เปิด 31.13 แข็งค่าจากเย็นวันจันทร์ นลท.เทขายดอลล์ จากคลายกังวลสงครามการค้า มองกรอบ 31.05-31.20

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 20, 2019 09:24 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 31.13 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ปิดตลาดเย็นวันจันทร์ที่ผ่านมาที่ระดับ 31.25 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากนักลงทุนเทขายดอลลาร์ในตลาดโลกหลังคลายกังวลเรื่อง สงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนมีแนวโน้มคลี่คลายลง เพื่อนำไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงและตลาดเกิดใหม่ ประกอบกับผลตอบแทน อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรสหรัฐปรับตัวลดลง โดยเงินบาทแข็งค่าสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย.61

"บาทแข็งค่าตามภูมิภาค หลังมีแรงเทขายดอลลาร์ในตลาดโลก และมีการส่งออกทองคำมาก โดยบาททำนิวไฮนับตั้งแต่ เดือนเมษายนปีก่อน หากวันนี้หลุด 31.10 จะแข็งค่าสุดในรอบ 5 ปี" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ไว้ที่ 31.05 - 31.20 บาท/ดอลลาร์

ปัจจัยที่ตลาดจับตาดูวันนี้คือ การเปิดเผยบันทึกการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) และคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย

THAI BAHT FIX 6M (18 ก.พ.) อยู่ที่ระดับ 1.79302%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 110.75 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันจันทร์ที่ระดับ 110.54 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.1348 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันจันทร์ที่ระดับ 1.1310 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 31.2240 บาท/
ดอลลาร์
  • ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (19 ก.
พ.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายดอลลาร์สหรัฐในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย และเข้าซื้อสินทรัพย์เสี่ยงที่ให้ผลตอบแทนสูง ซึ่งรวมถึงสกุล
เงินดอลลาร์ออสเตรเลีย หลังจากการเจรจาการค้ารอบใหม่ระหว่างสหรัฐและจีนส่งสัญญาณในด้านบวก ขณะที่เงินเยนอ่อนค่าลงหลัง
จากผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ส่งสัญญาณเดินหน้ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ

ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1340 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1312 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็ง ค่าขึ้นสู่ระดับ 1.3067 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2927 ดอลลาร์ และดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 0.7169 ดอลลาร์ สหรัฐ จากระดับ 0.7130 ดอลลาร์สหรัฐ

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 110.65 เยน จากระดับ 110.58 เยน แต่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบ กับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 1.0007 ฟรังก์ จากระดับ 1.0041 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ แคนาดา ที่ระดับ 1.3212 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3237 ดอลลาร์แคนาดา

  • China Foreign Exchange Trading System (CFETS) รายงานว่า เงินหยวนแข็งค่าขึ้น 0.84% แตะ
ระดับ 6.7558 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้
  • นายจอห์น วิลเลียมส์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์กกล่าวว่า เขาพอใจกับระดับอัตราดอกเบี้ย
ของสหรัฐในขณะนี้ และไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องปรับขึ้นดอกเบี้ย นอกเสียจากว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจหรือเงินเฟ้อจะเปลี่ยน
ไปสู่ระดับที่สูงเกินคาด
  • นักลงทุนในตลาดการเงินจับตาการเจรจาการค้ารอบใหม่ระหว่างสหรัฐและจีนที่กรุงวอชิงตันในสัปดาห์นี้ โดยการ
เจรจาการค้าระดับรัฐมนตรีจะจัดขึ้นเป็นเวลา 2 วันซึ่งจะเริ่มเปิดฉากขึ้นในวันพฤหัสบดีและเสร็จสิ้นในวันศุกร์นี้ ขณะที่ทั้งสองฝ่าย
ต่างก็คาดหวังที่จะบรรลุข้อตกลงการค้าให้ได้ก่อนสิ้นเดือนนี้
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (19 ก.พ.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากการที่กลุ่ม
ประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ปรับลดกำลังการผลิต รวมทั้งการคาดการณ์ที่ว่า การเจรจาการค้ารอบใหม่ระหว่างสหรัฐและจีน
ในสัปดาห์นี้ จะมีความคืบหน้า

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 50 เซนต์ หรือ 0.9% ปิดที่ 56.09 ดอลลาร์/บาร์เรล

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 20 เซนต์ หรือ 0.09% ปิดที่ 66.45 ดอลลาร์/บาร์เรล

  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นแตะระดับสุงสุดในรอบ 10 เดือนเมื่อคืนนี้ (19 ก.พ.) โดยได้ปัจจัยหนุนจาก
การอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ ขณะที่นักลงทุนจับตาผลการเจรจาการค้ารอบใหม่ระหว่างสหรัฐและจีนในสัปดาห์นี้

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 22.70 ดอลลาร์ หรือ 1.72% ปิดที่ 1,344.80 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 22.40 เซนต์ หรือ 1.42% ปิดที่ 15.967 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 14.10 ดอลลาร์ หรือ 1.75% ปิดที่ 821.00 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค. พุ่งขึ้น 46.70 ดอลลาร์ หรือ 3.3% ปิดที่ 1,453.90 ดอลลาร์/ออนซ์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ