ภาวะตลาดเงินบาท: เย็นนี้ 31.39 ระหว่างวันผันผวน ก่อนกลับมาอ่อนค่าสวนทางภูมิภาค หลังมีแรงซื้อดอลล์ช่วงปลายเดือน

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 27, 2019 16:09 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทช่วงเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 31.39 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าเล็กน้อย จากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 31.37/39 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทยังเคลื่อนไหวในทิศทางที่อ่อนค่า โดยระหว่างวันเงินบาทอ่อนค่าสุดที่ระดับ 31.43 บาท/ดอลลาร์ และแข็งค่าสุด ที่ระดับ 31.29 บาท/ดอลลาร์ และเงินบาทยังอ่อนค่าสวนทางกับค่าเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาคด้วย ซึ่งการที่เงินบาทในช่วงนี้ปรับตัวอ่อนค่า น่าจะมีสาเหตุจากเป็นช่วงสิ้นเดือนที่มีการซื้อดอลลาร์จากฝั่งผู้นำเข้า อีกทั้งก่อนหน้านี้เงินบาทได้ปรับตัวแข็งค่าไปมาก จึงทำให้มีการขายทำ กำไรในช่วงนี้

"ที่บาทอ่อนในวันนี้ น่าจะเป็นธุรกรรมช่วงปลายเดือนที่มีการซื้อดอลลาร์จากฝั่งผู้นำเข้า ประกอบกับก่อนหน้านี้ บาทแข็งค่าไป ค่อนข้างมาก ซึ่งเคยแข็งค่าไปใกล้กับระดับ 31.0 กว่านิดๆ ตอนนี้จึงมีการขายทำกำไร แต่บาทวันนี้อ่อนค่าสวนทางภูมิภาค เพราะเงิน หยวนยังแข็งค่า" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า ทิศทางเงินบาทวันพรุ่งนี้ยังมีโอกาสอ่อนค่าได้ต่อ โดยมองกรอบการเคลื่อนไหวที่ 31.30-31.45 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 31.4042 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 110.42 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 110.57/60 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1391 ดอลลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1385/1390 ดอลลาร์/ยูโร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนมกราคม 2562 ว่า เศรษฐกิจ
ไทยในเดือนมกราคม 2562 ได้รับแรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ภายในประเทศเป็นสำคัญ โดยการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากปริมาณการ
จำหน่ายรถยนต์นั่งที่กลับมาขยายตัวขยายตัวสูงสุดในรอบ 5 เดือน สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับการ
ลงทุนภาคเอกชนสะท้อนจากปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์สามารถกลับมาขยายตัว

ในขณะที่ด้านอุปสงค์ภายนอกประเทศ พบว่า การส่งออกสินค้ายังคงหดตัวสำหรับด้านอุปทาน จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติขยาย ตัวเป็นบวก โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวจีนที่ขยายตัว 10.3%สูงสุดในรอบ 7 เดือน อัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวสูง สุดในรอบ 7 เดือน และดัชนีผลผลิตภาคการเกษตรยังคงขยายตัวได้ดี

  • นายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษก สศค.
กล่าวถึงการส่งออกในเดือนม.ค.62 ที่ลดลง 5.7% ว่าเป็นการติดลบมากกว่าที่ สศค.คาดการณ์ไว้ แต่อย่างไรก็ดี ยังเชื่อว่าการส่งออก
โดยรวมทั้งปี 62 นี้จะขยายตัวได้ 4.5% ตามที่ สศค. ได้ประมาณการไว้ ทั้งนี้ ยังมีเวลาอีก 11 เดือน ซึ่งจะต้องประเมินและติดตาม
สถานการณ์การส่งออกในช่วงที่เหลือต่อไป
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ดัชนีรายได้ของเกษตรกรเดือน ก.พ.62 เพิ่มขึ้น 4.83% จากช่วง
เดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากดัชนีราคาสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.51% โดยสินค้าสำคัญที่มีราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า มัน
สำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และสุกร และดัชนีผลผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.27% โดยสินค้าสำคัญที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ปาล์มน้ำมัน ไก่เนื้อ และไข่ไก่ ทั้งนี้ เดือนมี.ค.62 คาดว่าดัชนีรายได้เกษตรกรจะขยายตัวเล็กน้อย รวมทั้งดัชนีราคาและผลผลิตคาดว่าจะ
ขยายตัวเช่นเดียวกันเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
  • สำนักงบประมาณแห่งรัฐสภาสหรัฐ (CBO) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังสหรัฐ อาจหมดเงินงบประมาณภายในสิ้นเดือน
ก.ย.นี้ นอกเสียจากว่าสภาคองเกรสจะสามารถขยายระยะเวลาระงับการก่อหนี้ หรือเพิ่มเพดานหนี้ และต้องใช้ "มาตรการพิเศษ" เพื่อกู้
ยืมเงินเพิ่มเติมโดยไม่ให้ละเมิดเพดานหนี้
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐ ได้ทวีตข้อความก่อนที่การประชุมสุดยอดกับผู้นำเกาหลีเหนือจะเปิดฉากขึ้นที่เวียดนาม
ในวันนี้ว่า เกาหลีเหนือมีศักยภาพอัน "ยอดเยี่ยม" ที่จะก้าวสู่ความเจริญรุ่งเรือง หากเกาหลีเหนือยอมปลดอาวุธนิวเคลียร์
  • กรรมการบริหารของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) กล่าวว่า BOJ ควรดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการเงินมากขึ้นเพื่อให้

บรรลุเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ ขณะที่การรักษานโยบายในปัจจุบันไว้นานเกินไป อาจจะทำให้เกิดภาวะผันผวนมากเกินไปในเศรษฐกิจญี่ปุ่น


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ