ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 31.16 แข็งค่าในรอบ 4 เดือน คาดกรอบสัปดาห์หน้า 31.10-31.20 จับตายอดค้าปลีกสหรัฐฯคืนนี้-เงินทุนเคลื่อนย้าย-ผลประชุมเฟด

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 14, 2019 17:35 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นวันนี้ที่ระดับ 31.16 บาท/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่ เปิดตลาดที่ระดับ 31.19 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวระหว่าง 31.16-31.26 บาท/ดอลลาร์

"ที่ระดับ 31.16 ถือว่าแข็งค่าสุดในรอบ 4 เดือนนับตั้งแต่ 21 กุมภาพันธ์ 2562" นักบริหารเงิน กล่าว

สำหรับปัจจัยหลักๆ ช่วงนี้ยังคงเป็นเรื่องของกระแสเงินทุนเคลื่อนย้าย คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคาร กลางสหรัฐ (FOMC) เตรียมแถลงมติอัตราดอกเบี้ย

เบื้องต้น ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทวันจันทร์หน้า (17 มิ.ย.) ไว้ระหว่าง 31.10-31.20 บาท/ดอลลาร์

อย่างไรก็ตาม คืนวันนี้จะมีตัวเลขยอดค้าปลีกเดือน พ.ค.ของสหรัฐฯ หากออกมาไม่ดีมีโอกาสที่เงินบาทอาจจะหลุด 31.10 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 108.20 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ 108.32 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1267 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ 1.1274 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,672.33 จุด ลดลง 1.81 จุด, -0.11% มูลค่าการซื้อขาย 42,432.02 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 369.56 ลบ.(SET+MAI)
  • ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยถึงภาพรวมการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ
ในช่วงที่ผ่านมาว่า มีทิศทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่สคร.ได้เร่งรัดและติดตามการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่ยังมีการเบิกจ่าย
ล่าช้า โดยเฉพาะการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จากความล่าช้าต่อเนื่องของโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 และ
บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT) หรือ ทอท. จากความล่าช้าของโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ปีงบประมาณ 2554-2560)
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในการประชุมนโยบายการเงินวันที่ 18-19 มิ.ย.62 ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ไม่
น่าจะปรับเปลี่ยนมุมมองภาพการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จากประมาณการรอบก่อนอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่เฟดมีโอกาสปรับมุมมองเงิน
เฟ้อลงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และอาจส่งสัญญาณแสดงความกังวลต่อความเสี่ยงของเศรษฐกิจภายนอกมากขึ้น

เมื่อมองไปข้างหน้า พัฒนาการของประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ คงเป็นตัวแปรสำคัญต่อความเสี่ยงการ เติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อันเป็นปัจจัยที่จะส่งผลต่อจังหวะในการตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ปัจจัยข้อพิพาททางการค้า อาจ จะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีนัยสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในระยะข้างหน้าได้

  • ผลสำรวจซึ่งจัดทำโดยหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัล บ่งชี้ว่า นักเศรษฐศาสตร์กว่า 3 ใน 4 คาดการณ์ว่า ธนาคาร
กลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้
  • เจ้าหน้าที่ยูโรโซนรายหนึ่งเปิดเผยว่า รมว.คลังของสหภาพยุโรป (EU) ยังไม่สามารถตกลงกันได้ในการเจรจาเมื่อวานนี้
และในวันนี้ เกี่ยวกับบางประเด็นที่สำคัญสำหรับการกำหนดงบประมาณในอนาคตของยูโรโซน และได้ตัดสินใจที่จะยังคงหารือกันอีกในเดือน
ต่อๆ ไป
  • ผู้ว่าการธนาคารกลางจีน (PBOC) กล่าววานนี้ว่า PBOC จะเพิ่มการสนับสนุนในการทำให้นครเซี่ยงไฮ้กลายเป็นศูนย์กลาง
การเงินระหว่างประเทศ
  • รัฐมนตรีเศรษฐกิจญี่ปุ่นเปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นและประธานาธิบดีสหรัฐ จะให้ความสำคัญกับประเด็นการค้า เอเชีย
ตะวันออก และประเด็นระหว่างประเทศ ในการพบปะกันนอกรอบการประชุมซัมมิตของกลุ่ม G20 ที่เมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวัน
ที่ 28-29 มิ.ย.นี้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ