สรรพากร ชี้แจงรายการยื่นเอกสาร-หลักฐานเพื่อขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2561

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 10, 2019 17:13 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายปิ่นสาย สุรัสวดี รักษาการที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร ได้ชี้แจงเกี่ยวกับกรณีที่มี การเผยแพร่ข่าว เรื่อง ผู้บริจาคจะต้องมีการลงทะเบียนผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) กับกรมสรรพากรเท่านั้น จึงจะ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไปว่า

1. ผู้บริจาคสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับการบริจาค ให้แก่ศาสนสถาน โรงพยาบาล องค์กรสาธารณกุศลอื่นๆ ได้ตาม ปกติ โดยไม่จำเป็นต้องมีการลงทะเบียนกับกรมสรรพากร หรือต้องเป็นการบริจาคผ่านระบบ e-Donation เพื่อสามารถใช้สิทธิลดหย่อน ภาษี

อย่างไรก็ตาม การบริจาคผ่านระบบ e-Donation จะเพิ่มความสะดวกให้กับผู้บริจาค โดยไม่ต้องเก็บเอกสารหลักฐานการบ ริจาค และสามารถตรวจสอบข้อมูลการบริจาคได้ตลอด 24 ชม. ผ่านทาง www.rd.go.th

2. กรณีการบริจาคให้แก่สถานศึกษา หากผู้บริจาคที่เป็นบุคคลธรรมดา ประสงค์จะนำเงินมาหักลดหย่อนเป็นจำนวนสองเท่า จะต้องเป็นการบริจาคผ่านระบบ e – Donation เท่านั้น เริ่มบังคับใช้สำหรับการบริจาคตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ. ศ. 2562

3. รายการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอื่นๆ เช่น LTF/RMF เบี้ยประกันชีวิต ดอกเบี้ยเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ผู้เสียภาษียัง สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามปกติ ยกเว้นการลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพ ซึ่งผู้เอาประกันสุขภาพต้องยินยอมให้บริษัทประกันส่งข้อมูลค่า เบี้ยประกันสุขภาพให้กรมสรรพากรในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ จึงจะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้

          รายการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา	            เอกสาร/หลักฐานในการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี
                                                 ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์  ผ่านระบบ e-Donation	 กระดาษ
1. การบริจาคให้ศาสนสถาน โรงพยาบาล
และองค์กรสาธารณกุศลอื่น ๆ                                                       /               /
2. รายการลดหย่อนอื่นๆ เช่น LTF/RMF เบี้ยประกันชีวิต ดอกเบี้ยเพื่อซื้อ                                      /
ที่อยู่อาศัย ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมเกษตร
ชุมชน และทุนมนุษย์ (ยาง,หนังสือ,OTOP) เป็นต้น
3. การบริจาคให้สถานศึกษา*                                                     / 	        /
                                                                   (ลดหย่อน 2 เท่า)  (ลดหย่อน 1 เท่า)
4. เบี้ยประกันสุขภาพ                                       /

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ