(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 31.72/74 แนวโน้มทรงตัว ตลาดไร้ปัจจัยใหม่หนุนทิศทาง มองกรอบวันนี้ 31.65-31.75

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday April 2, 2019 16:08 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 31.72/74 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวจาก เย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 31.72 บาท/ดอลลาร์

วันนี้คาดว่าเงินบาทคงไม่เคลื่อนไหวมากนัก เนื่องจากไม่มีปัจจัยใหม่ที่ส่งผลต่อค่าเงินเท่าใดนักทั้งปัจจัยในประเทศและปัจจัย ต่างประเทศ ประกอบกับใกล้ช่วงวันหยุดยาว การทำธุรกรรมจึงไม่ค่อยมีมากนัก

"วันนี้คงนิ่งๆ ตลาดค่อนข้างเงียบ น่าจะเป็นเพราะใกล้ช่วงวันหยุดยาว ปัจจัยทั้งในและต่างประเทศก็ไม่ค่อยมีอะไร มาก เป็นการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจทั่วๆ ไป" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.65-31.75 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 6M (1 เม.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.76659%

SPOT ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 31.7450 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 111.33/35 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 111.02 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1204/1205 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1246 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 31.7070 บาท/ดอลลาร์
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) มีมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาท ในสัปดาห์นี้ว่ามีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 31.55-
31.85 ต่อดอลลาร์ ตลาดยังคงจับตาโค้งสุดท้ายของทางออก Brexit ขณะที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นว่าสหราชอาณาจักรอาจต้องออกจาก
สหภาพยุโรปโดยไร้ข้อตกลงหลังเส้นตายในวันที่ 12 เม.ย. นอกจากนี้ ตลาดจะติดตามความคืบหน้าของการเจรจราเพื่อยุติสงครามการค้า
ระหว่างสหรัฐฯ และจีน รวมถึงข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ หลายรายการ
  • ธปท.เกาะติดหนี้ครัวเรือนพุ่ง หวั่นคนไทยหนี้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด พร้อมจับตาสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์พุ่งขึ้นรวดเร็วและ
สถาบันการเงินบางรายปล่อยสินเชื่อเงินทอน โดยให้สินเชื่อเกินมูลค่ารถยนต์เหมือนสินเชื่อบ้าน เตือนเลิกพฤติกรรมเอาเปรียบประชาชน
ถ้าไม่เลิกจ่อออกมาตรการคุมเข้ม
  • เลขาธิการและกรรมการผู้อำนวยการสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน (ไอเอเอ) เปิดเผยถึงผลสำรวจนักวิเคราะห์คาดดัชนี
ตลาดหุ้นไทย ครั้งที่ 2 ปี 62 ว่า นักวิเคราะห์และผู้จัดการกองทุนคาดว่าดัชนีตลาดหุ้นไทย ไตรมาส 2 ปี 62 อยู่ที่ 1,689 จุด โดยปัจจัย
ระยะสั้นที่มีผลต่อแนวโน้มดัชนี คือ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่าเรื่องการเมืองภายในประเทศและการจัดตั้งรัฐบาล ที่ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทย
ยังผันผวน และอาจทำให้ดัชนีอยู่ที่ระดับ 1,583 จุด หากพรรคการเมืองอันดับที่ 4 และที่ 5 ยังไม่สามารถเลือกได้ว่าจะอยู่ฝั่งไหน รวมถึง
หากพรรคการเมือง หรือหัวหน้าพรรค ถูกคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้ใบเหลืองหรือใบแดง และสงครามการค้าจีนกับสหรัฐ ที่
หาข้อสรุปไม่ได้
  • รัฐสภาอังกฤษลงมติไม่อนุมัติทางเลือกต่างๆ 4 ทางเลือกของกระบวนการที่อังกฤษจะถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป
(Brexit) ซึ่งนำเสนอโดยจอห์น เบอร์คาว ประธานรัฐสภาอังกฤษ โดยทางเลือกดังกล่าวรวมถึงการที่อังกฤษยังอยู่ในตลาดเดี่ยว และ
การเจรจากับสหภาพยุโรป (EU) เกี่ยวกับสหภาพศุลกากรของ EU
  • ผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) ระบุว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐดีดตัวสู่ระดับ 55.3 ในเดือน
มี.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 54.5 หลังจากแตะระดับ 54.2 ในเดือนก.พ.
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายภาคการก่อสร้างของสหรัฐพุ่งขึ้น 1.0% ในเดือนก.พ. แตะระดับสูงสุดใน
รอบ 9 เดือน ขณะที่สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจของสหรัฐเพิ่มขึ้น 0.8% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายเดือน สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่า
เพิ่มขึ้น 0.5% และยอดค้าปลีกเดือนก.พ.ของสหรัฐลดลง 0.2% สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่ายอดค้าปลีกจะเพิ่มขึ้น 0.3%
  • ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับยูโรและเงินเยน ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (1 เม.ย.)
หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใส ซึ่งรวมถึงดัชนีภาคการผลิตสหรัฐที่ขยายตัวสูงกว่าคาดในเดือนมี.ค. ส่วนเงินปอนด์แข็งค่าเมื่อ
เทียบกับดอลลาร์ ขณะที่นักลงทุนจับตาความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับกระบวนการที่อังกฤษจะถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit)
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (1 เม.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย และ
เข้าซื้อสินทรัพย์เสี่ยงที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า หลังจากตลาดหุ้นสหรัฐดีดตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ขานรับข้อมูลภาคการผลิตที่สดใสของสหรัฐและ
จีน
  • ข้อมูลเศรษฐกิจที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ได้แก่ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนก.พ., ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนมี.
ค.จาก ADP, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนมี.ค.จากมาร์กิต, ดัชนีภาคบริการเดือนมี.ค.จากสถาบันจัดการด้านอุปทาน
ของสหรัฐ (ISM), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมี.ค.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ