กกพ.อนุมัติจัดตั้งโรงไฟฟ้าขยะชุมชน 11 โครงการ กำลังผลิตติดตั้ง 83 MW มูลค่าลงทุนรวม 1.31 หมื่นลบ.

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday April 17, 2019 13:19 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นางสาวนฤภัทร อมรโฆษิต เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า กกพ. มีมติเห็นชอบอนุมัติโครงการรับซื้อไฟฟ้า ภายใต้โครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชน จากพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเข้าร่วมโครงการ จำนวน 9 จังหวัด ทั่วประเทศ รวม 11 โครงการ โดยคิดเป็นปริมาณที่รับซื้อได้ รวม 68.90 เมกะวัตต์ จากกำลังผลิตติดตั้ง รวม 83.04 เมกะวัตต์ และมีกำลังจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์เข้าสู่ระบบ (SCOD) ภายใน 31 ธันวาคม 2562

"จากการที่สำนักงาน กกพ. ได้มีการจัดทำความร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทย ภายใต้โครงการที่มีความพร้อมสามารถดำเนินการในระยะแรก หรือ โครงการ Quick Win สามารถร่วมกันอนุมัติโครงการที่ดำเนินการโดยองค์กรส่วนปกครองท้องถิ่นแล้วทั้งสิ้น 11 โครงการจากพื้นที่มีศักยภาพรวม 9 จังหวัดทั่วประเทศ พร้อมกันนี้ กกพ. ได้มีการออกประกาศรับรองอย่างเป็นทางการเรียบร้อยแล้ว" นางสาวนฤภัทร กล่าว

ก่อนหน้านี้ กกพ. ได้ออกประกาศและหลักเกณฑ์การจัดหาไฟฟ้าจากขยะชุมชนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการแข่งขันด้านราคา (Competitive Bidding) ซึ่งมีเป้าหมายการรับซื้อ รวม 77.9 เมกะวัตต์ โดยได้เปิดให้ยื่นคำร้องและข้อเสนอขอขายไฟฟ้า มาตั้งแต่ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2560 - 31 มีนาคม 2562 ซึ่งสามารถสรุปยอดผู้ที่ผ่านการพิจารณาอนุมัติจาก กกพ. หลังปิดรับยื่นคำร้องฯ มีรายละเอียดดังนี้

ผู้ยื่นคำร้อง และข้อเสนอ                องค์กรปกครอง                    ที่ตั้งโรงไฟฟ้า                         ขนาดกำลัง       ปริมาณพลัง
ขอขายไฟฟ้า                           ส่วนท้องถิ่น                                                       การผลิตติดตั้ง      ไฟฟ้าเสนอขาย
                                                                                                   (เมกะวัตต์)       (เมกะวัตต์)
บริษัท หนองคายน่าอยู่ จำกัด            องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย     ต.โพนสว่าง อ.เมืองหนองคาย จ.หนองคาย      8.00          6.0
บริษัท อัลไลแอนซ์ คลีนเพาเวอร์ จำกัด    เทศบาลเมืองกระบี่                 ต.ไสไทย/ต.ทับปริก  อ.เมืองกระบี่ จ.กระบี่     5.00          4.4
บมจ. โกลบอล เพาเวอร์
ซินเนอร์ยี่ (GPSC)                  องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง        ต.น้ำคอก อ.เมืองระยอง  จ.ระยอง           9.80          8.0
ผู้ยื่นคำร้อง และข้อเสนอ                องค์กรปกครอง                    ที่ตั้งโรงไฟฟ้า                             ขนาดกำลัง       ปริมาณพลัง
ขอขายไฟฟ้า                           ส่วนท้องถิ่น                                                           การผลิตติดตั้ง      ไฟฟ้าเสนอขาย
                                                                                                         (เมกะวัตต์)    (เมกะวัตต์)
บริษัท สยาม พาวเวอร์ จำกัด         องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี          ม.2 ต.คลองขวาง อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี           9.50         8.00
บริษัท บุญ เอเนอร์ซิส จำกัด          องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี          ม.8 ต.คลองขวาง อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี           6.24         5.00
บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด          ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยอ่อนนุช กรุงเทพฯ      ซอยอ่อนนุช 86 ถนนอ่อนนุช เขตประเวศ  กรุงเทพฯ   3.00         3.00
บริษัท พาโนว่า จำกัด               เทศบาลตำบลนครหลวง                 ต.บางระกำ อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา       9.90         8.00
บริษัท เอ็นคอม เวสท์ ทู
เอ็นเนอร์จี่  (พระนครศรีอยุธยา)
จำกัด                           องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ต.มหาพราหมณ์  อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา     6.50         5.00
บริษัท มิทท คอร์ปอเรชั่น จำกัด        เทศบาลเมืองพระพุทธบาท               ต.หนองไข่น้ำ อ.หนองแค จ.สระบุรี               9.50         8.00
บริษัท ไทยโซริด รีนิวเอเบิล
เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด                  เทศบาลนครอุดรธานี                   ต.หนองนาคำ อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี          9.60         8.00
บริษัท คลีน แพลนนิ่ง จำกัด           เทศบาลนครแม่สอด                    ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก                      6.00         5.50
                                         รวม                                                              83.04        68.90
          อย่างไรก็ตาม สำหรับโครงการรับซื้อไฟฟ้าฯ ดังกล่าว เป็นผลสำเร็จของการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนแนวทางของรัฐบาลในการบริหารจัดการภาคพลังงานให้มีความมั่นคง
และมีเสถียรภาพด้วยความพยายามที่จะเพิ่มความหลากหลายในการผลิตไฟฟ้า ควบคู่กับการกระจายแหล่ง และประเภทเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า โดยที่ไม่พึ๋งพิงแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิล
ประเภทใดประเภทหนึ่งมากเกินไป ทั้งยังสามารถที่จะส่งเสริมการลดปริมาณขยะมูลฝอยในชุมชนซึ่งเป็นปัญหาหลักของท้องถิ่น ควบคู่กับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

แท็ก ผลิตไฟฟ้า  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ