ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 31.31/35 แนวโน้มแกว่งแคบ ตลาดรอผลประชุมเฟดส่งสัญญาณดอกเบี้ย มองกรอบวันนี้ 31.25-31.40

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 18, 2019 09:40 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 31.31/35 บาท/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ ที่ปิดตลาดที่ระดับ 31.30 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทเช้านี้อ่อนค่าเล็กน้อยจากในช่วงเย็นวาน ซึ่งน่าจะเป็นการอ่อนค่าจากการทำกำไรกลับของเงินบาท โดยคาดว่าวันนี้ เงินบาทจะเคลื่อนไหวไม่หวือหวามากนัก เพราะตลาดยังรอดูผลประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ซึ่งมีการประชุมในระหว่างวันที่ 18-19 มิ.ย.นี้ ว่าจะมีการส่งสัญญาณที่ชัดเจนในเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายสำหรับปีนี้ อย่างไร

"วันนี้บาทคงเคลื่อนไหวไม่หวือหวามาก เพราะตลาดน่าจะรอดูผลประชุมเฟดก่อน ว่าจะส่งสัญญาณการลดดอกเบี้ยอย่างไร โดยตลาดคาดว่าเฟดน่าจะเริ่มลดดอกเบี้ยได้ในเดือนหน้า" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.25-31.40 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (17 มิ.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.70539% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.68314%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 108.15/55 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นที่ระดับ 108.62 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1210/1255 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นที่ระดับ 1.1209 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 31.2560 บาท/ดอลลาร์
  • ทุนนอกทะลักบอนด์ไทย เผยเดือนครึ่งไหลเข้ากว่า 5.7 หมื่นล้าน เฉพาะเดือน มิ.ย.ราว 4.4 หมื่นล้าน "ไทยบีเอ็ม
เอ" ชี้ต่างชาติมองไทยเป็น "เซฟเฮฟเว่น" ขณะ "เจพี.มอร์แกน" เพิ่มน้ำหนักบอนด์ไทย ส่งผลเงินนอกไหลเข้าอื้อ เผยส่วนใหญ่เข้าตัว
ยาว ด้านนักวิเคราะห์ ประเมินทิศทางเงินบาทยังแข็งค่า แนะจับตาประชุมเฟดกลางสัปดาห์นี้
  • กระทรวงการท่องเที่ยวฯ เร่งเครื่องดึงต่างชาติเที่ยวไทย หลังพบ 4 เดือนแรกขยายตัวแค่ 1.8% จากปกติโตราวๆ 8-
10% โดยเฉพาะภาคใต้ทั้งภูเก็ต-พังงา เหงาสุดๆ เอกชนจี้รัฐเร่งแก้ปัญหา ขณะที่ปลัดท่องเที่ยวฯ ล้อมคอกนักท่องเที่ยวเสียชีวิตจากจยย.
ให้เช่าจำนวนมาก
  • กระทรวงการคลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเมื่อวานนี้บ่งชี้ว่า จีนถือครองพันธบัตรสหรัฐลดลงเหลือ 1.113 ล้านล้านดอลลาร์ใน
เดือนเม.ย. โดยมูลค่าการถือครองลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน
  • รมว.คลังอังกฤษ กล่าวว่า อังกฤษหวังว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และประธานาธิบดีสี จิ้นผิงจะสามารถสร้างความคืบ
หน้าต่อการผ่อนคลายความตึงเครียดทางการค้า เมื่อทั้งสองพบปะกันในการประชุมสุดยอด G20 ในเดือนนี้
  • สมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB) ของสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านปรับตัวลง 2 จุด สู่ระดับ 64 ใน
เดือนมิ.ย. หลังจากแตะระดับ 66 ในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค.ปีที่แล้ว
  • เฟดสาขานิวยอร์กรายงานว่า ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Index) ทรุดตัวลง 26 จุด สู่ระดับ -8.6 จุดใน
เดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปีครึ่ง จากระดับ 17.8 ในเดือนพ.ค.
  • ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวในกรอบแคบเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (17
มิ.ย.) ขณะที่นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 18-19 มิ.ย.นี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ถึงแนว
โน้มอัตราดอกเบี้ยในปีนี้
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (17 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากสัญญาทองคำปรับตัวขึ้น
ติดต่อกัน 4 วันทำการก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ นักลงทุนยังชะลอการซื้อขายก่อนที่จะทราบผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลาง
สหรัฐ (เฟด) ในวันพุธนี้ตามเวลาสหรัฐ
  • นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 18-19 มิ.ย.นี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาด
การณ์ว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้

อย่างไรก็ดี ตลาดการเงินได้เพิ่มการคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดในปีนี้ หลังการเปิดเผยตัวเลขการ จ้างงานที่อ่อนแอของสหรัฐ ขณะที่เจ้าหน้าที่เฟดหลายราย ซึ่งรวมถึงนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ก็ได้ส่งสัญญาณการปรับลดอัตรา ดอกเบี้ย ท่ามกลางความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีน

  • มอร์แกน สแตนลีย์ออกบทวิเคราะห์ "Beyond the G20" ระบุว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ย
ใกล้ 0% ภายในฤดูใบไม้ผลิปีหน้า ถ้าหากความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีนยังคงย่ำแย่ลง และส่งผลกระทบทำให้เศรษฐกิจสหรัฐ
เข้าสู่ภาวะถดถอย
  • ข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ได้แก่ ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้าง
เดือนพ.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดุลบัญชีเดินสะพัดไตรมาส 1/2562, ดัชนีการผลิตเดือนมิ.ย.จากเฟดฟิลาเด
ลเฟีย, ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนพ.ค.จาก Conference Board, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นต้นเดือนมิ.ย.จากมา
ร์กิต, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นต้นเดือนมิ.ย.จากมาร์กิต และยอดขายบ้านมือสองเดือนพ.ค.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ