแหน่งผู่บริหารสูงสุดในกลุ่มธุรกิจเบียร์
ด้านนายเอ็ดมอนต์ เนียว คิมซูน รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และผุ้บริหารสูงสุด กลุ่มบริหารการลงทุนตราสินค้า ดูแลกลุ่มธุรกิจเบียร์ กล่าวว่า เป้าหมายในปี 63 ธุรกิจเบียร์ในกลุ่มไทบเบฟจะขึ้นเป็นอันดับหนึ่งในอาเซียน หลังจากซื้อกิจการ ซาเบโก้ในเวียดนามทำให้ สัดส่วนรายได้ธุรกิจเบียร์ของกลุ่มไทยเบฟเพิ่มขึ้นเป็น 30% จาก 17%
ทั้งนี้ ธุรกิจเบียร์ของไทยเบฟขยายตัวได้รวดเร็วมากจากการเปิดตัว แทปเปอร์ (Tapper) เบียร์แอลกอฮอล์สูง และกำลังเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่คือ เฟเดอร์บรอย ไวส์เบียร์ (Federbrau Weissbier) พรีเมี่ยมสไตล์เยอรมัน
ขณะที่มองว่าตลาดเบียร์ในเมียนมามีโอกาสเติบโตสูง เพราะมีการบริโภคต่อหัวต่ำ มีเพียง 7.5 ลิตร/ปี ขณะที่ไทยมีอัตราการบริโภคเฉลี่ย 26 ลิตร/ปี อย่างไรก็ตาม ในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ ยอดขายในด้านปริมาณติดลบ 8-9% แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยจะดีแต่ดีเฉพาะกลุ่มท่องเที่ยวและส่งออก แต่กลุ่มหลักเกษตรกรไม่มีกำลังซื้อเนื่องจากราคาเกษตรปรับตัวลดลง
ด้านนายประภากร ทองเทพไพโรจน์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสุงสุด กลุ่มธุรกิจสุรา และผุ้บริหารสุงสุด กลุ่มบริหารช่องทางการจำหน่าย กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมาธุรกิจสุราในประเทศไทยถือว่าทำได้ดีเมื่อเทียบกับสถานการณ์ปัจจุบัน และยังสามารถรักษาส่วนแบ่งตลาดได้ดี ขณะที่บริษัทได้พัฒนาสินค้าใหม่เข้าสู่ตลาดสุราพร้อมดื่ม สำหรับผู้บริโภคกลุ่มใหม่ เช่น สตาร์ คุลเลอร์ และ คูลอฟ แมกซ์ เซเว่น
นอกจากนี้ได้มีการส่งออกสุรารวงข้าวซิลเวอร์ ซึ่งเป็นเหล้าขาวพรีเมียม เป็นสินค้าใหม่ส่งออกไปยังประเทศเวียดนามและเกาหลีใต้ ถือเป็นการสุรายี่ห้อแรกของไทยเข้าสุ่ตลาดต่างประเทศ
ทั้งนี้ บริษัทได้เข้าลงทุน 75% ในกลุ่ม ในเมียนมา ซึ่งเป็นผุ้ผลิตและจัดจำหน่ายสุรา Grand Royal Whisky ที่ได้รับความนิยมอันดับหนึ่งในเมียนมา และล่าสุดบริษัทได้เข้าร่วมลงทุน 51% ในกลุ่ม Asiaeuro International Beverage ซึ่งเป็นบริษัทจัดจำหน่ายสินค้าเครื่องดื่มต่างๆ โดยเฉพาะสุราพรีเมียมจากประเทศสก๊อดแลนด์ และฝรั่งเศส ด้วย
ส่วนนายลี เม็ง ตัท ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกฮอล์ และกรรมการผู้อำนวยการ ธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ กล่าวว่า ในกลุ่มไทยเบฟได้ตั้งเป้าจะมีสัดส่วนรายได้จากกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์มากกว่า 50% โดยในปีนี้สัดส่วนลดลงมาอยู่ที่ 37% หลังจากซื้อกิจการซาเบโก้ และ Grand Royal Group จากก่อนหน้ามีสัดส่วน 47% อย่างไรก็ตาม มองเป้าหมายใน 2 ปีนี้ จะเข้าซื้อกิจการเพื่อเพิ่มสัดส่วนรายได้กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ปรับเพิ่มขึ้นมาให้ได้ตามเป้าหมาย ซึ่งขณะนี้กำลังมองหาอยู่เป็นกิจการในกลุ่มอาเซียน
นางนงนุช บูรณะเศรษฐกุล ผู้ช่วยกรรมการผุ้อำนวยการใหญ่ และผุ้บริหารสูงสุด สายธุรกิจอาหารประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วง 2 ปีนี้ (ปี 62-63) จะขยายสาขาเพิ่มปีละ 50 สาขา และใช้งบลงทุน 400-500 ล้านบาท/ปี จากปัจจุบันมี 562 สาขา จากร้านอาหาร 27 แบรนด์ และยังไม่มีแผนซื้อแบรนด์ร้านอาหารเพิ่มเติม แต่จะเติบโตจากแบรนด์ร้านอาหารที่มีอยู่