ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 31.23 หลังกนง.มีมติคงดอกเบี้ย-จับตาท่าทีธปท.หลังบาทแข็งค่า คาดกรอบพรุ่งนี้ 31.20-31.30

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 6, 2019 17:55 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาด 31.23 บาท/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่เปิดตลาดที่ ระดับ 31.24 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวระหว่าง 31.22-31.29 บาท/ดอลลาร์

"การแถลงนโยบายประจำปีของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งผลต่อค่าเงินบาทจำกัด แต่มาลงแรงหลังการประชุมคณะ กรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งผลโหวตที่ออกมา 4:2 เสียง เพราะมีกรรมการไม่ได้เข้าร่วมประชุม 1 ท่าน ทำให้คนคาดเดา ไปต่างๆ นานาว่าถ้าครบองค์ประชุมเสียงข้างน้อยจะไปอยู่ฝั่งไหน ขณะที่ธปท.ก็ออกมาแสดงความเห็นเกี่ยวกับเงินบาทว่าแข็งค่าเกาะกลุ่ม แต่จะติดตามการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิดและจะเข้าดูแลหากแข็งค่าอย่างรวดเร็วผิดปกติ"นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันพรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.20 - 31.30 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 109.64 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ 109.98 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1388 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ 1.1400 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,658.71 จุด เพิ่มขึ้น 5.62 จุด, +0.34% มูลค่าการซื้อขาย 38,519.92 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,627.27 ลบ.(SET+MAI)
  • ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันนี้มีมติ 4 ต่อ 2 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.75% ต่อ
ปี โดย 2 เสียงเห็นว่าควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จาก 1.75% เป็น 2.00% ต่อปี โดยในการประชุมครั้งนี้
กรรมการ 1 ท่านลาประชุม
  • ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงแนวโน้มค่าเงินบาทว่า ตั้งแต่สิ้นปี 61
จนถึงปัจจุบันแข็งค่า 4.1% ซึ่งอยู่ในระดับกลางๆ และไม่ได้เป็นเงินสกุลที่แข็งค่าที่สุดในโลก เพราะแข็งค่าน้อยกว่าอินโดนีเซียที่แข็งค่าไป
ถึง 4.3% อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการประเมินภาพเศรษฐกิจ ซึ่ง กนง.จะติดตามการเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน
บาทอย่างใกล้ชิด และอาจพิจารณาเข้าดูแลถ้าค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็วผิดปกติจนไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานและกระทบกับการปรับ
ตัวของภาคธุรกิจ
  • ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ในเดือน ม.ค. 62 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้
บริโภค อยู่ที่ 80.7 จาก 79.4 ในเดือน ธ.ค.61 โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ปรับตัวดีขึ้นในรอบ 5 เดือน ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นต่อ
เศรษฐกิจโดยรวม อยู่ที่ 67.7 จาก 66.3 ในเดือนก่อนหน้า

พร้อมคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/62 มีโอกาสเติบโตถึง 4% รับผลดีจากกำหนดจัดการเลือกตั้งวันที่ 24 มี.ค.ส่งผลให้มีการรณรงค์หาเสียงช่วยให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น จึงคาดว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาส 1-2 จะ ค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น และทั้งปี 62 คาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตได้ถึง 4.0-4.2%

  • ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence
Index) ประจำเดือน ก.พ.62 ดัชนีรวมทุกกลุ่มนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า (เม.ย.62) ปรับเพิ่มขึ้น 25.07% มาอยู่ที่ระดับ
116.76 โดยเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนแรกในรอบ 4 เดือน และอยู่ในเกณฑ์ทรงตัว (Neutral) เช่นเดิม (ช่วงค่าดัชนี 80-
119)
  • คณะกรรมการ่วมภาคเอกชน (กกร.) ประเมินทิศทางเศรษฐกิจไทยในปี 2561 คาดว่าจะขยายตัวได้ที่ 4.1% จากเดิมที่
คาดจะขยายตัว 4.3% โดยเป็นผลจากตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาส 4 ที่ถูกกระทบจากเรื่องส่งออก และการลงทุนภาครัฐ
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐ ได้ขึ้นกล่าวแถลงนโยบายประจำปี (State of the Union) ต่อสภาคองเกรส
ในช่วงเช้าวันนี้ตามเวลาไทย โดยในการแถลงครั้งนี้ ทรัมป์ได้เรียกร้องให้สภาคองเกรสผ่านร่างกฎหมายการค้าต่างตอบแทน
(Reciprocal Trade Act) พร้อมระบุว่า ข้อตกลงการค้าระหว่างจีนและสหรัฐจะต้องมีการแก้ไขในประเด็นโครงสร้างและการขาดดุล
  • ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เตรียมทำการทดสอบภาวะวิกฤต (stress test) สำหรับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ในปีนี้
โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความโปร่งใสมากขึ้น โดยเฟดได้ให้ข้อมูลมากขึ้นอย่างมากต่อบรรดาสถาบันการเงินเกี่ยวกับวิธีการดำเนินงาน
ของธนาคารภายใต้แนวโน้มที่อาจจะเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ
  • รัฐบาลสหรัฐเตรียมส่งนายโรเบิร์ต ไลท์ไฮเซอร์ ผู้แทนการค้าของสหรัฐ (USTR) และนายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการคลังสหรัฐไปยังกรุงปักกิ่งในช่วงต้นสัปดาห์หน้า เพื่อเดินหน้าเจรจาการค้า ก่อนที่จะถึงเส้นตายในการบรรลุข้อตกลงภายในวัน
ที่ 1 มี.ค.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ