ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.69 แข็งค่าช่วงท้ายตลาดหลังมีแรงเทขายดอลล์ จับตาผลประชุม BoE-ตัวเลขส่งออกของไทย

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday December 20, 2018 17:35 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 32.69 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก เปิดตลาดช่วงเช้านี้ที่ระดับ 32.75 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับภูมิภาค เนื่องจากมีแรงเทขายดอลลาร์ในตลาด โลก ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 32.69-32.78 บาท/ดอลลาร์

"บาทแข็งค่าช่วงท้ายตลาดตามภูมิภาค เนื่องจากมีแรงเทขายดอลลาร์ออกมา" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน คาดวันพรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.65-32.75 บาท/ดอลลาร์ ผลประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ส่งผลในวงจำกัดกับค่าเงินเยน นักลงทุนรอดูผลประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) เกี่ยวกับความชัดเจนเรื่อง Brexit ส่วน ปัจจัยในประเทศพรุ่งนี้กระทรวงพาณิชย์จะประกาศตัวเลขการส่งออกและนำเข้าในเดือน พ.ย.61 โดยตลาดคาดการณ์ว่ายังขยายตัวใน อัตราที่ชะลอลง แต่ยังพอมีแรงส่งต่อไปยังอนาคต

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 111.72 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 112.50 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.1480 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1380 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,596.10 จุด ลดลง 5.02 จุด, -0.31% มูลค่าการซื้อขาย 34,972.04 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 46.63 ล้านบาท(SET+MAI)
  • ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่า ในช่วงเกือบ 1 ปีที่สหรัฐฯและจีนขึ้นภาษีนำเข้า
สินค้าระหว่างกัน ส่งผลกระทบต่อการค้าโลกและไทย โดยศูนย์ฯประเมินว่า มูลค่าการส่งออกของไทยในปี 61 หายไป 351-597 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ หรือทำให้อัตราการขยายตัวลดลง 0.1-0.2% โดยคาดว่าการส่งอกในปี 61 จะขยายตัวได้ 7.9-8.0% ส่วนปี 62 คาดว่า
มูลค่าจะหายไปอีก 1,181-4,427 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรืออัตราการขยายตัวลดลง 0.5-1.9% และมีอัตราการขยายตัวของการส่งออก
6.1-7.5%"
  • ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า เศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดสูงสุดของ
การขยายตัวไปแล้ว และในปีหน้ายังมีอีกหลายปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ได้แก่ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนที่อาจจะทวี
ความรุนแรงมากกว่าในปีนี้, เศรษฐกิจจีนเกิดปัญหา, ความผันผวนจากตลาดการเงินโลกที่กระทบต่อบรรยากาศการลงทุนและประเทศตลาด
เกิดใหม่, ความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศที่จะกระทบต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคธุรกิจ
  • ผู้บริหารสูงสุด Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) คาดว่าอัตราการเติบโตของ
เศรษฐกิจไทย (GDP) ในปี 62 จะอยู่ที่ระดับ 3.9% ซึ่งอาจมีการปรับประมาณการณ์อีกครั้งในช่วงเดือนม.ค.62 โดยมองว่ามีการเติบโต
ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว จากการบริโภคภายในประเทศมีการชะลอตัวลงเหลือโต 3.5% สาเหตุจากปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ยังเป็นปัจจัยกดดันที่
สำคัญ ซึ่งปัจจุบันอยู่ราว 80% ของ GDP
  • นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ประจำประเทศไทย ธนาคารโลก กล่าวในงานเสวนา หัวข้อ "ส่องเศรษฐกิจปี 62"ว่า ธนาคาร
โลกได้คาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2562 ไว้ที่ 3.9% แต่ทั้งนี้จะมีการประเมินภาวะเศรษฐกิจใหม่อีกครั้งในช่วง
เดือนม.ค.ปีหน้า ซึ่งแนวโน้มที่พอจะมองเห็นคือ การส่งออกที่แย่ลง แต่อุปสงค์ในประเทศกลับเติบโตได้มากกว่าที่คาดไว้
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในปี 62 จะอยู่ที่ 0.8% (กรอบประมาณการที่ 0.5-1.2%) ชะลอ
ลงจากปี 61 เนื่องจากราคาพลังงานปรับตัวลดลง มีน้ำหนักต่อเงินเฟ้อมากกว่าการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารสดและค่าสาธารณูปโภค
  • คณะกรรมการ BOJ มีมติด้วยคะแนนเสียง 7 ต่อ 2 ให้คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับติดลบ 0.1% และคงอัตราผลตอบ
แทนพันธบัตรระยะยาวเอาไว้ใกล้ 0% ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้
  • ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้แถลงข่าวภายหลังการประชุมนโยบายการเงินในวันนี้ โดยยังคงมีมุมมองที่เป็นบวก

ต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น แม้ว่าความตึงเครียดด้านการค้าระหว่างสหรัฐและจีน และความผันผวนในตลาดการเงินจะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการ

ขยายตัวของเศรษฐกิจโลกก็ตาม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ