ภาวะตลาดเงินบาท: เย็นนี้ 31.93 อ่อนค่าเล็กน้อยจากช่วงเช้าสวนตลาด จับตาเงินเฟ้อไทย-ประชุม FOMC

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday April 30, 2019 16:12 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทช่วงเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 31.93 บาท/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่เปิด ตลาดที่ระดับ 31.92 บาท/ดอลลาร์

ระหว่างวันเงินบาทแข็งค่าสุดที่ระดับ 31.90 บาท/ดอลลาร์ และอ่อนค่าสุดที่ระดับ 31.98 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทอ่อน ค่าเล็กน้อยจากช่วงเช้า และเป็นการอ่อนค่าสวนทางกับสกุลเงินหลัก เช่น เงินเยน และเงินยูโรที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ซึ่ง สาเหตุที่เงินบาทอ่อนค่าสวนทางตลาด น่าจะเป็นเพราะเป็นช่วงฤดูกาลจ่ายเงินปันผล จึงทำให้มีความต้องการซื้อดอลลาร์มากขึ้น

"บาทอ่อนค่าสวนทางตลาด น่าจะเป็นเพราะมีความต้องการดอลลาร์มากขึ้น ตอนนี้เป็นช่วงการจ่ายเงินปันผล มีการโอนเงิน ออกไปต่างประเทศ" นักบริหารเงินระบุ

ทั้งนี้ ต้องจับตาการแถลงอัตราเงินเฟ้อเดือนเม.ย.62 ของกระทรวงพาณิชย์ในวันพรุ่งนี้ (1 พ.ค.) รวมทั้งผลการประชุม คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ซึ่งจะทราบผลในเช้าวันที่ 2 พ.ค.นี้ โดยตลาดยังคาดว่า FOMC จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับเดิมที่ 2.25-2.50% แต่ต้องดูสัญญาณจากถ้อยแถลงที่ออกมาว่าจะประเมินทิศทางเศรษฐกิจของสหรัฐ อย่างไร

นักบริหารเงิน คาดว่า วันพฤหัสบดี เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.85 - 32.00 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 31.9550 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 111.37 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 111.62 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1201 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1184 ดอลลาร์/ยูโร
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยเดือน มี.ค.62 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อน โดยอุป
สงค์ต่างประเทศหดตัว ทั้งการส่งออกสินค้าและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ด้านอุปสงค์ในประเทศ เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ชะลอตัว การใช้จ่ายภาครัฐหดตัวเล็กน้อยจากรายจ่ายประจำที่เร่งเบิกจ่ายไปในช่วงก่อนหน้า และเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนหดตัวจาก
ทั้งการลงทุนในหมวดก่อสร้าง และหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มองว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/62 ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อน โดยการส่ง
ออกหดตัวในหลายหมวดจากอุปสงค์ในตลาดโลกที่ชะลอลง ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวตาม ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวขยายตัว
ชะลอลง ส่วนหนึ่งผลจากฐานที่สูงในปีก่อน โดยเฉพาะจากนักท่องเที่ยวจีน อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ในประเทศโดยรวมยังขยายตัวดี โดย
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในทุกหมวดการใช้จ่าย และการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวจากรายจ่ายประจำ ส่วนเครื่องชี้การลงทุน
ภาคเอกชนหดตัวเล็กน้อย
  • ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธปท. เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/62 คาดว่าจะขยายตัวต่ำกว่าที่
ประมาณการไว้ที่ 3.4% และชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลมาจากการส่งออกหดตัวในหลายหมวดสินค้า จากอุปสงค์ในตลาดโลกที่
ชะลอตัวลง โดยการส่งออกหดตัว 3.6% และมีแนวโน้มที่การส่งออกในไตรมาส 2/62 จะขยายตัวติดลบต่อเนื่อง แต่จะปรับตัวดีขึ้น

ดังนั้น กรณีที่เกิดขึ้นอาจทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยทั้งปี 62 มีแนวโน้มจะไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ 3.8% ขณะที่การ ส่งออกทั้งปีคาดว่าจะต่ำกว่าที่ประเมินไว้ที่ 3% ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะพิจารณาตัวเลขประมาณการอีกครั้ง

  • ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติมาตรการพยุงเศรษฐกิจในช่วงกลางปี แบ่งมาตรการได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก
ช่วยเหลือผ่านผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่ให้เงินเพิ่มในค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น เบี้ยคนพิการ, ปัจจัยการผลิตสินค้าเกษตร, ค่าชุดนักเรียน
และอุปกรณ์การศึกษา, การเพิ่มกำลังซื้อในร้านธงฟ้า รวมวงเงิน 13,200 ล้านบาท และกลุ่มสอง เป็นมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการใช้
จ่ายในประเทศ และระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมาตรการทั้ง 2 กลุ่มนี้ คาดว่าจะช่วยดัน GDP ในปีนี้เพิ่มขึ้นอีก 0.1% เป็น 3.9%
  • ธนาคารกลางจีน (PBOC) ระงับการทำธุรกรรมการซื้อหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายคืน (Reverse Repos) ในงบ หลัง
สภาพคล่องระหว่างธนาคารอยู่ในระดับค่อนข้างสูง เนื่องจากรายจ่ายด้านการคลังที่แข็งแกร่งในช่วงสิ้นเดือน ทั้งนี้เป็นการระงับการอัดฉีด
เงินเข้าสู่ตลาดเงินเป็นวันที่ 5 ติดต่อกัน
  • ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) เปิดเผย ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ (BSI) เกาหลีใต้ในเดือนพ.ค.เพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุด
ในรอบ 7 เดือน นับตั้งแต่เดือนต.ค.61 โดยได้แรงหนุนจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำให้มีการส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเพิ่มขึ้น ทั้ง
นี้ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ เดือนพ.ค.อยู่ที่ระดับ 77 จุด เพิ่มขึ้น 1 จุดจากระดับ 76 จุดในเดือนก.พ.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ