ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดปัญหาฝุ่นละอองสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้นเป็น 1.45 หมื่นลบ.หลังสถานการณ์ยืดเยื้อ

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday February 12, 2019 13:31 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินค่ามาตรฐานในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ที่มีระดับความเข้ม ข้นของค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐานในระดับที่มีผลต่อสุขภาพ (ค่า AQI สูงกว่า 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร) เป็นระยะเวลาหลายๆ วัน ติดต่อกัน ซึ่งผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทันทีหลังจากเกิดปัญหาดังกล่าว ได้แก่ ค่าเสียโอกาสจากประเด็นเรื่องสุขภาพ ซึ่งสถานการณ์ ฝุ่นละอองไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้ป่วยโรคภูมิแพ้/ระบบทางเดินหายใจแล้ว ที่ผ่านมาประชาชนที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ก็เกิดอาการ เจ็บป่วยจากปัญหาฝุ่นละอองด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ การใช้จ่ายในการซื้อหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันฝุ่นละอองก็มีจำนวนเพิ่มขึ้น ตามระยะ เวลาของปัญหาที่ยาวนานขึ้น

ขณะที่ ค่าเสียโอกาสด้านการท่องเที่ยว โดยนอกจากคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติที่มีการปรับแผน หลีกเลี่ยงการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่กรุงเทพฯ และปรับกิจกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่กรุงเทพฯ แล้ว จากสถานการณ์ฝุ่นละอองที่ ยาวนานยังส่งผลกระทบเพิ่มเติมในกลุ่มคนกรุงเทพฯ บางกลุ่ม ที่มีการชะลอแผนการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศด้วย

นอกจากนี้ การใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการปรับพฤติกรรมของคนกรุงเทพฯ เพื่อหลีกเลี่ยงหรือป้องกันการเผชิญฝุ่นละออง เช่น ค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องฟอกอากาศ การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารนอกบ้าน ซึ่งกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบ คือ ร้านอาหาร ข้างทาง สวนอาหาร หรือร้านอาหารที่อยู่ในที่โล่งแจ้ง ซึ่งเกิดจากการที่ประชาชาชนหลีกเลี่ยงการเผชิญกับปัญหาฝุ่นละออง

ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ทำการปรับประมาณการผลทางเศรษฐกิจจากปัญหาฝุ่นละอองในกรุงเทพฯและปริมณฑล จากค่า เสียโอกาสโดยเฉพาะในประเด็นสุขภาพและด้านการท่องเที่ยว รวมถึงค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ ที่สำคัญ คิดเป็นเม็ดเงินอย่างน้อย 14,500 ล้าน บาท เพิ่มขึ้นจากเดิม โดยมีสาเหตุหลักมาจากกรอบเวลาที่นานขึ้น และการเพิ่มเติมค่าเสียโอกาสบางรายการ โดยกรอบเวลาที่ใช้ในการ คำนวณคือ จากเดิมที่ประเมินไว้ราวๆ 1 เดือน ปรับเป็นตั้งแต่ช่วงปลายปี 2561 - สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2562 (หรือประมาณ 65 วัน)

                                                                      หน่วย: ล้านบาท

                                           ประมาณการเดิม                 ประมาณการใหม่
                                           (15 ม.ค. 62)                 (12 ก.พ. 62)

          กรอบเวลา                           30 วัน                         65 วัน
                              (เริ่มปลายปี’ 61-ปลายเดือนมกราคม 62)  (เริ่มปลายปี’ 61- ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 62)
1. ค่าเสียโอกาสจากประเด็นสุขภาพ
-การรักษา                                    1,200                          1,800
(ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้/ระบบทางเดินหายใจ)
-การรักษา                                     N/A                           1,000
(ผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคภูมิแพ้/ระบบทางเดินหายใจ)
-การป้องกัน (หน้ากากอนามัย)                     1,900                          5,300

2.ค่าเสียโอกาสด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่กรุงเทพ        3,500                          5,750
ฯ และคนกรุงเทพฯ ชะลอการเดินทางท่องเที่ยว*
3. ค่าเสียโอกาสด้านอื่นๆ เช่น ร้านอาหาร             N/A                            650
เครื่องฟอกอากาศ**

รวมเม็ดเงินผลกระทบด้านเศรษฐกิจ (1. + 2. + 3.)   6,600                         14,500
ที่มา: ประมาณการโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย
หมายเหตุ:  N/A – ไม่ได้ทำการประเมินผลกระทบในรอบแรก
  • ผลกระทบจากที่คนกรุงเทพฯ ชะลอหรืองดการเดินทางท่องเที่ยว

** ค่าเสียโอกาสในส่วนอื่นๆ เช่น ร้านอาหาร คำนวณเฉพาะในช่วงที่มีค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐานอยู่ระดับสูง ส่งผลต่อ บรรยากาศการซื้ออาหารหรือรับประทานอาหารในที่โล่งแจ้ง

          "ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินค่ามาตรฐานที่ยังคงมีต่อเนื่องและคาดว่าอาจมีโอกาสล่วงเลยไปถึงเดือนมีนาคม 2562 นั้น
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ทบทวนประมาณการผลกระทบทางเศรษฐกิจในมิติของค่าเสียโอกาสจากประเด็นด้านสุขภาพและการท่องเที่ยว รวมถึง
การประเมินผลกระทบครอบคลุมในประเด็นอื่นๆ เพิ่มเติมในส่วนที่เกิดจากค่าเสียโอกาสของภาคธุรกิจที่อาจได้รับผลกระทบจากการที่
ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดผลกระทบ ผ่านการจัดทำผลสำรวจพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของคนกรุงเทพฯและปริมณฑล" ศูนย์
วิจัยกสิกรไทย ระบุ
          อย่างไรก็ดี ในระยะข้างหน้า ยังมีอีกหลายประเด็นที่อาจจะส่งผลต่อค่าใช้จ่ายและการปรับพฤติกรรมผู้บริโภค ซึ่งขึ้นอยู่กับ
นโยบายของภาครัฐด้วย โดยเฉพาะมาตรการที่เน้นการดูแลการปล่อยไอเสียจากรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลเป็นหนึ่งในปัญหาที่สำคัญที่สุดของ
การก่อให้เกิดมลพิษฝุ่นละออง PM2.5 ได้แก่ การยกระดับมาตรฐานรถยนต์ Euro 5 การใช้น้ำมันไบโอดีเซล B20 อย่างกว้างขวางขึ้น
หรือแม้แต่การสนับสนุนการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า แม้แนวทางดังกล่าวเป็นทางแก้ปัญหาในระยะยาว จากการช่วยลดปริมาณการปล่อยมลพิษ
และฝุ่นละออง PM 2.5 ได้ แต่ผู้บริโภคอาจจะต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นในการใช้รถยนต์ในอนาคต

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ