ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 31.84/85 อ่อนค่าต่อเนื่องจากช่วงเช้า หลังมีแรงซื้อดอลลาร์กลับ คาดกรอบพรุ่งนี้ 31.75-31.90

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 4, 2019 17:30 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 31.84/86 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากช่วง เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 31.77/78 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าต่อเนื่องจากในช่วงเช้า ซึ่งอาจมีสาเหตุจากหลายสถานการณ์ในสหรัฐฯ เริ่มพลิกกลับมามีภาพที่ดีขึ้น เช่น สงครามการค้ากับจีน การปิดหน่วยงานราชการชั่วคราว ตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาค่อนข้างดี จึงทำให้มีแรงซื้อดอลลาร์กลับคืน ส่งผล ให้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ

"ช่วงนี้ที่สถานการณ์พลิกกลับ น่าจะเป็นเพราะภาพที่แย่ๆ ของสหรัฐเริ่มจะหายไป เช่น trade war, ชัตดาวน์หน่วย งานราชการในสหรัฐ ตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดี สิ่งเหล่านี้ทำให้คนเริ่มกลับมาคิดว่า จะเป็นไปได้หรือไม่ที่เฟดอาจจะขึ้นดอกเบี้ยได้ มากกว่า 1 ครั้งในปีนี้ ซึ่งพอมีเรื่องดีๆ เข้ามา ก็เลยมีแรงซื้อดอลลาร์กลับ ดอลลาร์จึงแข็งค่า" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า เงินบาทยังมีแนวโน้มอ่อนค่า แต่เชื่อว่าจะไม่ขึ้นไปแตะระดับ 32 บาท/ดอลลาร์ โดยมองว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.75-31.90 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 111.83 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 111.98/112.00 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1342 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1368/1369 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,635.30 จุด ลดลง 6.14 จุด (-0.37%) มูลค่าการซื้อขาย 45,025 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,656.86 ลบ.(SET+MAI)
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ตั้งแต่ต้นปี 2562 เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้น 2.3% เป็นผลจากดอลลาร์สหรัฐอ่อน
ค่า และการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยเป็นสำคัญ ขณะที่เงินลงทุนในหลักทรัพย์ของนักลงทุนต่างชาติไม่ได้ทำให้เงินบาทแข็งค่า ดังที่เห็น
จากตัวเลขส่วนนี้ว่าเป็นการไหลออกสุทธิ ภาพรวมเงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับสกุลเงินของประเทศ emerging markets และ
ประเทศเพื่อนบ้าน โดยการแข็งค่าและความผันผวนของเงินบาทอยู่ในระดับกลางๆ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น

ในบางช่วงที่เงินบาทแข็งค่าเร็วในลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับพื้นฐานเศรษฐกิจ ธปท. ได้เข้าดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เวลากับ เอกชนในการปรับตัว ในระยะข้างหน้า ค่าเงินบาทยังมีแนวโน้มผันผวนเคลื่อนไหวได้ 2 ทาง ตามความผันผวนของเศรษฐกิจและตลาดการ เงินโลก

  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ก.พ.62 อยู่ในระดับทรงตัวใกล้เคียงเดือนก่อน
ที่ 49.9 โดยความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในภาคที่มิใช่การผลิตปรับดีขึ้น ขณะที่ความเชื่อมั่นในภาคการผลิตปรับลดลง
ส่วนในอีก 3 เดือนข้างหน้า ดัชนีฯ ทรงตัวจากเดือนก่อน อยู่ที่ระดับสูงกว่า50 ในเกือบทุกองค์ประกอบ สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของ
ภาคธุรกิจที่มองว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะยังคงขยายตัวต่อเนื่องในอนาคต
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) เผยทิศทางค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ (4-8 มี.ค.) มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 31.50-
31.95 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับระดับปิดอ่อนค่าที่ 31.72 บาท/ดอลลาร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (25 ก.พ.-1 มี.ค.) โดยเงินบาทแตะระดับ
อ่อนค่าสุดในรอบ 5 สัปดาห์ ซึ่งการอ่อนค่าของเงินบาท สะท้อนความไม่แน่นอนของแนวโน้มดอกเบี้ยสหรัฐฯ ราคาทองคำที่ผันผวน และการ
ปรับสถานะของนักลงทุน หลังจากเงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็วในช่วงก่อนหน้า
  • ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เผย กรรมการ BOJ จะทำการอภิปรายในประเด็นการถอนนโยบายการเงินแบบผ่อน
คลายพิเศษในช่วงเวลาที่เหมาะสม และจะสื่อสารให้สาธารณชนได้รับทราบ โดยขณะนี้ BOJ ยังไม่มีกลยุทธ์ในการถอนนโยบายดังกล่าว
เนื่องจากการบรรลุเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ระดับ 2% นั้น คาดว่าจะต้องใช้เวลาอีกมาก
  • ปัจจัยต่างประเทศสำคัญที่ต้องติดตามในช่วงนี้ ได้แก่ การพิจารณายุติการปรับลดขนาดงบดุล และทิศทางการขึ้นอัตรา

ดอกเบี้ยในระยะต่อไป ของคณะกรรมการนโยบายทางการเงินของสหรัฐ (FOMC), ผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่มี

แนวโน้มคงนโยบายการเงิน และอาจชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ยออกไป, การพิจารณาข้อตกลงการออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษ

(BREXIT) กับ EU ซึ่งมีกำหนดเส้นตายในวันที่ 29 มี.ค., การปรับลดคาดการณ์ GDP ของกลุ่ม EU จาก 1.9% มาเป็น 1.3%

และผลการประชุมนโยบายเศรษฐกิจของจีนในเดือนมี.ค.


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ