ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 31.81 แนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 31.75-31.85 ตลาดรอปัจจัยใหม่

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday April 17, 2019 09:20 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 31.81 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากปิด ตลาดเมื่อเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 31.76/77 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่ค่าเงินในตลาดโลกเคลื่อนไหวแบบผสม เนื่องจากตลาดรอปัจจัยใหม่เข้ามา

"บาทอ่อนค่าจากเมื่อเย็นวันศุกร์ ขณะที่ตลาดโลกทรงตัว เคลื่อนไหวแบบผสมเพราะตลาดยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามา" นักบริหาร
เงิน กล่าว

นักบริหารเงิน คาดวันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.75-31.85 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 6M (12 เม.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.81623%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 112.09 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 111.89/92 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.1283 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.1311/1315 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 31.8280 บาท/ดอลลาร์
  • ธนาคารกสิกรไทย ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทสำหรับสัปดาห์นี้ (15-19 เม.ย.) ที่ 31.60-31.90 บาท
ต่อดอลลาร์ฯ โดยอาจต้องติดตามปัจจัยในประเทศและทิศทางเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ ปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญ ได้แก่ ถ้อย
แถลงของเจ้าหน้าที่เฟด ความคืบหน้าในการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศคู่ค้าสำคัญ (ทั้งจีน และญี่ปุ่น) และจีดีพีประจำ
ไตรมาส 1/2562 ของจีน ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญระหว่างสัปดาห์ ประกอบด้วย ผลสำรวจกิจกรรมภาคการผลิตของเฟดสาขา
นิวยอร์ก ผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจของเฟดฟิลาเดลเฟีย ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนเม.ย. ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ยอดค้าปลีก ข้อมูลการ
เริ่มสร้างบ้านเดือนมี.ค. ตัวเลขเงินทุนไหลสุทธิเดือนก.พ. และรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ Beige Book ของเฟด
  • "เครดิตบูโร"เผย "ไอเอ็มเอฟ" ห่วงหนี้ครัวเรือนไทยพุ่ง หลัง พบยอดปรับโครงสร้างหนี้โตต่อเนื่องทั้งยังไหลกลับเป็นหนี้
เสียราว 40% สะท้อนคุณภาพหนี้เปราะบาง ชี้กลุ่ม"เจนวาย-เอ็กซ์" ครองแชมป์เบี้ยวหนี้สูง พบสินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อบุคคลแย่ลงต่อเนื่อง
ดันหนี้ครัวเรือน โตกระฉูด
  • สศช.เตรียมปรับคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปีนี้ใหม่ ยอมรับห่วงสงครามการค้ายืดเยื้อฉุดส่งออกโตต่ำ จับตาเศรษฐกิจจีนใกล้
ชิด หวั่นเงินหยวนอ่อนกระทบท่องเที่ยว ส่วนปัจจัยในประเทศยังต้องติดตาม ด้าน "แบงก์ชาติ" มองปัจจัยเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากทั้งใน-ต่าง
ประเทศ ขณะ สำนักวิจัยต่างๆ พาเหรดหั่นจีดีพีลง "นักวิเคราะห์" หนุนรัฐออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม
  • ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่าภายในเดือน เม.ย.นี้ ททท.เตรียมลงนามความร่วมมือกับ
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เพื่อร่วมกันส่งเสริมการพัฒนาการตลาดท่องเที่ยวในต่างประเทศ ทั้งด้านการดูแลในมิติการค้า และ
การท่องเที่ยว เช่น การจัดทำกิจกรรมส่งเสริมการขายในต่างประเทศร่วมกันตามนโยบายของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี
ที่ได้มอบนโยบายให้กับ ททท. หาทางร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์เพื่อหาทางพัฒนาการท่องเที่ยวร่วมกัน
  • อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่าขณะนี้กรมฯ เตรียมข้อมูลที่จะเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ)
ไทย-สหภาพยุโรป (อียู) และ ไทยสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (เอฟตา) หลังจากที่มีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ เนื่องจากเอกชนทั้งสอง
ฝ่ายรวมถึงผู้บริหารทั้งอียูและเอฟตาต้องการให้เกิดการเจรจาให้เร็วที่สุด เพราะจะช่วยขยายการค้า การลงทุน ให้มากขึ้นดังนั้นมั่นใจว่า
การเจรจาน่าจะมีความราบรื่น เพราะก่อนหน้านี้ทั้งสองฝ่ายก็มีการเจรจาเอฟทีเอในระดับหนึ่งแล้ว
  • สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้ติดตามและวิเคราะห์นโยบายการหาเสียงเลือกตั้งพรรค
การเมืองพบว่าทุกพรรคมีแนวนโยบายที่ดีแตกต่างกันไป โดยพรรคการเมืองหลัก ส่วนใหญ่มีนโยบายพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเป็นไปในทิศทาง
เดียวกับยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมของภาคเอกชนตอบโจทย์ความต้องการนักลงทุน ทั้งภายใน และภายนอกประเทศได้ เช่น การใช้
เทคโนโลยียกระดับขีดความสามารถแข่งขันให้สูงขึ้น, การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น, การปรับปรุงกฎหมายที่ล้าสมัยและไม่จำเป็น,
การปฏิรูปบทบาทภาครัฐให้เอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจภาคเอกชน
  • กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยในวันนี้ว่า ญี่ปุ่นมียอดเกินดุลการค้าในเดือนมี.ค.ที่ระดับ 5.285 แสนล้านเยน
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฟื้นฟูเศรษฐกิจญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ญี่ปุ่นและสหรัฐได้ตกลงที่จะรวมประเด็นการค้าผ่านระบบดิจิทัลไว้ใน
การเจรจาข้อตกลงการค้าทวิภาคีที่เพิ่งเริ่มต้นขึ้น
  • นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ ดุลการค้าเดือนก.พ., สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่ง
เดือนก.พ., รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book จากเฟด, จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีการผลิตเดือน
เม.ย.จากเฟดฟิลาเดลเฟีย, ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นเดือนเม.ย.จากมาร์กิต, ดัชนี
ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเบื้องต้นเดือนเม.ย.จากมาร์กิต, สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนก.พ. และ ตัวเลขการเริ่ม
สร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนมี.ค.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ