ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 30.73 แข็งค่าหลัง กนง.มีมติคงดอกเบี้ย พร้อมจับตาบาทแข็งค่าใกล้ชิดหลังไม่สอดคล้องพื้นฐาน

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 26, 2019 17:39 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดวันนี้ที่ระดับ 30.73 บาท/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่ เปิดตลาดที่ระดับ 30.83/85 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวระหว่าง 30.70-30.87 บาท/ดอลลาร์

"วันนี้เงินบาทแข็งค่าหลัง กนง. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.75% ซึ่งเป็นการโหวตอย่างเป็นเอกฉันท์ติดกันเป็นครั้ง ที่ 3 ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าและซื้อขายแถวระดับ 30.75 ต่อดอลลาร์...ถือว่านับตั้งแต่ต้นปีเงินบาทแข็งค่ามากกว่า 5% และเป็นสกุล เงินที่แข็งค่ามากกว่าสกุลอื่นๆ ในภูมิภาค ส่วนที่ 2 คือ เปโซ ฟิลิปปินส์ แข็งค่าประมาณ 2%" นักบริหารเงินระบุ

นอกจากนี้ ในวันนี้คณะกรรมการ กนง.ได้แสดงความเห็นกรณีที่เงินบาทแข็งค่าเร็วเกินไปอาจไม่ได้สะท้อนปัจจัยพื้นฐานทาง เศรษฐกิจ

สำหรับวันพรุ่งนี้ ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทไว้ระหว่าง 30.70-30.80 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 107.64 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ 107.37 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1365 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ 1.1357 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,722.21 จุด เพิ่มขึ้น 0.88 จุด, +0.05% มูลค่าการซื้อขาย 64,024.43 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 5,022.29 ลบ.(SET+MAI)
  • ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.75% ต่อปีหลังมอง
เศรษฐกิจไทยปีนี้มีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้จากผลกระทบของการส่งออกสินค้าและบริการที่สำคัญ
  • กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา มีความเห็นต่อผลการประชุมกนง. หลัง กนง. มีมติคงอัตราดอกเบี้ย
นโยบายที่ 1.75% ซึ่งเป็นการโหวตอย่างเป็นเอกฉันท์ติดกันเป็นครั้งที่ 3 ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าและซื้อขายแถวระดับ 30.75 ต่อดอลลาร์
  • ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการ
เงิน (กนง.) ระบุว่า ในการประชุมรอบนี้ กนง.ส่งสัญญาณชัดเจนว่ามีความกังวลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่แข็งค่าค่อนข้างเร็ว
และไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐาน โดยมอบหมายให้ ธปท.ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากเงินบาทแข็งค่ามากกว่าค่าเงินสกุลอื่นใน
ภูมิภาค
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทย (GDP) ในปี 62 ลงเหลือโต 3.1% จากเดิมที่ 3.7% โดยมีปัจจัย
สำคัญจากผลกระทบของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนที่ทำให้การส่งออกไทยชะลอตัว พร้อมกันนี้ ยังได้ปรับลดประมาณการส่งออกไทย
ในปีนี้ลงเหลือ 0% จากเดิมที่ 3.2% เนื่องจากทิศทางการค้าโลกชะลอตัวจากปัญหาสงครามการค้า

ขณะที่ทิศทางค่าเงินบาทในปัจจุบันถือว่าแข็งค่าขึ้นอย่างมาก โดยแข็งค่าขึ้นเกือบ 6% ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน ซึ่งมาจากการที่ ตลาดรับปัจจัยของการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ส่งสัญญาณโอกาสของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯในการประชุมเดือนก.ค.ที่จะถึง นี้ ทำให้กระแสเงินทุนกลับมาไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น รวมถึงไหลเข้าในตลาดหุ้นและตสาดสารหนี้ไทยอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา โดยที่ในสิ้นปีนี้ยังคงค่าเงินบาทอยู่ที่ 31 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ แต่หากธนาคารกลางสหรัฐฯลดอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯลง 1 ครั้งในการประชุม ครั้งหน้าในเดือนก.ค.ที่จะถึงนี้ จะส่งผลให้มีกระแสเงินทุนไหลเข้ามาในตลาดเกิดใหม่ ซึ่งจะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าในสิ้นปีนี้ที่ระดับ 30.50 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ

  • นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ยอมรับว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีแรกนี้มีการชะลอตัวลง จากสาเหตุของ
การเมืองภายในประเทศที่เป็นช่วงการเลือกตั้งทั่วประเทศและยังไม่มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ จึงทำให้ไม่สามารถออกนโยบายได้ แต่ทั้งนี้
เชื่อว่าในช่วงครึ่งปีหลัง เมื่อมีรัฐบาลใหม่ชัดเจน การบริหารประเทศและขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ ตลอดจนการลงทุนก็จะเริ่มมีมากขึ้น และ
เศรษฐกิจก็จะเข้าสู่ภาวะปกติ
  • รายงาน China Beige Book ซึ่งเป็นรายงานสำรวจภาวะเศรษฐกิจของจีน ซึ่งจัดทำโดย CBB International ชี้ให้
เห็นว่า เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยในไตรมาส 2 ปีนี้ แต่ก็มีแนวโน้มที่จะเผชิญกับความเสี่ยงมากขึ้นในวันข้างหน้า
  • รมว.คลังสหรัฐ กล่าวว่า สหรัฐและจีนใกล้บรรลุข้อตกลงการค้าแล้ว โดยเชื่อมั่นว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และ
ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงจะสามารถสร้างความคืบหน้าต่อการเจรจาการค้าในการประชุม G20 ที่นครโอซากา ประเทศญี่ปุ่น ในช่วงสุดสัปดาห์
นี้
  • เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลสหรัฐเปิดเผยวานนี้ว่า สหรัฐหวังที่จะเปิดเจรจาการค้ารอบใหม่กับจีน หลังจากประธานาธิบดี
โดนัลด์ ทรัมป์และประธานาธิบดีสี จิ้นผิงพบปะกันที่ญี่ปุ่นในวันเสาร์นี้ แต่สหรัฐจะไม่ยอมรับเงื่อนไขใดๆ เกี่ยวกับการเก็บภาษีของสหรัฐใน
ความขัดแย้งดังกล่าว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ