ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 30.72/73 แกว่งแคบ แนวโน้มยังแข็งค่าตามภูมิภาค คาดกรอบสัปดาห์หน้า 30.60-30.85

ข่าวเศรษฐกิจ Friday August 9, 2019 17:29 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 30.72/73 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงกับ ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 30.70/74 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทค่อนข้างวิ่งอยู่ในกรอบแคบๆ เนื่องจากไม่มีปัจจัยสำคัญที่จะมีผลต่อทิศทางการเคลื่อนไหวของเงินบาทมากนัก แต่ ทั้งนี้เงินบาทยังมีแนวโน้มไปในทิศทางที่แข็งค่าเช่นเดียวกับค่าเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาค

สำหรับปัจจัยที่จะมีผลในสัปดาห์หน้ายังคงเป็นเรื่องสงครามการค้า รวมทั้งติดตามการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจของแต่ละ ประเทศที่สำคัญ

นักบริหารเงิน คาดว่าสัปดาห์หน้าเงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 30.60 - 30.85 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 105.83/85 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 105.95 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1202/1206 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1195 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,650.64 จุด ลดลง 14.48 จุด (-0.87%) มูลค่าการซื้อขาย 59,241 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,029.87 ลบ.(SET+MAI)
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงการเติบโตของสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 2/62 อยู่ที่ 4.2%
ลดลงจาก 5.6% ในไตรมาสก่อน สอดคล้องกับทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้การปล่อยสินเชื่อลดลงตามไปด้วย ซึ่งคาดว่าแนวโน้มการขยายตัวสินเชื่อปีนี้จะต่ำ กว่าปีก่อน หรือขยายตัวไม่ถึง 6%

  • ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สภาหอการค้าฯ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) ได้
เข้าพบกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อหารือถึงปัญหาด้านการค้าการลงทุนต่างๆ โดยได้มีข้อเสนอต่อ ธปท.ให้ลดอัตราดอกเบี้ย
นโยบายเพิ่มเติม เนื่องจากเงินบาทยังแข็งค่าอยู่ และให้ดูแลการเคลื่อนย้ายเงินทุน ดูเงินไหลเข้าไหลออก หากพบสัญญาเก็งกำไรให้มี
มาตรการดูแล
  • ธปท. สภาหอการค้าฯ และ ส.อ.ท.จะร่วมกันผลักดันผ่านธนาคารพาณิชย์ และผู้ประกอบการให้เลือกใช้เงินบาทหรือ
Local Currency มากขึ้น รวมทั้งเห็นพ้องกันในการสนับสนุนให้ภูมิภาคมี Payment Connectivity เพื่อช่วยลดต้นทุนของผู้ประกอบ
การ และค่าใช้จ่ายของแรงงานในการโอนเงินกลับประเทศ
  • รมว.พาณิชย์ ประชุมร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย พร้อมเครือข่ายหอการค้าไทย หอการค้า 76 จังหวัด หอการ
ค้าต่างประเทศ สมาคมการค้า และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (UTCC) โดยมีควาเมห็นร่วมกันตั้งวอร์รูมร่วมระหว่างกระทรวงพาณิชย์ กับ
ภาคเอกชน ซึ่งจะมีผู้แทนของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยด้วย เพื่อติดตามสถานการณ์หาทางออกร่วมกันเพื่อเดินหน้าการค้าของประเทศ
ไทยสู่ตลาดโลก และมีความเห็นร่วมกันที่จะเร่งรัดการส่งออก โดยจะมีคณะทำงานเจาะลึกการส่งออกทั้งรายสินค้า-บริการ และรายตลาด
ทั้งนี้เพื่อให้กระทรวงพาณิชย์เข้าไปสนับสนุนเป็นทัพหนุน และให้เอกชนเป็นทัพหน้าตามแนวที่ให้ไว้
  • รมว.คลัง กล่าวถึงการตั้งคณะกรรมการดูแลเสถียรภาพวินัยการเงินการคลังของประเทศว่า ขณะนี้กระทรวงการคลัง และ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้หารือในเบื้องต้นแล้วว่ามีความจำเป็น เพราะระบบการเงินของประเทศมีความเชื่อมโยงกันหมด ทั้ง
ตลาดเงิน ตลาดทุน ตลาดตราสารหนี้ และการลงทุนโดยตรง
  • ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยว่า เฟดปรับลดการถือครองพันธบัตรสหรัฐ โดยในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 7 ส.ค. มูลค่า
การถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐโดยเฉลี่ยต่อวันลดลง 11,509 ล้านดอลลาร์ สู่ระดับ 2,080,703 ล้านดอลลาร์ โดยพันธบัตรรัฐบาล
สหรัฐส่วนใหญ่ที่เฟดถือครองนั้น เป็นหลักทรัพย์ระยะยาวที่ออกโดยรัฐบาลสหรัฐ อาทิ ตราสารหนี้และพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งมีมูลค่ารวม
1,940,396 ล้านดอลลาร์
  • ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 2 ปี 2562 ของอังกฤษ หดตัวลง 0.2% เมื่อเทียบเป็นรายไตร
มาส โดยปัจจัยหลักที่ทำให้ GDP หดตัวลงมาจากภาคการผลิตที่ดิ่งลงถึง 2.3% เมื่อเทียบรายไตรมาส ซึ่งเป็นสถิติที่ปรับตัวลงมากสุดนับแต่
ไตรมาสแรกของปี 2552
  • ธนาคารกลางจีน (PBOC) ยังคงระงับการดำเนินการทางตลาด (Open Market Operations: OMO) ผ่านข้อตกลง
reverse repos ในวันนี้ เนื่องจากมีสภาพคล่องเพียงพอในระบบธนาคาร ทั้งนี้ ทางการจีนจะยังคงดำเนินนโยบายการเงินอย่างรอบคอบ
ระมัดระวัง โดยจะไม่ผ่อนคลายหรือคุมเข้มมากจนเกินไป ควบคู่ไปกับการรักษาสภาพคล่องในอยู่ในระดับที่เหมาะสมในปี 2562
  • ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปี ปิดตลาดที่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปีวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อพันธบัตรใน
ฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรหมายเลข
355 ซึ่งเป็นมาตรวัดอัตราดอกเบี้ยระยะยาว ปิดตลาดร่วงลง 0.030% จากระดับปิดเมื่อวานนี้ แตะที่ -0.225% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้ง
แต่เดือนก.ค.59
  • ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์หน้า ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนก.ค.ของสหรัฐ, จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการ
ว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐ, ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสหภาพยุโรป ไตรมาส 2/62 เป็นต้น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ