ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 31.68/69 ตลาดจับตาการประชุมเฟด-กนง.-การเมืองไทยในสัปดาห์หน้า

ข่าวเศรษฐกิจ Friday March 15, 2019 17:35 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 31.68/69 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากช่วง เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 31.76 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทปรับตัวแข็งค่าจากเปิดตลาดในช่วงเช้า แต่ระหว่างวันเงินบาทยังเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ เนื่องจากปัจจัยระยะ สั้นไม่ค่อยมีผลต่อทิศทางของค่าเงินบาทมากนัก ซึ่งปัจจัยสำคัญส่วนใหญ่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จะอยู่ในช่วง 1-2 สัปดาห์จากนี้ไป ไม่ว่าจะเป็นกรณีของการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) การประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคาร กลางสหรัฐ (FOMC) และที่สำคัญคือการเมืองภายในประเทศ

"ตลาดติดตามปัจจัยที่จะเกิดขึ้นจากนี้ไป ทั้งกรณีของประชุมเฟด กนง. ที่สำคัญคือจับตาดูความไม่แน่นอนทางการเมืองใน ประเทศ คือ อาจไม่ใช่ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาล แต่มองว่าในช่วงก่อนหรือหลังเลือกตั้ง จะมีความวุ่นวายอะไรเกิดขึ้นหรือไม่ ถ้าไม่มี และ การเลือกตั้งผ่านไปด้วยดี บาทก็มีโอกาสจะแข็งค่า" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า ช่วงต้นสัปดาห์หน้า เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.60-31.80 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 111.45/86 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 111.86 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1304/1345 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1305 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,625.57 จุด ลดลง 10.31 จุด (-0.63%) มูลค่าการซื้อขาย 49,860 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,350.25 ลบ.(SET+MAI)
  • ผู้บริหารสายงานวิจัยและหัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) เปิดเผยว่า ธนคารปรับลดประมาณการ
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย (GDP) ในปี 62 ลดลงมาเป็นขยายตัว 3.8% จากเดิมที่คาดการณ์ว่า GDP ของไทยในปีนี้จะขยายตัว
ได้ 4.1% หลังจากที่แนวโน้มเศรษฐกิจไทยเริ่มชะลอตัวลงจากปีก่อน
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าในระยะข้างหน้า การเคลื่อนไหวของค่าเงินดอลลาร์ฯ ยังมีทิศทางผันผวนจากปัจจัยการเมืองใน
ประเทศสหรัฐฯ ตลอดจนเหตุการณ์สำคัญที่จะเกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกันในช่วงปลายเดือนมีนาคมนี้ ทั้งการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯกับ
จีน ตลอดจนประเด็น Brexit ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินในภูมิภาค รวมทั้งเงินบาทมีความผันผวนตามไปด้วย
  • ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ
2562 (เดือนต.ค.61 - ก.พ.62) สคร. สามารถจัดเก็บเงินนำส่งรายได้แผ่นดินจากรัฐวิสาหกิจและกิจการที่กระทรวงการคลังถือหุ้นต่ำ
กว่า 50% จำนวน 86,614 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าประมาณการเงินนำส่งรายได้แผ่นดินสะสมจำนวน 14,262 ล้านบาท หรือ 20% ของ
ประมาณการสะสม
  • กรมการค้าต่างประเทศ เผยสถิติการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) และภายใต้ระบบสิทธิพิเศษ
ทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) ในเดือน ม.ค.62 มีมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ รวมอยู่ที่ 5,734.47 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตรา
การใช้สิทธิประโยชน์ฯ อยู่ที่ 74.60% ลดลง 2.08% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากผลกระทบของสงคราม
การค้า การผันผวนของค่าเงินในตลาดโลก และการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินของหลายประเทศ
  • พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ส่งสารแสดงความเห็นต่อการหาเสียงของทุกพรรคการเมือง กรณีการชู
นโยบายว่า จะดำเนินการเรื่องใดๆ ซึ่งจะต้องใช้งบประมาณรัฐจำนวนมาก บางเรื่องก็อาจกระทบต่อภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาคประชาชน ภาค
ธุรกิจ เอกชน รวมถึงภาครัฐ เช่น ด้านการศึกษา สวัสดิการ การขึ้นค่าแรง ทั้งนี้ ทุกรัฐบาลจะต้องดำเนินการภายใต้ระเบียบวิธีการ
กฎหมายด้านงบประมาณ การเงิน การคลัง และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำได้มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับราย
ได้ และสัดส่วนงบประมาณโดยรวมของรัฐ
  • ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) แถลงว่า BOJ จะยังคงยึดมั่นในเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% แม้เศรษฐกิจในต่าง
ประเทศชะลอตัวลงก็ตาม อย่างไรก็ดี ผู้ว่าการ BOJ แสดงความเชื่อมั่นว่า แม้การชะลอตัวในต่างประเทศจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น
บางส่วน แต่เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังสามารถขยายตัวในระดับปานกลาง
  • สัปดาห์หน้าจะมีการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ได้แก่ คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลาง
สหรัฐ (FOMC) แถลงมติอัตราดอกเบี้ย, ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ประชุมนโยบายการเงินและแถลงมติอัตราดอกเบี้ย, ธนาคารกลาง
ญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยรายงานการประชุม เป็นต้น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ