ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 30.85 มองกรอบวันนี้ 30.80-30.90 ติดตามการประชุมเฟดสัปดาห์นี้

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday July 30, 2019 09:30 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 30.85 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากปิด ตลาดเมื่อเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 30.91/92 บาท/ดอลลาร์ โดยตลาดรอดูผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในคืนวันพุธนี้ว่าจะมีมติ ปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% หรือ 0.50% นอกจากนี้ยังมีการเจรจาคลี่คลายความขัดแย้งทางการค้าของสหรัฐกับจีนแต่ตลาดไม่ได้คาดหวัง อะไรมากนัก

"บาทแข็งค่าจากเมื่อเย็นวันศุกร์ โดยตลาดรอดูผลประชุมเฟดว่าจะลดดอกเบี้ยเท่าไหร่" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน ประเมินเงินบาทวันนี้จะเคลื่อนไหวในกรอบ 30.80 - 30.90 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (26 ก.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.38217% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.37593%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 108.79 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 108.60/64 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.1137 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.1140/1143 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 30.9800 บาท/ดอลลาร์
  • ธนาคารกสิกรไทย มองว่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวผันผวนในกรอบ 30.70-31.10 ในช่วงต้นสัปดาห์ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของ
สหรัฐฯ และจีนมีกำหนดพบปะกันที่เมืองเซี่ยงไฮ้เพื่อเริ่มการเจรจาทางการค้าอย่างเป็นทางการอีกครั้ง หลังจากที่การเจรจาระหว่างทั้ง
สองฝ่ายล้มเหลวในเดือนพฤษภาคม อย่างไรก็ดี ตลาดคาดการณ์ว่าจะเป็นการหารือกันในภาพกว้างของประเด็นที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ และจะ
ยังไม่สามารถหาข้อตกลงได้ชัดเจน ด้านการประชุมนโยบายการเงิน ตลาดคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะมีมติปรับลดอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายลง 25 bps ในการประชุมนโยบายการเงินช่วงกลางสัปดาห์

ทั้งนี้ เงินดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่าลงหาก เฟดส่งสัญญาณการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมในช่วงที่เหลือของปี นอก จากนี้ นักลงทุนยังรอติดตามการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษและธนาคารกลางญี่ปุ่นที่คาดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง นโยบาย ด้านตัวเลขเศรษฐกิจ ตลาดรอติดตามตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯ และดุลบัญชีเดินสะพัดของไทย

  • ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมการใช้จ่ายเงินสดหรือการทำธุรกรรมด้วยเงินสดของประชาชนในประเทศมีแนว
โน้มลดลงมาก โดยการถอนเงินสดออกจากสาขาธนาคารทุกแห่งมีปริมาณลดลงถึง 15-20% และการถอนเงินสดจากตู้เอทีเอ็มมีจำนวนลดลง
อย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน ซึ่งตัวเลขในไตรมาสแรกของปีนี้ลดลงแล้วถึง 2-3%
  • ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สนค.อยู่ระหว่างจัดทำยุทธศาสตร์
เศรษฐกิจใหม่ร่วมกับภาคเอกชนตามนโยบายของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สั่งการ
ไว้ นำร่อง 2 ด้านก่อนคือ อุตสาหกรรมชีวภาพครบวงจร (ไบโอฮับ) และภาคบริการ คาดจะนำเสนอ รมว.พาณิชย์พิจารณาได้เร็วๆนี้
  • ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า เตรียมหารือและเสนอแผนกระตุ้นภาคท่องเที่ยวไทยต่อนาย
พิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อเร่งผลักดันให้เศรษฐกิจไทยเดินไปข้างหน้า
  • นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในวันนี้ ขณะที่ตลาดคาดการณ์ว่า BOJ จะยังคง
ให้คำมั่นในการตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเอาไว้ที่ระดับ -0.1% และกำกับดูแลให้เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (yield curve)
ประเภทอายุ 10 ปี ยังคงอยู่ที่ระดับประมาณ 0% ผ่านการเข้าซื้อพันธบัตรมูลค่ามหาศาล
  • เจ้าหน้าที่สหรัฐและจีนเตรียมเปิดฉากการเจรจาการค้าที่นครเซี่ยงไฮ้ในวันนี้ โดยการเจรจาครั้งนี้จะเป็นการพบกันแบบตัว
ต่อตัวครั้งแรกนับตั้งแต่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้ตกลงกันในระหว่างการประชุม G20 ที่ประเทศญี่ปุ่นว่า
ทั้งสองฝ่ายจะสงบศึกการค้าชั่วคราว และจะจัดการเจรจาร่วมกันอีกครั้ง
  • นักลงทุนจับตาแถลงการณ์ของนายเจอโรม พาวเวล ซึ่งจะมีขึ้นภายหลังการประชุมนโยบายการเงินของเฟดในวันพุธที่ 31
ก.ค.ตามเวลาไทย เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้เกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ รวมทั้งมุมมองของนายพาวเวลที่มีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐและ
เศรษฐกิจทั่วโลก
  • FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่า มีโอกาสเกือบ 76% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย
ลง 0.25% และมีโอกาสเพียง 24% ที่เฟดจะปรับลดดอกเบี้ยลง 0.50% ในการประชุมครั้งนี้
  • นักลงทุนรอดูข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล

(PCE) เดือนมิ.ย., การใช้จ่ายส่วนบุคคลเดือนมิ.ย., ดัชนีราคาบ้านเดือนพ.ค.จากเอสแอนด์พี/เคส-ชิลเลอร์, ยอดทำสัญญาขายบ้านที่

รอปิดการขาย (pending home sales) เดือนมิ.ย., ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน, ตัวเลขจ้างงานภาค

เอกชนเดือนก.ค.จาก ADP, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโกเดือนก.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีผู้

จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนก.ค.จากมาร์กิต, ดัชนีภาคการผลิตเดือนก.ค. จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ

(ISM), การใช้จ่ายภาคการก่อสร้างเดือนมิ.ย., ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนก.ค., ดุลการค้าเดือนมิ.ย., ยอดสั่งซื้อภาคโรง

งานมิ.ย. และความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ